กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
รหัสโครงการ 63-L1475-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 199,860.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประกาศ โพชสาลี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2875 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ยุงเป็นแมลงขนาดเล็กซึ่งเป็นพาหะของโรคหลายชนิดที่อาจส่งผลร้ายแรงถึงชีวิต การตระหนักถึงอันตรายของโรคที่เกิดจากยุง และรู้จักป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัดอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโรคจากยุง ภาคใต้อยู่ในเขตสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นซึ่งเหมาะสมต่อการแพร่พันธุ์ของยุงทำให้เสี่ยงเป็นโรคจากยุง ฤดูกาลที่ยุงลายวางไข่นั่น คือช่วงหน้าฝน จึงทำให้มีประชากรยุงเพิ่มมากขึ้น เกิดการแพร่กระจายของโรคต่างๆ หากไม่ระวังอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ สถานการณ์ของประเทศไทย จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 มีนาคม 2562 ประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 9,914 ราย อัตราป่วย 15.01 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 9 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.09 และรายงานผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย จำนวน 2,551 ราย อัตราป่วย 3.86 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
สถานการณ์จังหวัดตรัง จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง. 506) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 มีนาคม 2562 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 76 ราย อัตราป่วย 11.82 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต รายงานผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย จำนวน 52 ราย อัตราป่วย 8.09 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตั้งแต่ปี 2551 - 2562 ของจังหวัดตรัง มีลักษณะแนวโน้มการเกิดโรคเป็นแบบระบาด 2 ปี เว้น 1 ปี ซึ่งมีแนวโน้มจะระบาดในปี 2562
ดังนั้น ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขให้ได้ผลทั้งในเชิงป้องกัน และแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงได้จัดทำกิจกรรมโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2563 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนมิให้มีการแพร่ระบาดของโรคไปในวงกว้าง ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรค และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนสถาบัน ต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกัน โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหนะนำโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(คน)

1.00
2 1. เพื่อรณรงค์ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค 3. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย และชุมชนในการแก้ไขปัญหา 4. เพื่อสร้างความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคที่เกิดจากยุงเป็น
  1. อัตราการป่วยด้วยโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรคในชุมชนลดลง     2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ CI ไม่เกินร้อยละ 1 ของชุมชน โรงเรียน และวัด
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ
    1. ดำเนินการจัดซื้อทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลายและสารออกฤทธิ์กำจัดยุงและโลชั่นทากันยุง
    2. ดำเนินการแจกทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลายร่วมกับ รพ.สต.ในพื้นที่     4. จัดกิจกรรมรณรงค์ และสุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน หมู่บ้าน โรงเรียน โดยการประสานกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ จำนวน 4 ครั้ง     5.ดำเนินการพ่นหมอกควันกรณีเกิดโรคไข้เลือดออกในรัศมี 100 เมตร บริเวณรอบๆบ้านพักที่เกิดโรค   6. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการป่วยด้วยโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรคในชุมชนลดลง     2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ CI ไม่เกินร้อยละ 1 ของชุมชน โรงเรียน และวัด
    1. ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2562 11:16 น.