กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กไทย กลุ่มวัยเรียน ด้านอีคิว ไอคิว ในเขตพื้นที่ อบต.นาโยงเหนือ
รหัสโครงการ 63-50117-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลนาโยง
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 มกราคม 2563 - 14 มกราคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเลิศรัตน์ เอกสถาพรสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 105 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่งต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต การที่เด็กจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพนั้น เด็กจะต้องมีพัฒนาการที่สมบูรณ์พร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จึงมีความจำเป็นที่เด็กจะต้องได้รับการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาและต่อเนื่องไปจนถึงวัยรุ่น โดยเฉพาะพัฒนาการด้านสติปัญญาและอารมณ์ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต
กรมสุขภาพจิต ประจำปี ๒๕๖๒-๒๕๖๓ ได้กำหนดนโยบายการพัฒนาสุขภาพจิตประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยวัยเรียนและวัยรุ่น เน้น “การเพิ่มระดับความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)” และ “เฝ้าระวังการดูแลเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ให้ได้รับการช่วยเหลือจนดีขึ้น” และ นโยบาย การพัฒนาความเป็นเลิศทางบริการ/วิชาการด้านสุขภาพจิตและจิตเวช พัฒนาคุณภาพมาตรฐานของระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชของหน่วยบริการในเขตสุขภาพ เน้น “เพิ่มการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตและ  จิตเวชในกลุ่มโรคและปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ โรคออทิสติก โรคสมาธิสั้น” โดยการติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ในชุมชนเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ/ฟื้นฟูสมรรถภาพภายใต้แนวคิด Recovery Model/การบำบัดรักษา ที่มีประสิทธิภาพ ในปี ๒๕๕๙ กรมสุขภาพจิต ได้สำรวจสถานการณ์ความฉลาดทางสติปัญญา (ไอคิว : IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว : EQ) เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ทั่วประเทศจำนวน ๒๓,๖๔๑ คน พบว่า    เด็กมีคะแนนไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ ๙๘.๒ ซึ่งสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในปี ๒๕๕๔ ที่เฉลี่ยอยู่ที่ ๙๔ เด็กไทยมีไอคิวอยู่ในเกณฑ์ปกติ ถึง ๒ ใน ๓ หรือ ร้อยละ ๖๘ ขณะที่เด็กจาก ๔๒ จังหวัดรวมทั้งกรุงเทพมหานคร    มีไอคิว สูงเกิน ๑๐๐ ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ยังมีเด็กบางส่วนใน ๓๕ จังหวัด ไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากนี้ ยังพบเด็กที่มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์บกพร่องหรือต่ำกว่า ๗๐ ถึงร้อยละ ๕.๘ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสากล ซึ่งไม่ควรเกินร้อยละ ๒ โดยพบเด็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้มีปัจจัยเสี่ยงสูงกว่าภาคอื่นๆ ตลอดจนยังพบว่า เด็กนอกเขตอำเภอเมือง มีระดับไอคิวเฉลี่ย ๙๖.๙ ขณะที่เด็กในเขตอำเภอเมือง    มีไอคิว ๑๐๑.๕ และเด็กในพื้นที่ กทม. มีไอคิวเฉลี่ย ๑๐๓.๔ ส่วนความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก พบเป็นไปตามเป้าหมาย ร้อยละ ๗๗ แต่ก็ยังพบเด็กจำนวนไม่น้อยที่ยังต้องการการพัฒนา ซึ่งเด็กมีปัญหาอีคิวมากที่สุด  ในด้านขาดความมุ่งมั่นพยายามและขาดทักษะในการแก้ไขปัญหา


จากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาไอคิว – อีคิว คือ การขาดสารอาหาร การอยู่ในพื้นที่ชนบท การมีรายได้ไม่เพียงพอในครอบครัว ตลอดจนสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเด็กที่มีระดับไอคิวต่ำมากๆ มีแนวโน้มจะมีความฉลาดทางอารมณ์หรืออีคิวต่ำร่วมด้วย ซึ่งนโยบายจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เด็กตั้งแต่ปฐมวัย โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย นับเป็นอีก ๑ นโยบายสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาส เอื้อต่อการพัฒนา ไอคิว อีคิว ให้กับเด็กไทยได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อเพิ่มโอกาส สร้างความเท่าเทียม กำจัดสาเหตุปัญหาโภชนาการ เสริมภูมิคุ้มกันด้านการเลี้ยงดู สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการพัฒนาไอคิว อีคิว ยกระดับคุณภาพศูนย์เด็กเล็ก พัฒนาศักยภาพบุคลากร ตลอดจนผู้ที่เลี้ยงเด็ก ให้มีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสมกับวัย มีการฝึกวินัยที่เหมาะสมเพื่อส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ มุ่งมั่นพยายาม มีคุณธรรมจริยธรรม และมีความสุขในชีวิต
กรมสุขภาพจิตดำเนินการป้องกันปัญหาและส่งเสริมศักยภาพ ไอคิว-อีคิวเด็กไทยใน ๓ ระดับ ดังนี้  ๑.ส่งเสริมพัฒนาการในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับโดยให้ความสำคัญต่อเด็กที่มีภาวะเสี่ยงให้ได้รับ    การช่วยเหลือแก้ไขได้เร็วที่สุด ๒.ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าเรียน ทั้งทักษะการอ่าน การคำนวณ ผ่านกลไกการเลี้ยงดูและการเล่นที่ถูกต้องในครอบครัวและศูนย์เด็กเล็ก มีเครื่องมือที่ทุกฝ่ายจะใช้ร่วมกันในการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก และ ๓.การติดตามดูแลเด็กต่อเนื่องในวัยเรียนด้วยการคัดกรองปัญหาการเรียนรู้ สมาธิสั้น ออทิสติก อารมณ์และพฤติกรรม เพื่อดูแลช่วยเหลือเด็ก เนื่องจากเมื่อเด็กเข้าถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จะพบปัญหาดังกล่าวประมาณร้อยละ ๑๕ โดยครูจะสามารถ คัดกรองและช่วยเหลือเบื้องต้นและพิจารณาส่งต่อ  ระบบสาธารณสุขได้ในโปรแกรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่กรมสุขภาพจิตให้ความสำคัญและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมทั้งในทุกพื้นที่ รวมทั้งการฝึกอบรมและเพิ่มพยาบาลจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ ปัญหาการเรียนรู้ ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ รวมทั้ง EQ ของเด็กไทย กลุ่มวัยเรียน ในเขตพื้นที่่ อบต.นาโยงเหนือ

 

105.00
2 เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ ปัญหาพฤติกรรม/อารมณ์ และแนวทาง การพัฒนา EQ ของเด็กไทย กลุ่มวัยเรียน ในเขตพื้นที่ อบต.นาโยงเหนือ

 

105.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 105 5,000.00 1 5,000.00
14 ม.ค. 63 ประชุมโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กไทย กลุ่มวัยเรียน ด้านอีคิว ไอคิว ในเขตพื้นที่ อบต.นาโยงเหนือ 105 5,000.00 5,000.00

๑. ประสานโรงเรียนเป้าหมาย ๒. ประเมินปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ รวมทั้ง EQ ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖
๓. วางแนวทางการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ รวมทั้ง EQ ของนักเรียน (รายบุคคล)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ โรงเรียนวัดจอมไตร ได้รับการประเมินและแก้ไข ปัญหา การเรียนรู้ ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ รวมทั้ง EQ อย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2562 14:58 น.