กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปากคลองร่วมใจผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพช่องปาก ประจำปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L7574-1-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากคลอง
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเจริญ คำนวล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.746,100.073place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2560 30 ก.ย. 2560 25,450.00
รวมงบประมาณ 25,450.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 280 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญและสัมพันธ์กับการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกช่วงอายุของชีวิต โดยเฉพาะในวัยผู้สูงอายุเป็นอีกวัยหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าควรส่งเสริมสุขภาพช่องปากในวัยเด็กเท่านั้น แต่ความจริงแล้ววัยสูงอายุก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันเพราะเมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้นระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายก็จะเสื่อมสภาพรวมทั้งเหงือกและฟันด้วย เป้าหมายการดำเนินงานทันตสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.๒๕๖๓(กองทันตสาธารณสุข๒๕๔๙) ในกลุ่มผู้สูงอายุ ๖๐ปีขึ้นไป ร้อยละ ๘๐มีฟันอยู่ในสภาพใช้งานได้ อย่างน้อย ๒๐ ซี่จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๕๕ ในกลุ่มผู้สูงอายุ๖๐ ปีขึ้นไป พบว่าร้อยละ ๕๗.๘๐ มีฟันอยู่ในสภาพใช้งานได้๒๐ ซี่ และมีฟันคู่สบฟันหลังที่ใช้บดเคี้ยวอาหารอย่างน้อย ๔ คู่ เพียงร้อยละ ๔๓.๓๐
จากการดำเนินงานโครงการ ปากคลองร่วมใจ ผู้สูงวัยฟันดีประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงจำนวนผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๓๘๒ คน ได้พบผู้สูงอายุที่ฟันผุจำนวน ๒๒๘ คน ร้อยละ ๕๙.๖๘ พบเหงือกอักเสบจำนวน ๑๐๓ คน ร้อยละ ๒๖.๙๖ และมีฟันคู่สบฟันแท้ ๔ คู่ ขึ้นไป จำนวน ๒๑๔ คน ร้อยละ ๕๖.๐๒ สำหรับปีงบประมาณ ๒๕๖๐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากคลอง ได้ดำเนินงานโครงการต่อเนื่องจากปีที่แล้ว คือโครงการปากคลองร่วมใจ ผู้สูงวัยฟันดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจำนวน ๒๘๐ คน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และได้รับการแก้ไขในรายที่มีปัญหาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มมากขึ้น

๑. จำนวนผู้สูงอายุที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมและได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ๒. แบบประเมินความพึงพอใจหลังดำเนินโครงการ

2 ๒. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก

๑. จำนวนผู้สูงอายุที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมและได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ๒. แบบประเมินความพึงพอใจหลังดำเนินโครงการ

3 ๓. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพผู้สูงอายุ

๑. จำนวนผู้สูงอายุที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมและได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ๒. แบบประเมินความพึงพอใจหลังดำเนินโครงการ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นเตรียมการ ๑.๑ ขออนุมัติโครงการ ๑.๒ เตรียมรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย ๑.๓ ทำหนังสือแจ้งกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม ๒.ขั้นดำเนินงาน กิจกรรมที่ ๑“เรียนรู้สุขภาพช่องปากผู้สูงวัย”
ให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้สูงอายุเรื่องที่ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ เรื่อง โรคปริทันต์โรคฟันผุฟันสึก การใช้และการดูแลรักษาความสะอาดฟันปลอมพฤติกรรมการเคี้ยวหมากและการดูแลสุขภาพช่องปาก กิจกรรมที่ ๒“ผู้สูงอายุ ฟันดี” ๑. ตรวจสุขภาพช่องปากและตรวจสุขภาพทั่วไป คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ๒. ฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง(การแปรงฟัน,การใช้ผ้าก็อซสะอาดเช็ดฟัน) ๓. รายงานผลการตรวจสุขภาพช่องปาก และแนะนำให้มารับการรักษาที่ รพ.สต.
กิจกรรมที่ ๓ “มอบหมาย การจัดกิจกรรมในชุมชน ให้ อสม.” - เฝ้าระวังสภาวะทันตสุขภาพ - รายงานผลต่อเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ๓. ขั้นหลังดำเนินงาน - ประเมินผลโครงการ - สรุปผลโครงการ - นำเสนอผลการการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มมากขึ้น ๒. ผู้สูงอายุได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก ๓. ผู้สูงอายุได้รับการรักษาตามความจำเป็น ๔. เกิดความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพผู้สูงอายุ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ