กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5248-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 4 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 พฤศจิกายน 2562 - 30 พฤศจิกายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2562
งบประมาณ 6,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมโภช บุญฉลาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออก นับเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญของสาธารณสุขไทย ผู้ป่วยแต่ละปีพบได้จำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆซึ่งมียุงลายเป็นพาหนะนำโรค พบได้ทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะในครัวเรือนและบริเวณที่พักอาศัย ยุงลายสามารถแพร่พันธุ์ได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะฤดูฝน ดังนั้นจึงมีโอกาสพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปีและจากการเฝ้าระวังโรคพบว่าฤดูกาลมีผลทำให้สถานการณ์ของโรคเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก จึงต้องได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากประชาชนทุกครัวเรือนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ต้องตระหนักถึงปัญหาโรคไข้เลือดออกและต้องเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการเฝ้าระวัง รวมถึงการป้องกันและควบคุมโรคให้มีความยั่งยืนต่อไป โดยให้ชุมชนเป็นผู้ดูแลกันเองต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม ในปี พ.ศ. 2562 มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลา จำนวน 3009 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 212.80 ต่อแสนประชากร อำเภอสะเดา จำนวน 363 รายคิดเป็นอัตราป่วย 257.64 ต่อแสนประชากร และในพื้นที่ตำบลปริกจำนวน  87 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 273.26 ต่อแสนประชากร ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสะเดาเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562 จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร ซึ่งดูจากปรากฏการณ์ของโรคแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์แล้วนั้น ยังเกินเกณฑ์ที่กำหนดอยู่มาก จำเป็นต้องป้องกัน ดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก อย่างเข้มข้น จริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหา จึงได้จัดทำโครงการ ควบคุม ป้องกันไข้เลือดออก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  • จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

-  ประชาชน สถานประกอบการ ส่วนราชการ มีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก ทั้งทางกายภาพ  ทางเคมี และ ทางชีวภาพ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. การเตรียมการ 1.1 นำสภาพปัญหาและแนวโน้มการเกิดโรคเข้าปรึกษาหารือในที่ประชุมโดยประกอบด้วยเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ อสม. และผู้นำชุมชน 1.2 แต่งตั้งคณะทำงานทั้งในหน่วยงานและพื้นที่ดำเนินงาน 1.3 ขอความร่วมมือในการดำเนินงานจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสะเดา
    1.4 ประสานงานหน่วยงาน กลุ่มองค์การ ชุมชน พ่นละอองฝอยเพื่อควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 2.1 การดำเนินงานในโรงเรียน

- ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและรู้จักสังเกตลักษณะลูกน้ำยุงลายแหล่ง/ภาชนะที่อาจพบลูกน้ำยุงลายในชุมชน - ร่วมกับโรงเรียนในการจัดกิจกรรมนำนักเรียนลงศึกษาสภาพที่เป็นจริงในชุมชนและร่วมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันโรคไข้เลือดออก - สนับสนุนการจัดแผนการเรียนการสอนเรื่องโครงการป้องกันโรคไข้เลือดออก - สนับสนุนให้โรงเรียนมีแหล่งเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูงเพื่อจะได้นำไปปล่อยในภาชนะที่กักเก็บน้ำที่มีฝาปิดทั้งในโรงเรียนและบ้านของนักเรียน - ระหว่างโรงเรียนปิดภาคเรียน ให้ระบายน้ำออกจากภาชนะกักเก็บน้ำและขัดภาชนะให้เรียบร้อย หากไม่สามารถเทน้ำได้ให้ใส่ทรายอะเบทเพื่อป้องกันการวางไข่ของยุงลาย - การพ่นละอองฝอยและหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลายตัวแก่พาหะนำโรคไข้เลือดออก 2.2 การดำเนินงานในชุมชน - จะเน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกเช่นการร่วมสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำในบ้านของตนเอง,การร่วมจัดสัปดาห์รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก - ใช้ทรายอะเบทและเคมีภัณฑ์อื่นๆในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย - พ่นทำลายยุงตัวแก่ประจำปี (2 ครั้ง/ปี ) - กรณีมีผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ หลังจากได้รับรายงานภายใน 24 ชั่วโมง พ่น 1 รอบ รัศมี 100 เมตร รอบบ้านผู้ป่วย และพ่นซ้ำอีกครั้งเมื่อครบ 7 วัน 3. การประสานงาน 3.1 ศูนย์ระบาดวิทยาสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสะเดา 3.2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในเขตพื้นที่ 3.3 องค์กรอื่นๆในชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถพัฒนาแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  2. สามารถลดอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกจนไม่เป็นปัญหาสาธารณสุข
  3. ประชาชนในเขตรับผิดชอบมีความตระหนักและสามารถควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2562 08:39 น.