กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมพัฒนาแกนนำด้านสุขภาพในโรงเรียน
รหัสโครงการ 63-L4138-02-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลยะลา
วันที่อนุมัติ 21 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 9,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเจะฮาซือนะ มีนาดิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก เพราะการมีสุขภาพดีสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ที่ผู้อื่นไม่สามารถหยิบยื่นให้ได้ จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องแสวงหาและสร้างเสริมให้เกิดกับตนเอง พร้อมทั้งสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิดได้ด้วยการปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นสุขนิสัย การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพดีจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง การกระตุ้นปลูกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนเกิดการเรียนรู้ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีทางด้านสุขภาพแก่เพื่อนนักเรียนในโรงเรียน เป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่เหมาะสม เอาใจใส่ตนเอง มีพลานามัยสมบูรณ์ รักสะอาด ปราศจากโรคปลอดทุกข์ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ภายใต้การดำเนินงานตามกระบวนการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ ร่วมคิด ร่วมดำเนินการตามแผนกิจกรรมที่กำหนดนำไปสู่การเรียนรู้ในการสร้างสุขภาพ พัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี อันจะนำไปสู่สุขภาวะที่ดีของชุมชนในที่สุด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะลา ตระหนักและเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะลา ให้ได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีตั้งแต่วัยเด็ก อันนำไปสู่การพัฒนาครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะลา จึงได้จัดทำโครงการอบรมพัฒนาแกนนำด้านสุขภาพในโรงเรียน ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนทราบถึงบทบาทผู้นำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ

นักเรียนทราบถึงบทบาทผู้นำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและสามารถนำไปปฏิบัติในโรงเรียนครอบครัวและชุมชนได้

นักเรียนมีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างสุขภาพที่ดีได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

นักเรียนสามารถพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างสุขภาพที่ดีได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

0.00
4 เพื่อให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มในการพัฒนาโรงเรียนนำสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพได้

นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 9,400.00 1 9,400.00
18 ส.ค. 63 อบรมให้ความรู้แก่แกนนำนักเรียนด้านสุขภาพ 60 9,400.00 9,400.00
  1. จัดทำโครงการเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติโครงการ
  2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. โรงเรียนคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้ารับการอบรมตามโครงการอบรมพัฒนาแกนนำด้านสุขภาพในโรงเรียนดังนี้

- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5,6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1,2,3 รวม 60 คน
  1. โรงเรียนบ้านยะลา จำนวน  20  คน   2. โรงเรียนบ้านปาโจ จำนวน 20  คน   3. โรงเรียนธรรมศาสนิสลาม จำนวน 20  คน 4. จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนเพื่อเข้ารับการอบรมตามโครงการอบรมพัฒนาแกนนำด้านสุขภาพในโรงเรียนโดย ใช้สื่อให้ความรู้ได้แก่ Power pointผลที่คาดว่าจะได้รับ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนทราบถึงบทบาทผู้นำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
  2. นักเรียนมีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
  3. นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
  4. นักเรียนสามารถพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างสุขภาพที่ดีได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2562 14:45 น.