กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 63-l1483-4-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน
วันที่อนุมัติ 25 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.35,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ทั้งที่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคมาโดยตลอด แต่ปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกจังหวัดตรัง ปี 2561 ข้อมูลจากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง.506) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 จำนวนผู้ป่วย 579 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 90.13 ต่อแสนประชากร และมีจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.31 ต่อแสนประชากร โดยมีผู้ป่วยกระจายในเกือบทุกอำเภอ ตำบลบางด้วนเกิดปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วย ในปี 2559, 2560 และ 2561 เท่ากับ 977.84 (30 ราย) ,273.36 (11 ราย) และ 57.47 (2 ราย) ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ และไม่พบผู้ป่วยตายด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบางด้วน การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับช่วงเปิดภาคเรียน และยุงลายชอบออกหากินเวลากลางวัน การแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน จึงต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง การแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดจึงต้องได้รับการมีส่วนร่วม ชุมชนตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประชาชนต้องเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ปัจจุบันในตำบลบางด้วน พบว่ายังมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก เพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน จึงได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค รวมทั้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงกำหนดให้มีการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกพร้อมกันทั้งจังหวัด ในช่วงก่อนฤดูกาลระบาด วันไข้เลือดออกอาเซียน (ASEAN Dengue Day) และฤดูกาลระบาด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน 2. เพื่อกระตุ้นให้ประชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก 3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทำกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

จำนวนแกนนำครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการจำนวนครั้งในการเดินรณรงค์ สำรวจ และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 90 17,000.00 1 17,000.00
13 มี.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก 90 17,000.00 17,000.00
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องฯ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ
  2. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการรณรงค์แก่แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน
  3. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  4. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับแกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) โดยวิธีทางกายภาพ ทางเคมีและทางชีวภาพ
  5. แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ
  6. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน
  2. ประชาชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนทำกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2562 13:26 น.