กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก และปัจจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน ปี 2563

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก และปัจจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5294-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.นาทอน
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ จากรายงานสถานการณ์โรคของศูนย์ระบาดวิทยาจังหวัดสตูล ปี2562 ( 1 มกราคม – 24 ธันวาคม ) พบจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก รวม 3 กลุ่มโรค ( DHF, DSS, DF) มีจำนวน 167 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร เท่ากับ52.08 และสถานการณ์ของอำเภอทุ่งหว้า พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 27 รายคิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ112.25จากรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน ปี 2556-2561 พบว่าอัตราป่วยต่อแสนประชากร เป็น 0 ,0 ,22.69 ,89.77 และ 67.13 ตามลำดับ และ ปี2562 พบมีผู้ป่วยและผู้สงสัย ด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 53 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนแสนประชากรเท่ากับ 1,177.52 และจากรายงานสถานการณ์โรคปี 2562 พบมีผู้ป่วยที่ยืนยันด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนเท่ากับ 155.52 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นอัตราป่วยที่สูงและเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้(เกณฑ์กำหนดไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร) เมื่อวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ของการเกิดโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆแล้วพบว่าเกิดจากสภาวะแวดล้อมของชุมชน และการรับรู้เรื่องโรคของประชาชนยังน้อย ซึ่งเป็นปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรค ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ดังนั้น เพื่อให้การป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลนาทอนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน จึงได้จัดทำโครงการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ตระหนักถึงความสำคัญความสำคัญการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรค และชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุม และเฝ้าระวังโรคในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

1.00
2 2.เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.นาทอน

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (CI) ให้เป็น 0 ในเขต

1.00
3 3.เพื่อลดอัตราป่วยเป็นไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

1.00
4 4.เพื่อควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออก ใน Genaration 2

ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกหลังจากพบผู้ป่วยยืนยัน ภายใน 28 วัน

1.00
5 5.เพื่อให้ชุมชนทราบปัญหาที่เอื้อต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกและมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคได้

1.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.นาทอนลดลง
2.ชาวบ้านมีการตระหนักในการจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านและบริเวณรอบๆให้สะอาดเพื่อให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันของโรค เช่น การปลูกพืชผักสวนครัว สมุนไพรไล่ยุง

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,250.00 0 0.00
??/??/???? รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน ปี 2563 0 26,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (ค่าHI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ 2.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้านที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและรัศมี 100 เมตร หลักจากการควบคุม 1 สัปดาห์ ค่า HI =0 3.ไม่มีการระบาดของโรค ใน Genaration 2 4.อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร 5.ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2563 00:00 น.