กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (ปี 2563)
รหัสโครงการ 63-L3331-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 20 สิงหาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 21 กันยายน 2563
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประพิณ อักษรสว่าง/นางณัฏฐณิชา ปลอดเอี่ยม
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.451,100.157place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2562 30 ก.ย. 2563 1 ต.ค. 2562 30 ก.ย. 2563 30,000.00
รวมงบประมาณ 30,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออกมานานกว่า 60 ปีปัจจัยที่มีความสำคัญ ต่อการแพร่กระจายของโรคมีความซับซ้อนและแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ คือ ภูมิต้านทานของประชาชน ชนิดของเชื้อไวรัสเดงกีความหนาแน่นและการเคลื่อนย้ายของประชากร สภาพภูมิอากาศ ชนิดของยุงพาหะ ความรู้ความเข้าใจและความตระหนักของประชาชนในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ความร่วมมือของ หน่วยงานต่างๆ ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และนโยบายในระดับชาติ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็น ปัจจัยที่มีการแปรเปลี่ยนและมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกเป็นอย่างยิ่ง และยังมีส่วนทำให้รูปแบบการเกิดโรคมีความผันแปรไปในแต่ละปี การวิเคราะห์สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจึงมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากโรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่มีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน (Multiple Risk Factors) ดังนั้น แนวคิดด้านการรายงานสถานการณ์โรค จึงเปลี่ยนไปสู่การสร้างสรรความคิด โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อประโยชน์ ในการ “ป้องกัน” และ“เตือนภัย” ในเหตุการณ์ต่างๆ มากขึ้น น าไปสู่การ      ทำนาย (Forecast) หรือพยากรณ์ (Prediction) ซึ่งเป็นภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ (Health Risk Assessment) ที่ใช้เป็นเครื่องมือคาดการณ์ความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้น และเป็นเครื่องมือช่วยให้ฝ่ายบริหาร สามารถตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย แผนงานและกลยุทธ์ในการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อไป   โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่พบมากโดยกระจายในทุกพื้นที่ที่โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคมาสู่คนโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีอัตราความรุนแรงของโรคสูงมีการระบาดของโรคที่รวดเร็วตลอดทั้งปี สามารถพบ การเกิดโรคได้ในทุกกลุ่มอายุ และจะพบมากในวัยเด็กประกอบกับในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรคได้ทำให้ ประเทศต้องสูญเสียงบประมาณในการควบคุมป้องกันโรคและรักษาพยาบาลผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ทุกหน่วยและองค์กรมีส่วนร่วมใน การดำเนินงาน ดังนั้น เพื่อหวังผลในการควบคุม และป้องกันการระบาดของโรค และลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมไม่ให้โรคไข้เลือดออกเกิดการระบาด

อัตราป่วยลดลงไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

50.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

60.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1000 30,000.00 1 30,000.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 1,000 30,000.00 30,000.00
  1. โครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
  2. ประสาน รพ.บางแก้วและสถานบริการาธารณสุขในพื้นที่
  3. ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
  4. จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อป้องกันโรค
  5. ประเมินผลตามโครงการ     6. ประเมินผลการดำเนินงานและ สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ  ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกกลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2562 13:58 น.