กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
รหัสโครงการ 63-L5225-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง
วันที่อนุมัติ 16 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุดมเดช พร้อมมูล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.721,100.354place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 27 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง  จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามบันทึกข้อตกลงการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ระหว่าง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กับองค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ การรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น    ที่องค์การบริหารส่วนตำบลพังยางรับผิดชอบ โดยมีคณะกรรมการบริหารกองทุนฯเป็นผู้ขับเคลื่อนและกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการกองทุนฯ จำนวน 16 ท่าน  คณะอนุกรรมการ จำนวน 8 ท่าน และที่ปรึกษาฯกองทุนฯ จำนวน 3 ท่าน  และเพื่อให้การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา มีความสามารถบริหารจัดการกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนที่วางไว้และก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด  กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง ได้กำหนดให้มีระเบียบของกองทุน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามระเบียบ เกิดความคล่องตัว มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและสอดคล้องกับสภาพการณ์  ตามระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา พ.ศ. 2562 ข้อ 16 ให้คณะกรรมการ  ที่ปรึกษา อนุกรรมการ และคณะทำงาน ได้รับค่าตอบแทนในการประชุม ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นฯ    ให้บุคคลภายนอก และเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง ที่รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ ที่เข้าร่วมประชุมมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในการประชุม ทั้งนี้ต้องไม่เกินวงเงินของข้อ 10(4) ในระเบียบ ค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง ให้เป็นไปตาม เอกสารแทบท้ายระเบียบ ค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนางานของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในปีงบประมาณนั้น
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จึงจัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน
  • กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %
  • กองทุนสุขภาพตำบลสามารถออกเงินสนับสนุนโครงการแก่ผู้รับทุน ภายใน เดือน ม.ค. จำนวนร้อยละ 60 และภายใน เดือน ก.ค.63 ร้อยละ 90
0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน
  • มีการใช้เงินในการพัฒนาศักยภาพ เจ้าหน้าที่กองทุนฯ
  • มีการจัดทำแผนงานกองทุน
0.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล
  • จำนวนเงินที่สนับสนุนโครงการแก่กลุ่มประชาชน หรือองค์กรประชาชน เพิ่มขึ้น
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 54 30,000.00 0 0.00
1 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ประชุมคณะกรรมการกองทุนและที่ปรึกษา จำนวน 3 ครั้งต่อปี 27 22,800.00 -
1 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน จำนวน 3 ครั้งต่อปี 27 7,200.00 -

1.ขั้นตอนการวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ
- กำหนดช่วงระยะเวลาการประชุมตลอดปีงบประมาณ และสำรวจความต้องการการอบรม สัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานกองทุนฯ 2.ขั้นตอนการดำเนินการ - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (ค่าลงทะเบียนค่าเบี้ยเลี้ยง  ค่าที่พัก และค่าพาหนะเดินทางไปประชุม/อบรม/สัมมนา) - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม อาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุม 3.ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระการประชุมที่กำหนด/เบิกจ่ายค่าตอบแทนตามระเบียบกำหนด - จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษา จำนวน 3 ครั้ง/ปี
- จัดประชุมประชุมคณะอนุกรรมการ จำนวน 3 ครั้ง/ปี - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/ คณะอนุกรรมการ - พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ/อนุกรรมการ/เจ้าหน้าที่/ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประชุมแนวทางการปฏิบัติงาน/อบรม/สัมมนา งานสร้างสุขภาคใต้ เป็นต้น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แผนงานหรือโครงการที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ และสนับสนุนโครงการแก่ผู้รับทุน ภายใน เดือนมี.ค. และภายใน เดือน ก.ค.63
  2. เกิดการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ โดยการจัดส่ง คณะกรรมการ เจ้าหน้าที่กองทุนฯเข้ารับการประชุม/อบรม/สัมนา
  3. มีการสนับสนุนโครงการจากองค์กรประชาชนเพิ่มมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2562 10:12 น.