กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เตรียมพร้อมกายใจ หญิงไทยแก้มแดง ดูแลสุขภาพก่อนตั้งครรภ์
รหัสโครงการ 63-L8406-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ควนโดน
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2020 - 30 กันยายน 2020
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2020
งบประมาณ 27,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซอหมาด บาหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาเด็กน้อยด้อยคุณภาพ ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ และผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ต.ค.2559 มีนโยบาย "รัฐบาลสนับสนุนและส่งเสริมการเกิดเพิ่มขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อเพียงพอสำหรับทดแทนประชากร และการเกิดทุกรายมีการวางแผน มีความตั้งใจและมีความพร้อมในทุกด้าน นำไปสู่การคลอดที่ปลอดภัย ทารกแรกเกิดมีสุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ" คลินิกฝากครรภ์ ได้ทบทวนปัญหาการดูแลหญิงตั้งครรภ์ แล้วพบว่า จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ปี 2561-2562 อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมร้อยละ 9.32 และ 10.34 (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 7) อัตราการฝากครรภ์เร็วก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 72.72และ 70.49( เกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ) อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี เท่ากับ 32.1 และ 35.71 ( ไม่เกิน42 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี พันคน)ทำให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเองล่าช้า การได้รับยาเสริมธาตุเหล็กและการประเมินความเสี่ยงต่างๆล่าช้าปัญหาที่ตามมาคือ ความพิการแต่กำเนิดของทารก เช่น โรคปากแหว่งเพดานโหว่ แขนขาพิการแต่กำเนิด โดยเฉพาะภาวะหลอดประสาทไม่ปิดเป็นต้นซึ่งช่วงเวลาทองคือช่วงอายุ 24-29 ปี โดยรับประทานสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อย่างน้อย 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ จะช่วยลดภาวะพิการแต่กำเนิดของทารกลงได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อแก้ปัญหาการฝากครรภ์ล่าช้าของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์เร็วก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

70.00 80.00
2 2เพื่อลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์และป้องกันลูกพิการแต่กำเนิด

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ไม่เกินร้อยละ 10

15.00 10.00
3 3 เพื่อแก้ปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น

อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปีไม่เกิน 42 ต่อประชากรหญิงอายุ 15- 19 ปี 1,000 คน

35.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 160 27,450.00 2 27,450.00
2 - 5 มิ.ย. 63 1. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพและฟื้นฟูความรู้ อสม. ด้านอนามัยแม่และเด็ก 25 6,200.00 6,200.00
15 - 18 มิ.ย. 63 2.กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องความสำคัญของโฟลิคต่อหญิงวัยเจริญพันธ์และการวางแผนครอบครัว 135 21,250.00 21,250.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็วและสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้
๒. หญิงวัยเจริญพันธ์ได้รับการวางแผนครอบครัว และเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ
๓. หญิงตั้งครรภ์ ไม่เกิดอุบัติการณ์จากภาวะโลหิตจางในขณะตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และหลังคลอด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2019 09:02 น.