กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ Anemia mobile เพื่อป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์
รหัสโครงการ 63-L1520-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านในปง
วันที่อนุมัติ 9 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2562 - 20 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 10,932.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัช ใสเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ธ.ค. 2562 18 ก.ย. 2563 10,932.00
รวมงบประมาณ 10,932.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งพบได้ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยจากข้อมูลทางระบาดวิทยาเชิงสถิติได้รายงานขนาดปัญหาโลหิตจางในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาโดยการสำรวจที่เป็นตัวแทนของระดับประเทศพบว่าความชุกของภาวะ  โลหิตจางในหญิงมีครรภ์เท่ากับร้อยละ 25-30 และแนวโน้มมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นข้อมูลเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นพบว่ามีความชุกเฉลี่ยร้อยละ 13-15 ในขณะที่ความชุกของเด็กทารกอาจสูงถึงร้อยละ 30-40 และวัยก่อนเรียนประมาณร้อยละ 15-20 วัยเจริญพันธุ์ร้อยละ 20-25 หญิงมีครรภ์ร้อยละ30-34 และหญิงให้นมบุตรร้อยละ 20-25 (พัตธณีวินิจจะกูลและวีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์, 2544) หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางเนื่องจากมีการสูญเสียธาตุเหล็กไปกับประจำเดือนประมาณ 12.5-15 มิลลิกรัมต่อเดือน หรือเฉลี่ยวันละ 0.4-0.5 มิลลิกรัมซึ่งปกติร่างกายจะสูญเสียธาตุเหล็กจากการขับถ่ายวันละ 0.5-1.0 มิลลิกรัมและยังมีการสูญเสียธาตุเหล็กออกไปทางปัสสาวะผิวหนังบาดแผลและการบริจาคโลหิต นอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ (ศุภิสราวรโคตร, ผ่องศรีเถิงนำมา, นันทาศรีนา และปราณีธีรโสภณ, 2554)     ปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง ปี 2561-2563 มีภาวะโลหิตจางคิดเป็นร้อยละ8.57, 38.2ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กรมอนามัยกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ10ผลกระทบหากหญิงวัยเจริญพันธุ์ขาดธาตุเหล็กในระยะก่อนตั้งครรภ์จะส่งผลเมื่อตั้งครรภ์ต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสมองของทารกในครรภ์มีพัฒนาการด้านร่างกายล่าช้าและสติปัญญาต่ำกว่าปกติจากการดำเนินงานของโรงพยาบาลกงหราพยายามแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการ นวตกรรมพบว่าการดำเนินงาน Anemia mobile ปี2557ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 268 รายพบภาวะซีด 90 รายคิดเป็นร้อยละ 33.ใช้กระบวนการนวตกรรม ติดตาม 3 ครั้ง สามารถแก้ปัญหาภาวะซีดในกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการได้ร้อยละ 99.63และจากการติดตามหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เข้าร่วมโครงการเมื่อตั้งครรภ์ในช่วง ต.ค.57-ก.พ.58 จำนวนทั้งหมด 10 ราย พบภาวะซีดเพียง 1 ราย ( OF positive)     ดังนั้นเพื่อลดภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์ จึงได้นำนวตกรรม มาดำเนินการเพื่อให้มีความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาการขาดธาตุเหล็กในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์โดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่ได้คุมกำเนิดและกลุ่มที่พร้อมมีบุตร เพื่อให้สามารถลดภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เรื่องการป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์

ร้อยละ 90 ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องการป้องกันภาวะโลหิตจาง

0.00
2 เพื่อลดอัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ มากกว่าร้อยละ 40  ลดอัตราภาวะโลหิตจาง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 10,932.00 1 10,932.00
2 ธ.ค. 62 - 18 ก.ย. 63 กิจกรรมเจาะเลือดดูความเข้มข้นของเลือด ( hct ) 30 10,932.00 10,932.00

ขั้นเตรียมการ
1. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อรับทราบนโยบายวัตถุประสงค์ของโครงการ ๒. ชี้แจงการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและ อสม ๓. สำรวจกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ( หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15-44 ปี ) ๔. รับสมัครกลุ่มเป้าหมายตามคุณสมบัติ คือมีอายุ 15-44 ปีต้องการมีบุตรและกลุ่มอายุ 15-44ปีที่ไม่คุมกำเนิด 5.จัดทำแผนงานโครงการและเสนอขออนุมัติ 6.จัดทำเอกสาร / แผ่นพับ ลดภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ 7.เตรียมเจ้าหน้าที่ เครื่องปั่นฮีมาโตคริต /อุปกรณ์เจาะเลือด ขั้นดำเนินการ ครั้งที่ ๑. ๑.ประชาสัมพันธ์โครงการ ๒.เจาะความเข้มข้นเลือด/ให้วามรู้เรื่องผลกระทบของภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์วิธีป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจาง ๓.แจ้งผลเลือด ๔.แบ่งกลุ่มซีด /กลุ่มปกติให้ยาธาตุเหล็ก ๕.ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวทุกวันจันทร์เรื่องการรับประทานยาสัปดาห์ละ ๑ เม็ดในกลุ่มปกติ ๖.นัดติดตามกลุ่มซีดเดือนละ 1 ครั้ง 7.ส่งกลุ่มซีดพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุต่อไป 8.ติดตามกลุ่มซีดหลังพบแพทย์ ให้คำแนะนำเพื่อดูแลต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางมีจำนวนลดลง
  2. หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางที่ถูกต้อง สามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2562 10:12 น.