กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L3366-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานเลขาฯ กองทุน
วันที่อนุมัติ 9 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 73,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ธ.ค. 2562 17 ธ.ค. 2562 15,000.00
2 5 ก.พ. 2563 5 ก.พ. 2563 7,950.00
รวมงบประมาณ 22,950.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (22,950.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (73,600.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในท้องถิ่น เป็นกองทุนที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ และประสานหน่วยงานขององค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เข้ามาค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตในระดับท้องถิ่น
ในการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เน้นการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งสามารถให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมใน ๕ ลักษณะ คือ ๑. สนับสนุนหน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข ๒. สนับสนุนกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น ๓. สนับสนุนศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ผู้พิการ ๔. ค่าบริหารจัดการกองทุน ๕. สนับสนุนกรณีเกิดภัยพิบัติหรือโรคระบาด เพื่อให้การดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาปู่ สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมี ประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ จึงจำเป็นต้องมีการประชุมเพื่อชี้แจงการดำเนินงาน ตลอดจนการติดตาม ความก้าวหน้าของการดำเนินงานของกองทุนฯ ดังนั้นคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาปู่
จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุน ปีงบประมาณ 2563

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพให้เกิดประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ของประกาศคณะกรรมการฯ

1.คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล จัดประชุมอย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี 2.โครงการ/กิจกรรมด้านสุขภาพได้รับการอนุมัติจนเงินกองทุนเหลือไม่เกิน ร้อยละ 10 ของเงินทั้งหมด 3.คณะกรรมการบริหารกองทุนมีศักยภาพเกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล 4.เกิดแผนสุขภาพตำบลที่มีความครอบคลุมด้านการแก้ปัญหาสุขภาพของพื้นที่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 75 73,600.00 6 48,375.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 ประชุมกรรมการและอนุกรรมการกองทุนฯและผู้เข่าร่วมให้ข้อมูล 0 35,500.00 22,050.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ/อนุกรรมการ/เจ้าหน้าที่/ผู้เกี่ยวข้อง 0 5,000.00 1,900.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกองทุนสุขภาพตำบล 15 5,000.00 375.00
1 ต.ค. 62 - 28 ก.พ. 63 จัดทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2563 60 15,000.00 13,200.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 ประชุมอนุกรรมการ LTC และคณะทำงาน 0 4,900.00 3,450.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 จัดซื้อ วัสดุ ครุภัณฑ์ สำหรับการดำเนินงานกองทุน 0 8,200.00 7,400.00

ประชุมกรรมการ ๔ ครั้ง
-ประชุมอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ 2 ครั้ง -ประชุมอนุกรรมการกองทุน LTC 2 ครั้ง และค่าตอบแทนคณะทำงาน -การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ/อนุกรรมการ/เจ้าหน้าที่/ผู้ที่เกี่ยวข้องเช่น ไปประชุม สัมมนา อบรม เป็นต้น -จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกองทุนสุขภาพตำบล -จัดทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2563

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล จัดประชุมอย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี 2.โครงการ/กิจกรรมด้านสุขภาพได้รับการอนุมัติจนเงินกองทุน เหลือไม่เกิน ร้อยละ 10 ของเงินทั้งหมด 3.คณะกรรมการบริหารกองทุนมีศักยภาพเกี่ยวกับการดาเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล 4.เกิดแผนสุขภาพตำบลที่มีความครอบคลุมด้านการแก้ปัญหาสุขภาพของพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2562 16:13 น.