กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัยในตำบลควนกาหลง(ประเภทที่1)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สาธารณสุขอำเภอควนกาหลง
วันที่อนุมัติ 20 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 41,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจักรพันธุ์ ตันติโรจนกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.953,100.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากประเด็นปัญหาที่คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ควนกาหลงได้นำเสนอเกี่ยวกับอาหารสดและอาหารสำเร็จรูปที่พบการปนเปื้อนของสารพิษและจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคโดยเฉพาะในตลาดนัดขนาดใหญ่อันเป็นที่นิยมของผู้บริโภคภายในอำเภอ รวมถึงปัญหาการใช้ภาชนะโฟมสำหรับบรรจุอาหารซึ่งมีงานวิจัยมากมายรับรองถึงการเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง อันเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นในอำเภอควนกาหลง   ด้วยเหตุดังกล่าวทางสำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนกาหลงจึงต้องการผลักดันโครงการหรือกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ อันนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชาวอำเภอควนกาหลงและเพื่อสนองนโยบายของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ควนกาหลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

3.1 ขั้นเตรียมการ   1. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเพื่อกำหนดนโยบาย   2. ประชุมคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานอาหารปลอดภัยเพื่อกำหนดแผนและตัวชี้วัด 3.2 ขั้นดำเนินการ   1. สุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสารปนเปื้อนและจุลินทรีย์ในอาหารจากตลาดสดตำบลควนกาหลง ไตรมาสละ 1 ครั้ง   2. ผลักดันให้หน่วยงานราชการทุกแห่งในตำบลควนกาหลงให้งดใช้โฟมเป็นภาชนะบรรจุอาหาร   3. เดินรณรงค์ให้ผู้บริโภคและร้านค้าในตลาดสดพื้นที่ตำบลควนกาหลงงดใช้โฟมเป็นภาชนะบรรจุอาหาร
  4. สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่เครือข่ายในตำบลควนกาหลงเกี่ยวกับสารปนเปิ้อนที่ก่ออันตรายในอาหารแลพิษภัยจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาหารในตลาดสดตำบลควนกาหลง เป็นอาหารที่ปลอดสารปนเปื้อนและจุลินทรีย์ที่ก่อโรค   2. หน่วยงานราชการทุกแห่งในตำบลควนกาหลงเป็นองค์กรปลอดโฟม
      3. ร้านค้าและตลาดสดพื้นที่ตำบลควนกาหลง ไม่ใช่โฟมเป็นภาชนะสำหรับบรรจุอาหาร   4. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคและประชาชนในอำเภอควนกาหลงมีความรู้ ความเข้าใจถึงอันตรายจากสารปนเปื้อนและจุลินทรีย์ในอาหารรวมถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2562 19:03 น.