กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ ปี2563
รหัสโครงการ 2563-L7572-01-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ โรงพยาบาลพัทลุง
วันที่อนุมัติ 30 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 39,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิภา วีระกิติกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ และบริบททางด้านสังคมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12(2560-2564) โดยสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่าโครงสร้างประชากรของประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมสูงวัย โดยผู้สูงอายุในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 10.3 ล้านคน(ร้อยละ 16.2) ในปี พ.ศ.2558 เป็น 20.3 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ในปี พ.ศ.2583 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุวัยกลางและวัยปลาย จะส่งผลต่อความเสี่ยงการเกิดปัญหาสุขภาพในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(Non-communicable disease) และการบาดเจ็บ อันเนื่องมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการถดถอยของการทำงานของอวัยวะในร่างกายต่างๆ อันเนื่องมาจากชราภาพ และภาวะค่าใช้จ่ายในการดูแลด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัยและการปฏิรูประบบเพื่อสร้างสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ จึงเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12(2560-2564) โดยระบุให้มีการพัฒนาศักยภาพวัยสูงอายุให้มีการทำงานที่เหมาะสมตามศักยภาพและประสบการณ์ มีการสร้างเสริมและฟื้นฟูสุขภาพเพื่อป้องกันหรือชะลอความทุพพลภาพและโรคเรื้อรังต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดภาระแก่ปัจเจกบุคคล ครอบครัว และระบบบริการสุขภาพ และหากเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำเป็นที่จะต้องมีญาติ/ผู้ดูแลที่มีความรู้ ความเข้าใจในความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจในผู้สูงอายุ และมีทักษะในการดูแลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม     จากข้อมูลผู้สูงอายุในความรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพัทลุง พบว่า ผู้สูงอายุทั้งหมดจำนวน1,574 คน เป็นผู้สูงอายุติดสังคม 1,417คน  ติดบ้าน35คน ติดเตียง13 คน ซึ่งผู้สูงอายุที่ติดสังคม คิดเป็นร้อยละ 96.99 มีภาวะติดบ้าน ติดเตียง หรือมีภาวะพึ่งพิง คิดเป็นร้อยละ 3.01 ซึ่งในกลุ่มติดสังคม จำเป็นต้องสร้างเสริมสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อให้เป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี ในกลุ่มติดบ้านติดเตียงจำเป็นต้องมีญาติหรือผู้ดูแลที่มีความรู้ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายละจิตใจของผู้สูงอายุ และมีทักษะการดูแลที่ถูกต้อง สามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างเต็มศักยภาพ อันส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุดังกล่าวต่อไป   ชุมชน เป็นกลุ่มคนที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนทุกกลุ่มวัยรวมทั้งวัยสูงอายุมากที่สุดดังนั้นการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนนั้น จึงต้องให้ประชาชน/กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสเข้าร่วมในการดำเนินงานพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นกระบวนการ โดยร่วมกันต่อการดำเนินการพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุไปในทิศทางที่ต้องการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ สำหรับการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนนั้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยให้ สมาชิกกลุ่มทุกคนได้ร่วมกันสรรค์สร้าง เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตี่ดีต่อไป   ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพัทลุง ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุทุกกลุ่มทั้งกลุ่มติดสังคม กลุ่มติดบ้าน และติดเตียง จึงได้จัดทำโครงการ”ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี2563”ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุทุกกลุ่ม

แกนนำชุมชนและผู้สูงอายุเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง

ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการสามารถทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

ญาติ/ดูแล มีความรู้ความเข้าใจการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 212 39,250.00 5 3,950.00
1 ม.ค. 63 - 29 ก.พ. 63 ประชุมเชิงปฏิบัติ 62 17,000.00 2,950.00
1 ม.ค. 63 - 29 ก.พ. 63 อบรมการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุ 50 10,500.00 0.00
1 - 31 พ.ค. 63 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุ 50 10,000.00 0.00
1 - 31 ก.ค. 63 ติดตามผู้สูงอายุหลังการอบรม 6 เดือน 50 1,250.00 0.00
1 - 31 ส.ค. 63 สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน 0 500.00 1,000.00
  1. เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  2. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง
  3. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ตัวแทนคณะกรรมการชุมชน ตัวแทนคณะกรรมการอสม. ตัวแทนสมาชิกสภาเทศบาล ผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชน ผู้นำเยาวชนในชุมชน และผู้สูงอายุในชุมชนเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ
  4. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่จำเป็นต้องมีญาติ/ผู้ดูแลเข้าร่วมรับการอบรม
  5. ทำหนังสือประชาสัมพันธ์แจ้งกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม
  6. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  7. จัดอบรมการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง
  8. ประชุมติดตามประเมินผลหลังการอบรมทุก 3เดือน/6 เดือน/1ปี
  9. สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนเกิดการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอาย
  2. ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
  3. ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2562 11:31 น.