กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
รหัสโครงการ 63-L5295-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานเลขานุการกองทุนฯ
วันที่อนุมัติ 17 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 45,105.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขานุการกองทุนฯ โดยนางวิภารัตน์ เอี้ยวซิโป กรรมการและผู้ช่วยเลขนุการกองทุนฯ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.048,99.817place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)
4.80
2 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)
13.00
3 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน อีกทั้งสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง และสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง
          ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๓(๓) มาตรา ๑๘(๔) (๘) (๙) และมาตรา ๔๗ ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสนับสนุน ประสาน และกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนรวมถึงสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไรดำเนินงาน และบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่
          องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแก่บ่อหินเข้าร่วมดำเนินการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับ ท้องถิ่นขึ้น โดยจัดกิจกรรมบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพ การรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก(ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต) ของประชาชนในพื้นที่ตำบลป่าแก่บ่อหิน ให้ได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง โดยการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของบุคคลในพื้นที่ ซึ่งการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนและการบริหารจัดการกองทุน เป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ           เพื่อให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและจิต ดังนั้นคณะกรรมการจึงจำเป็นต้องพัฒนาความรู้ สร้างจิตสำนึกร่วมกัน ร่วมเป็นเจ้าของและร่วมกันบริหารจัดการกองทุนเพื่อให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน และเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและจิตใจ ดังนั้นคณะกรรมการจึงจำเป็นต้องพัฒนาความรู้ สร้างจิตสำนึกร่วมกัน ร่วมเป็นเจ้าของและร่วมกันบริหารจัดการกองทุน ดังนั้นคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพจึงมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการบริหารจัดการกองทุน ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.๒๕๖๑ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๑ และเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๑ เรื่อง หลักเกณฑ์ การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน การจัดทำบัญชี และรายงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ใช้งบประมาณตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ ข้อ ๑๐ (๔) สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯให้มีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน
  • กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %
  • กองทุนสุขภาพตำบลสามารถออกเงินสนับสนุนโครงการแก่ผู้รับทุน ภายใน เดือน มี.ค. 2563 จำนวนร้อยละ 70 และภายใน เดือน มิ.ย.63 ร้อยละ 90
4.80 90.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

13.00 100.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯและองค์กรผู้รับทุน

จำนวนคณะกรรมการบริหารกองทุนฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯโครงการด้านสุขภาพครบ 100%

100.00
4 เพื่อสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ผูู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตามแผนการดูแลรายบุคคล ครบ 100%

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 54 45,105.00 3 23,200.00
1 ต.ค. 62 - 30 เม.ย. 63 ๑. ส่งเสริมให้มีการใช้ เงินกองทุนฯ สนับสนุนงบประมาณให้แก่ผู้ขอรับทุน 21 28,200.00 20,250.00
1 - 31 ธ.ค. 62 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ 23 10,405.00 0.00
1 ธ.ค. 62 - 29 ก.พ. 63 สนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 10 6,500.00 2,950.00

ขั้นตอนวางแผน ๑. ร่วมกันประชุม วางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คระ อนุกรรมการ และคณะทำงาน ๒. กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ ขั้นตอนการดำเนินงาน ๓. ติดต่อประสานงานคณะกรรมการเพื่อกำหนด นัดหมาย ๔. จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน ๕. จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
๖. จัดเตรียมสถานที่ประชุม ๗. ดำเนินการประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด ๘. จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษา คณะทำงาน อย่างน้อย ๔ ครั้งต่อปี ๙. สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะทำงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กองทุนฯสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๙๐ ๒. ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลน้อยกว่า ๑๐ ๓. โครงการที่รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯสามารถติดตาม และรายงานผลการ ดำเนินงานได้สำเร็จ ๑๐๐% ๔. คณะกรรมการกองทุนฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ ครบ ๑๐๐%

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2562 11:13 น.