กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L5192-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นางอรอุมา การะกรณ์
วันที่อนุมัติ 6 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 มีนาคม 2560 - 6 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 318,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรอุมา การะกรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยในปีนี้สภาพอากาศร้อนเร็วกว่าทุกปี ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกน้ำยุงลายเจริญเติบโตได้ดี และข้อมูลทางวิชาการพบว่า ขณะนี้การเจริญเติบโตของลูกน้ำยุงลายกลายเป็นยุงใช้เวลาเพียง ๕ วัน จาก ๗ วัน ทำให้ปริมาณยุงตัวเต็มวัยเพิ่มมากขึ้น จึงคาดการณ์ว่าใน ปีงบประมาณ 2560 อาจเกิดโรคระบาดของโรคไข้เลือดออก และตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2559 ถึง 26 พฤศจิกายน 2559 อำเภอเทพามีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมทั้งหมด 597 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 764.91 ต่อประชากรแสนคนเสียชีวิต 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.33 หากเปรียบเทียบสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ของปีนี้กับปี 2558 พบสูงกว่าช่วงเดียวกันและ พบอัตราการป่วยในทุกกลุ่มอายุ การป้องกันก่อนถึงฤดูกาลระบาด ในทุกพื้นที่ช่วยลดจำนวนยุงลายให้เหลือน้อยที่สุด โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่มักอาศัยในภาชนะที่มีน้ำท่วมขัง และหากมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกให้ดำเนินการสอบสวนโรคและควบคุมโรคภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้โรคแพร่ระบาด และพ่นสารเคมีรอบบ้านผู้ป่วยรัศมีอย่างน้อย ๑๐๐ เมตร เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรค ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากสถานการณ์ของโรคพบแนวโน้มสูงขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2535 จนถึงปัจจุบัน
จากการศึกษาสถานการณ์โรคของตำบลลำไพล พบการระบาดใน ปี พ.ศ.2559 พบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมทั้งหมด 233 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1032.22 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 ต่อแสนประชากร ถึง 20 เท่า งานสาธารณสุขเทศบาลตำบลลำไพล ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกก่อนการระบาด ประจำปีงบประมาณ 2560 ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป ได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

1.หยุดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

2 2.ลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

2.จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก ปี 2560 ลดลง(น้อยกว่าปี 2559 )

3 3.สร้างภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังและระงับการแพร่ระบาดจากโรคไข้เลือดออก

3.เกิดภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

4 4.ประชาชนร่วมกันในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

4.ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

5 5.เกิดชุมชนต้นแบบในการจัดการไข้เลือดออก

5.มีชุมชนต้นแบบในการจัดการโรคไข้เลือดออก

6 6.ขยายแนวทางการดำเนินงานจากนักเรียนสู่ชุมชน

6.สามารถขยายผลการดำเนินการจากโรงเรียนสู่ชุมชน

7 7.สามารถสร้างรายได้ให้แก่นักเรียนจากการจัดการขยะ

7.นักเรียนและชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น และเกิดแรงบันดาลใจในการรักษาความสะอาด

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์/แผนงานโครงการ/ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รพ.สต.โรงเรียน ชุมชน ศาสนสถาน ทุกแห่ง และ อื่นๆ
2วิเคราะห์พื้นที่ระบาดและพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเพื่อใช้เป็นแนวทางในการรณรงค์
3จัดทำแผนปฏิบัติการรณรงค์ร่วมกันในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
4ประสานขอความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
5ประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชนหรือตัวแทน ที่ทำหน้า ที่เป็นแกนนำควบคุมโรคไข้เลือดออก
7ประชาสัมพันธ์ โดยใช้เอกสารแผ่นพับใบปลิว สื่อวิทยุกระจายเสียงชุมชน เป็นต้น
8เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สนับสนุนการดาเนินงาน
9รณรงค์การจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและใส่ทรายอะเบท สำรวจค่า HI,CI ในทุกหมู่บ้าน และดำเนินการทุกๆ หมู่บ้านๆ เดือน
10จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์รณรงค์การกำจัดลูกน้ำยุงลาย 11จัด กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการขยะชุมชน และโรงเรียน 12จัดตั้งกองทุนธนาคารยะในโรงเรียน(โรงเรียนต้นแบบ) 13 ประกวดชุมชนปลอดยุงลายและปลอดโรคไข้เลือดอออก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยและอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
    2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ องค์กรชุมชน ประชาชนอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชนและประชาชนในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.ทุกแห่ง ทุกคนให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
    3 ค่าดัชนีลุกน้ำยุงลาย (HI,CI) ลดลง ร้อยละ 80 ของหมู่บ้าน วัด โรงเรียน หน่วยงานราชการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2560 10:38 น.