กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกัน ลด ละ เลิกสูบบุหรี่ ปี 2
รหัสโครงการ 63-L4117-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มศิลานารีบ้านคชศิลา
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 มกราคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2563
งบประมาณ 14,190.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา รองสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นางไอลดา เจ๊หะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.023place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 ม.ค. 2563 31 ม.ค. 2563 14,190.00
รวมงบประมาณ 14,190.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 25 ปี) ที่สูบบุหรี่
50.00
2 มาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ(จำนวนมาตรการ)
5.00
3 ร้อยละของการเข้าสู่ระบบบริการช่วยเลิกยาสูบในสถานพยาบาลของรัฐ
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะนักเทคนิคการแพทย์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างสำคัญ ในการรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ มุ่งให้มีการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เนื่องจากการงดบริโภคยาสูบหรือการหยุดสูบบุหรี่ จะทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้ ของสมาชิกในครอบครัว และของผู้อื่นในสังคมดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและประเทศชาติในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่มีสาเหตุแห่งความเจ็บป่วยมาจากการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบ หรือการเลิกสูบบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มี “วันงดสูบบุหรี่โลก” (World No Tobacco Day) ขึ้นใน วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา องค์การอนามัยโลกได้มุ่งเน้นให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยสนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขทุกสาขาอาชีพ ร่วมมือกันก่อตั้ง “เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่” อันประกอบไปด้วย 7 สาขาวิชาชีพ ในระยะแรก ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด ซึ่งต่อมาเครือข่ายฯ ได้ขยายออกไปเป็น 17 วิชาชีพ ที่เพิ่มมาอีก 10 วิชาชีพ ได้แก่ หมออนามัย จิตวิทยาคลินิก แพทย์แผนจีน แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ รังสีเทคนิค เวชนิทัศน์ สัตวแพทย์ เวชศาสตร์การกีฬา และศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ โดยมีเป้าหมายในการร่วมมือกันรณรงค์ต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ จัดกิจกรรมควบคุมการบริโภคยาสูบ และรณรงค์การลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เพื่อให้การต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ มีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง สัมฤทธิผล และนำไปสู่เป้าหมาย “สังคมไทยปลอดบุหรี่ได้ในที่สุด” จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่ากับเดือนละเกือบ 11,000 คน หรือวันละ 8 คน และในบุหรี่มีสารเคมี 4,000 กว่าชนิด เช่น formaldehyde (สารเคมีที่ใช้ดองศพ) carbon monoxide (เช่นเดียวกับควันจากท่อไอเสียเครื่องยนต์) สาร acetone (สารเคมีที่ใช้ล้างเล็บ) ซึ่งสารเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุภาพทั้งต่อผู้สูบเองและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เป็นเด็ก ก็จะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น
เนื่องจากเด็กยังมีภูมิต้านทางโรคค่อนข้างต่ำ และยังไม่สามารถป้องกันตนเองจากการได้รับควันบุหรี่จากผู้ใหญ่ได้ นอกจากนั้น งานวิจัยยังพบว่า ในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิต จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ปีละ 52,000 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน และผู้ที่ติดบุหรี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เริ่มสูบและติดบุหรี่ ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยรุ่น ในช่วงอายุ 11 – 18 ปี โดยยังสูบต่อเนื่องไปจนอยู่ในวัยเยาวชน ในช่วงอายุ 19 – 25 ปี และผู้ใหญ่ตอนต้น ในช่วงอายุ 25 – 35 ปี

ซึ่งกลุ่มศิลานารีหมู่ที่ 4 ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ในฐานะที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมจากการสำรวจประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ผ่านระบบข้อมูล TCNAP พบว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 มีจำนวน 525 คนชาย 246 คน หญิง 279 คน มีเด็กและเยาวชนที่อายุไม่เกิน 25 ปี จำนวน 212 คนและมีผู้สูบหรี่เป็นประจำที่อายุไม่เกิน 25 ปี จำนวน 29 คน อีกทั้งมีเด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยงต่อภัยของบุหรี่ประมาณ 89 ที่มีครอบครัวและคนใกล้ชิดสูบหรี่ กลุ่มศิลานารี จึงได้จัดทำ “โครงการ ป้องกัน ละเลิกสูบบุหรี่ ปี 2” เพื่อให้เด็ก เยาวชน ห่างไกลจากการสูบบุหรี่ และรณรงค์ให้ผู้ที่กำลังสูบเลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่นั้นเป็นอันตรายต่อผู้สูบบุหรี่และผู้ที่อยู่ใกล้กับผู้สูบบุหรี่ทั้งยังเป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่การติดสิ่งเสพติดอื่นๆ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและให้สมาชิกในชุมชนเลิกบุหรี่ได้

ส่งเสริมและให้สมาชิกในชุมชนเลิกบุหรี่ได้ (ร้อยละ)

80.00
2 เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในชุมชน

ป้องกันไม่ให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในชุมชน (ร้อยละ)

90.00
3 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน

อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(ร้อยละ)

50.00 30.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ

จำนวนมาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ เพิ่มขึ้นเป็น(จำนวนมาตรการ)

5.00 10.00
5 เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าสู่ระบบบริการช่วยเลิกยาสูบในสถานพยาบาลของรัฐ

อัตราการเข้าสู่ระบบบริการช่วยเลิกยาสูบในสถานพยาบาลของรัฐเพิ่มขึ้นเป็น(ร้อยละ)

80.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อส่งเสริมและให้สมาชิกในชุมชนเลิกบุหรี่ได้

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อเพิ่มจำนวนมาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 : เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าสู่ระบบบริการช่วยเลิกยาสูบในสถานพยาบาลของรัฐ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ม.ค. 63 - 29 พ.ค. 63 กิจกรรมที่ 1 ชุมชนปลอดบุหรี่ (มัสยิด) 30.00 5,520.00 -
1 ม.ค. 63 - 29 พ.ค. 63 กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริม ป้องกัน ลด ละเลิก รณรงค์การสูบบุหรี่ 30.00 5,700.00 -
1 ม.ค. 63 - 29 พ.ค. 63 กิจกรรมที่ 3 ครัวเรือนต้นแบบ 30.00 2,970.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

วิธีดำเนินการ (ขั้นเตรียมการ, ขั้นดำเนินการ, ขั้นสรุป) 4.1 ตั้งคณะทำงานชุมชนปลอดบุหรี่ และจัดประชุมคณะทำงาน
4.2 ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่ทราบและให้ความร่วมมือความสนใจเข้าร่วมโครงการ
4.3 สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายทุกครัวเรือนด้วยแบบสำรวจก่อนและหลังการดำเนินงาน โครงการ (ใช้แบบฟอร์มการเก็บข้อมูล) และคืนข้อมูลสู่ชุมชน
4.4 จัดทำทะเบียน กลุ่มติดบุหรี่ กลุ่มเสี่ยง รวมถึงกลุ่มประชาชนที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ และ ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น จำนวนร้านค้าขายบุหรี่ในชุมชน ร้านขายบุหรี่ที่ใกล้กับสถานศึกษา ฯลฯ
4.5 สนับสนุนให้ชุมชนจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นชุมชนปลอดบุหรี่ และส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมาย จัด โซนนิ่งเขตสูบบุหรี่/ไม่สูบบุหรี่
  4.5.1 จัดทำนโยบายและประกาศ ชุมชนปลอดบุหรี่
  4.5.2 จัดประชุมสมาชิกชุมชน เพื่อแจ้งเรื่องการดำเนินงานตามโครงการ
  4.5.3 จัดระบบเฝ้าระวังโดยแกนนำชุมชน อาสาสมัคร อสม. ในกลุ่มเสี่ยง
  4.5.4 ส่งเสริมให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เช่น ร้านค้าในชุมชนห้ามขายบุหรี่ แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี การห้ามติดป้ายโฆษณาบุหรี่
4.6 จัดกิจกรรมรณรงค์ให้เกิดความรู้ ความตระหนัก และค่านิยมที่ถูกต้อง โดยให้สอดคล้องกับปัญหาและวิถี วัฒนธรรมของชุมชน อย่างน้อย 2 ครั้ง
4.7 จัดงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่สอดคล้องกับงานบุญ ประเพณี หรือเทศกาลต่างๆ เช่น วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พ.ค. สงกรานต์ปลอดบุหรี่ และวันสำคัญทางประเพณีหรือเทศกาลต่างๆรณรงค์ “บ้านปลอดบุหรี่”จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง
4.8 สนับสนุน ให้ความรู้ ช่วยเหลือให้เข้าถึงบริการ และสร้างแรงจูงใจเลิกบุหรี่ “กลุ่มติดบุหรี่”
  4.8.1 สนับสนุนสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มติดบุหรี่ให้เข้าร่วมโครงการ
4.8.2 ร่วมมือกับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีคลินิกเลิกบุหรี่ เพื่อส่งต่อผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่เข้ารับคำปรึกษาแนะนำและรักษา
4.8.3 สนับสนุนสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มติดบุหรี่เลิกบุหรี่: รางวัลคนต้นแบบ (เลิกสูบบุหรี่)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 ชุมชนมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดละเลิกบุหรี่
8.2 มีคนต้นแบบในชุมชนที่สามารถเลิกบุหรี่ได้
8.3 ลดอัตราการสูบบุหรี่ผู้สูบรายใหม่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2562 10:48 น.