กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคฟันผุในคลินิกเด็กดีและเด็กนักเรียน ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5234-1-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระดังงา
วันที่อนุมัติ 12 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 35,770.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมิหล๊ะ สุระคำแหง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.509,100.427place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 41 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในช่วงชีวิตเด็กอายุ 1-3 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการในทุกๆด้านของบุคคล การอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนการเด็กในช่วงวัยนี้อย่างถูกต้องเหมาะสมย่อมนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใหญ่ในอนาคต   สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ได้ดำเนินการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ทุก 5 ปี และสำรวจล่าสุด ในปี 2560 เป็นครั้งที่ 8 โดยสุ่มจังหวัดในเขตสุขภาพ 12 เขต เขตละ 2 จังหวัด รวม 24 จังหวัดและพื้นที่กรุงเทพมหานคร การสำรวจในครั้งนี้ได้ใช้แนวทาง ตามองค์การอนามัยโลกแนะนำ กลุ่มอายุสำคัญที่เป็นตัวแทนความเปลี่ยนแปลงของสภาวะช่องปาก แต่ละช่วงวัยประกอบด้วย เด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3 ปี และ 5 ปี กลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นอายุ 12 ปี   พบว่าสถานการณ์ในเด็กอายุ 3 ปี ปราศจากโรคฟันผุ ร้อยละ 47.1 ใกล้เคียงกับการสำรวจครั้งที่ผ่านมา ส่วนในเด็กอายุ 5 ปี มีแนวโน้มการปราศจากโรคฟันผุเพิ่มขึ้นคือร้อยละ 24.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กก่อนวัยเรียน ทั้ง 2 กลุ่มอายุประมาณร้อยละ 40.0 มีคราบจุลินทรีย์อยู่ในระดับเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ พบฟันผุระยะเริ่มต้นในเด็กอายุ 3 ปี และ 5 ปี ร้อยละ 31.1 และร้อยละ 31.3 ตามลำดับ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จำเป็น ต้องได้รับการส่งเสริมป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดฟันผุเป็นรู นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กอายุ 5 ปี ร้อยละ 18.6 มีฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่งขึ้นในช่องปากแล้ว การให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากตั้งแต่ช่วง ปฐมวัยจึงมีความสำคัญ และลดโอกาสเกิดฟันผุได้ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องเน้นเพ่ิมเติมคือ พฤติกรรม ทันตสุขภาพที่พึงประสงค์ได้แก่ การแปรงฟันอย่างมีคุณภาพ และพฤติกรรมการบริโภคนม แม้ว่าเด็กส่วนใหญ่จะแปรงฟันตอนเช้าก่อนมาโรงเรียน แต่พบว่าผู้ปกครองของเด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 44.1 ปล่อยให้เด็กแปรงฟันด้วยตนเอง และเมื่อเด็กโตขึ้นพบว่าในกลุ่มอายุ 5 ปี เด็กถูกปล่อยให้แปรงฟันเอง ถึงร้อยละ 80.4 มีเพียงร้อยละ 14.4 ที่ผู้ปกครองยังคงแปรงให้ พฤติกรรมการดื่มนมเด็กอายุ 3 ปี และ 5 ปี ด่ื่มนมหวานและนมเปรี้ยวเมื่ออยู่ที่บ้านถึงร้อยละ 44.5 และ 47.6 ตามลำดับ เด็กอายุ 3 ป รอย 39.5 ใช้ขวดนมเมื่ออยู่ที่บ้านและยังมีเด็กอายุ 5 ปี อีกร้อยละ 11.9 ที่ยังคงดูดนมจากขวด ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดฟัน     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระดังงา ได้จัดให้มีคลินิกเด็กดี เพื่อบริการเด็กอายุ 0-5 ปี ในการรับวัคซีนครบตามเกณฑ์และรวมถึงการให้บริการความรู้การส่งเสริมป้องกันด้านทันตสุขภาพ แก่ เด็ก นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปโดยในปีงบประมาณ 2562 คลินิกเด็กดีได้ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 0-5 ปีที่เริ่มมีฟัน พบว่ามีฟันผุ เฉลี่ย 3.5 ซี่/คน และจากการที่ รพ.สต.กระดังงา ได้ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กก่อนประถมศึกษาและชั้นประถมศึกษาปี1-6 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบพบว่า เด็กนักเรียนก่อนประถม มีฟันผุ เฉลี่ย 4.2 ซี่/คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ฟันผุ เฉลี่ย 2.4 ซี่/คน ซึ่งเมื่อกับรายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ.2560 พบว่าค่าเฉลี่ยฟันผุสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน     จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระดังงา จึงได้ตระหนักถึงปัญหาฟันผุในเด็กเล็กวัยก่อนเรียนและวัยอนุบาลเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรได้รับการป้องกันแก้ไขก่อนจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคฟันผุในคลินิกเด็กดีและเด็กนักเรียน ปีงบประมาณ 2563

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เจ้าหน้าที่/ครูอนามัย ครูประจำชั้นและผู้ปกครองในคลินิกเด็กดีมีความรู้เรื่องฟันและสุขภาพช่องปาก 2.เพื่อให้เด็กอายุ 0-3 ปี ที่รับบริการฉีดวัคซีนในคลินิกเด็กดี ได้รับบริการเคลือบฟูลออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ 3.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ที่รับบริการฉีดวัคซีน ได้รับความรู้ทันตสุขภาพ 4.เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้รับความรู้ทันตสุขภาพการป้องกันโรคฟันผุและได้รับชุดปฏิบัติแปรงฟันป้องกันฟันผุ

1.ร้อยละ 80 ของเจ้าหน้ที่/ครูอนามัย ครูประจำชั้นและผู้ปกครอง ได้รับการอบรมความรู้เรื่องฟันและสุขภาพช่องปากสามารถไปถ่ายทอดความรู้ให้เด็กปฐมวัยและผู้ปกครองได้ 2.ร้อยละ 80 เด็กอายุ 0-3 ปี ที่รับบริการฉีดวัคซีนในคลินิกเด็กดี ได้รับบริการเคลือบฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ 3.ร้อยละ 90 ของผู้ปกครอง เด็กอายุ 0-5 ปี ที่รับบริการฉีดวัคซีนในคลินิกเด็กดี ได้รับความรู้ทันตสุขภาพ 4.ร้อยละ 95 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้รับความรู้ทันตสุขภาพเพื่อป้องกันโรคฟันผุและชุดปฏิบัติแปรงฟันเพื่อป้องกันฟันผุ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำแผนงาน/โครงกรเพื่อขออนุมัติ 2.งานผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่/ครูอนามัย ครูประจำชั้นและผู้ปกครอง 3.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการอบรมและให้ความรู้และการติดตามประเมินผล สื่อประชาสัมพันธ์/แผ่นพับให้ความรู้ 4.อบรมให้ความรู้เรื่องฟันและการดูแลสุขภาพช่องปาก -เจ้าหน้าที่่/ครูอนามัย ครูประจำชั้น -ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี มารับบริการฉีดวัคซีนในคลินิกเด็กดี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กอายุ 0-5 ปี และเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีสุขภาพอนามัยช่องปากที่ดีขึึ้นและเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีพฤติกรรมการป้องกันฟันผุที่ถูกต้อง อัตราการเกิดโรคฟันผุลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2562 13:41 น.