กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง (ออกกำลังกายพิชิตพุง)
รหัสโครงการ L30306006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิตูมุดี
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 สิงหาคม 2560 - 30 พฤศจิกายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิตูมุดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่สำคัญเกิดขึ้นในประชากรทั่วไปอย่างรวดเร็ว และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังอันตรายที่มักพบร่วมกันกับโรคความดันโลหิตสูง องค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่าในปีนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 285 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 6.4 ของจำนวนประชากรทั่วโลก และคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า จำนวนผู้ป่วยจะพุ่งขึ้นเป็น 438 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 7.8 ของจำนวนประชากรทั่วโลกในประเทศไทย จากการเก็บข้อมูลของกรมการแพทย์ตั้งแต่ปี 2548 - 2552 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี อีกทั้งพบผู้ป่วยที่อายุน้อยลง ๆ ในปี2560 ตำบลปิตูมุดีมีจำนวนกลุ่มเสี่ยง HT/DM (ความดัน/เบาหวาน) โดยแยกตามหมู่ดังนี้หมู่ที่ 1 169 คน หมู่ที่2 145 คน หมู่ที่3 136 คน หมู่ที่4 50 คน หมู่ที่ 5 34 คน รวมทั้งตำบล530 คนส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (โรคอ้วน) (ข้อมูลจาก รพ.สต.ปิตูมุดีและ รพ.ยะรัง 2559 ) จะเห็นได้ว่าความผิดปกติของโรคอ้วนลงพุงซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นเป้าหมายในการดูแลรักษา โดยการป้องกันและควบคุมความดันโลหิตสูง ควบคุมเบาหวาน การลดน้ำหนักตัวและที่สำคัญคือควบคุมระดับไขมันในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกในการดูแลกลุ่มอาการนี้ เช่น การบริโภคอาหารที่เหมาะสม การลดน้ำหนัก และการออกกำลังกาย การออกกำลังกาย เป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่มีการหด คลายของกล้ามเนื้อ ซึ่งมีผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ประกอบด้วย ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบต่อมไร้ท่อ รวมทั้งปฏิกิริยาในการสร้างพลังงานของเซลล์กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหดตัว โดยการออกกำลังกายต้องมีการกำหนดรูปแบบ และวิธีการที่ชัดเจน มีการกระทำซ้ำๆ เพื่อเสริมสร้างหรือคงไว้ซึ่งองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายให้สมบูรณ์ ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของสมรรถภาพของหัวใจ ความแข็งแรง และกำลังของกล้ามเนื้อ ความสมดุลของร่างกาย และความอ่อนตัว ซึ่งในปัจจุบันการออกกำลังกายนั้นมีหลายหลาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมกลุ่มคณะกรรมการโครงการเพื่อจัดทำโครงการ 2. ประชุมคณะกรรมการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง 3. เขียนโครงการ และจัดเตรียมงบประมาณในการดำเนินโครงการ 4. ประชาสัมพันธ์โครงการ จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ และสถานที่ 5. ประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ ที่ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้า เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การเตรียมผู้นำการออกกำลังกายด้วยวิธีไม้พลอน ขั้นดำเนินการ 1. คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้ เป็นกลุ่มที่มี 1.1 เส้นรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตรในชาย หรือ 80 เซนติเมตรในหญิง หรือมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 1.2 นัดตรวจหาระดับไขมันในร่างกาย ระดับความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย กลุ่มชุมชน เพื่อเป็นมาตรฐานก่อนเริ่มโครงการ 2. เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการรำไม้พลอน การวัดความพึงพอใจ ความสนุกสนาน และการมีพันธสัญญากับตนเองในการใช้ไม้พลอนทั้งก่อนและหลังการดำเนินการของโครงการ และประเมินสภาวะร่างกายโดยวัดสัญญาณชีพ การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ดัชนีมวลกาย วัดขนาดเส้นรอบเอว วัดไขมันในร่างกาย
3. ประชุมชี้แจงผู้เข้าร่วมโครงการ ขอความร่วมมือ ในการปฏิบัติตัวที่จะต้องออกกำลังกายด้วยไม้พลอนผู้ที่ออกกำลังกายและบริโภคอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก เพื่อให้ได้ผลการศึกษาตามความเป็นจริง 4.ให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารในการควบคุมน้ำหนักและแจกเอกสาร โรคอ้วนลงพุง ภัยเงียบที่คุณคาดไม่ถึง ของ รพ.สตปิตุมุดี และรพ.ยะรัง 5. บรรยาย อภิปราย ถึงประโยชน์ ข้อพึงปฏิบัติ และข้อพึงระวังในการออกกำลังกายด้วยไม้พลอน ตลอดจนนำตัวแม่แบบเข้าร่วมอภิปรายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้เห็นแบบอย่างและสาธิตการรำไม้พลอนจากตัวแบบ และผู้นำ 6. ฝึกทักษะการใช้ไม้พลอนเพื่อให้เล่นได้อย่างถูกวิธีกลุ่มที่ร่วมกิจกรรม จากตัวแบบ และผู้นำ พร้อมกับเปิดวีดีโอการใช้ไม้พลอนขั้นพื้นฐานสลับกับการฝึกเล่น ให้โอกาสผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาส ฝึกฝนการใช้ไม้พลอนเป็นเวลา 1 วัน ก่อนเข้าโครงการจริง 7. ทำกลุ่มเพื่อกระตุ้นให้เกิดกำลังใจในการออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร และให้รางวัลสำหรับกลุ่มที่ชนะเลิศ 8. จัดให้มีกลุ่ม Buddy เพื่อช่วยกระตุ้นเตือนซึ่งกันและกัน 9. การดำเนินการของโครงการ กลุ่มที่ร่วมกิจกรรม 9.1 เริ่มดำเนินโครงการ โดยการออกกำลังกายด้วยไม้พลอน ซึ่งมีผู้นำกลุ่มในการออกกำลังกายด้วยไม้พลอน ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพปิตุมุดี เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน ทุกวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ใช้เวลาครั้งละ 40 นาที เวลา 17.00 – 17.40 น. โดยการออกกำลังกายในแต่ละครั้งแบ่งออกเป็น 3 ระยะตามหลักการออกกำลังคือ ระยะที่1 การอุ่นร่างกาย ใช้เวลา 5 นาที ในการอบอุ่นร่างกาย และยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ระยะที่ 2 การออกกำลังกายด้วยไม้พลอน ใช้เวลาต่อเนื่อง 30 นาที ระยะที่ 3 การผ่อนคลายกล้ามเนื้อใช้เวลา 5 นาที 9.2 ให้ผู้เข้าร่วมโครงการ แบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มละ 10 คน และช่วยกันวางแผนภายในกลุ่มของตนเอง ในการหากลยุทธ์เพื่อ แข่งขันกันในการลดเส้นรอบเอว ดัชนีมวลกาย และจับคู่ Buddy เพื่อกระตุ้นให้กำลังใจในการแข่งขัน เพื่อลดเส้นรอบเอวและอื่นๆในกลุ่มตนเอง 9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลการวัดสัญญาณชีพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดขนาดเส้นรอบเอว ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่8 และสัปดาห์ที่11 เกณฑ์การประเมนผล ทางด้านจิตใจ 1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการรู้สึกสนุกสนาน พึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรมใช้ไม้พลอนในการออกกำลังกาย 2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการรู้สึกผ่อนคลาย คลายเครียดภายหลังเลิกงานแล้วมีกิจกรรม ๓. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกาย ๔. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีพันธสัญญากับตนเอง (Commitment) ในการออกกำลังกาย

เกณฑ์ทางด้านร่างกาย 1. ภายหลังเข้าร่วมการออกกำลังกายด้วยไม้พลอน บุคคลในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเมตาโบลิคซินโดม (โรคที่เกี่ยวเนื่องมาจากการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดัน และไขมันในเลือดสูง) มีขนาดเส้นรอบเอวสะโพก ดัชนีมวลกายลดลงมากกว่าก่อนออกกำลังก่อนออกกำลังกายด้วยไม้พลอน ร้อยละ 70 ๒. ภายหลังเข้าร่วมการออกกำลังกายด้วยไม้พลอน บุคคลในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเมตาโบลิคซินโดม มีระดับความดันโลหิตลดลงมากกว่าก่อนออกกำลังกายด้วยไม้พลอน ร้อยละ 70 ๓. ภายหลังเข้าร่วมการออกกำลังกายด้วยไม้พลอน บุคคลในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเมตาโบลิคซินโดม มีระดับ ไขมันในร่างกายและไขมันในช่องท้องลดลงมากกว่าก่อนออกกำลังกายด้วยไม้พลอน ร้อยละ 70 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการส่งเสริมการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพของประชาชนเพื่อป้องกันโรคอ้วนลงพุงได้ ๒. เป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกายและจิต ในการลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนลงพุง ๓. เป็นการพัฒนาระดับความสามารถในการดูแลสุขภาพ ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนในชุมชน ให้มีสุขภาพที่ดี ๔. มีโครงการพัฒนาที่ต่อเนื่องในโครงการออกกำลังกายด้วยไม้พลอน เพื่อพฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืนให้กับบุคลากรในชุมชนต่อไปในอนาคต ลดการใช้ยาที่เกินความจำเป็น  

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ภายหลังเข้าร่วมการออกกำลังกายด้วยไม้พลอน ประชาชนในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเมตาโบลิคซินโดม มีขนาดเส้นรอบเอวรอบสะโพกดัชนีมวลกายลดลงมากกว่าก่อนออกกำลังกายด้วยไม้พลอน ร้อยละ 70 2.ภายหลังเข้าร่วมการออกกำลังกายด้วยไม้พลอน ประชาชนในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเมตาโบลิคซินโดม มีระดับความดันโลหิตลดลงมากกว่าก่อนออกกำลังกายด้วยไม้พลอน ร้อยละ 70 3.ภายหลังเข้าร่วมการออกกำลังกายด้วยไม้พลอน ประชาชนที่ร่วมกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเดิดเมตาโบลิคซินโดม มีระดับ ไขมันในร่างกายและไขมันในช่อท้องลดลงมากกว่าก่อนออกกำลังกายด้วยไม้พลอน ร้อยละ 70 4.ภายหลังเข้าร่วมการออกกำลังกายด้วยไม้พลอนประชาชนในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเมตาโบลคิซินโดม มีระดับ น้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือดลดลงมากกว่าก่อนออกกำลังกายด้วยไม้พลอนร้อยละ 70

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2560 12:05 น.