กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบริการในคลีนิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนปี 2563
รหัสโครงการ 63-50105-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเลอศักดิ์ จันทร์น้อย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.765,99.956place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 134 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานโดยรวมในการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตามตัวชี้วัดบริการ NCD Clinic Plus ปี 2562โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน มีผลการปฏิบัติงาน ตามตัวชี้วัดร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการตรวจไขมัน LDL และมีค่า LDL < 100 mg/dl มากกว่าร้อยละ 60 ผลงาน44 คนร้อยละ 19.56 ตามตัวชี้วัดร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี มากกว่าร้อยละ 40 ผลงาน 31 คน ร้อยละ 13.78 ตัวชี้วัดร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีความดันโลหิตน้อยกว่า 140/90 mmHg มากกว่าร้อยละ 60 ผลงาน 129 คน ร้อยละ 57.33 ( จากผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 225 คน) ตัวชี้วัดร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีมากกว่าร้อยละ 50 ผลงาน 156 คนร้อยละ 30.53 ( จากผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด 511 คน ) จากการให้บริการในคลินิก NCDของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน ปีงบประมาณ 2562 มีผู้รับบริการเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 167 คน
      จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ตัวชี้วัดบริการ NCD Clinic Plus ปี 2562 ทุกตัวยังไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีจำนวนมากและกระจายไปรับบริการที่หน่วยอื่น เช่นศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลควนขนุน (CMU) โรงพยาบาลควนขนุน โรงพยาบาลพัทลุง ไม่ได้รับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนนทั้งหมด นับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทาย ที่จะต้องดำเนินการเชิงรุก อย่างเข้มข้นเพื่อให้ผ่านเกณฑ์การประเมินและที่สำคัญเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยครอบครัว ชุมชน และสังคม มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน จึงได้จัดทำ โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ปี 2563 ทุกๆกิจกรรมเป็นการติดตามประเมินผลจากการปฏิบัติตัว และการดูแลตนเองของผู้ป่วยในแต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสุขภาพ ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจตา ตรวจไต ตรวจเท้า ให้ครอบคลุมตามเกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยประเมิน ติดตามผล และส่งต่อ ตาม CPG NCD CUP ควนขนุน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 134 12,750.00 2 11,675.00
19 มิ.ย. 63 อบรมเรื่องการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ครั้งที่ 1 67 9,275.00 8,200.00
26 มิ.ย. 63 อบรมเรื่องการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ครั้งที่ 2 67 3,475.00 3,475.00

ขั้นเตรียมการ
1. ขออนุมัติโครงการ จัดทำแผนงาน ดำเนินงานตามแผน
2. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงานตามโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. จัดเตรียมเอกสารที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ 5. ประสานงาน/ติดต่อวิทยากร
ขั้นดำเนินการ
1.เก็บข้อมูลตามแบบสอบถามสํารวจความรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานในพื้นที่รับผิดชอบก่อน-หลังจัดจัดอบรมเรื่องการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน 1.จัดอบรมเรื่องการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงที่รับบริการที่ รพ.สต.บ้านหัวถนน 1. คัดกรองภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยเบาหวาน เช่น ตรวจจอประสาทตา ตรวจเท้า เจาะเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ติดตามความครอบคลุมการเจาะเลือดประจำปี ติดตามการตรวจจอประสาทตา ตรวจเท้า (กรณีรับบริการที่หน่วยงานอื่น)
2. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวานที่ควบคุมระดับความดัน ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ไม่ดีอย่างเข้มข้น ในคลินิก DPAC
3. จัดเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้
4. รวบรวมข้อมูล/บันทึกผลงาน 5. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เหมาะสม
2 กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น ในคลินิก DPAC

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2562 10:47 น.