กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและอาสาสมัครประจำครอบครัว
รหัสโครงการ 63-L8402-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.ทุ่งมะขาม
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 มีนาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 43,232.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดรุณี ขุนเพ็ชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2563 30 มี.ค. 2563 1 ม.ค. 2563 30 มี.ค. 2563 43,232.00
รวมงบประมาณ 43,232.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 280 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้นำการสาธารณสุขมูลฐานมาเป็นกลวิธีหลัก และกำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการ พัฒนางานสาธารณสุขของประเทศ บนหลักการสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพตนเอง และเพื่อนบ้าน ในรูปแบบอาสาสมัครสาธารณสุขหรือ อสม. เพื่อเป็นแกนนำด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ชุมชน ด้วยความมุ่งหวังให้ประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกและศรัทธาในการพัฒนาอันเป็นการแสดงให้เห็นถึงรูปธรรมการสร้างสุขภาพนำการซ่อมสุขภาพอย่างยั่งยืนที่แท้จริง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ให้สามารถดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้เกิดการ แก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน และอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) เป็นกลุ่มเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้จังหวัดดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและสามารถดูแลตนเองได้ พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับครอบครัว โดยกำหนดว่า ทุกครอบครัว จำเป็นต้องมีอย่างน้อย 1 คน ที่มีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่และอาสาสมัครประจำครอบครัว เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและอาสาสมัครประจำครอบครัว  มีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและอาสาสมัครประจำครอบครัว มีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในหลักการ การส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 280 43,232.00 1 46,107.00
8 ม.ค. 63 กิจกรรมการจัดอบบรมให้ความรู้ 280 43,232.00 46,107.00

ขั้นเตรียมการ     1. ประชุมวางแผนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการเขียนโครงการ
    2. เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคูหาใต้     3. ประสานวิทยากรในการให้ความรู้     4. จัดเตรียมอุปกรณ์ในการให้ความรู้ ขั้นดำเนินการ     1. ประชุมเพื่อวางแผนในการดำเนินการกิจกรรมตามโครงการ     2. เชิญกลุ่มเป้าหมาย อสม.ในพื้นที่ตำบลคูหาใต้เข้ารับการอบรมให้ความรู้     3. ดำเนินการวัดความรู้ก่อนการอบรม     4. ดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้ ดังนี้
      4.1 เรื่อง 3 ปลอด คือ ปลอดโรคไข้เลือดออก ปลอดบุหรี่ ปลอดพลาสติกและโฟม       4.2 เรื่อง 3 ลด คือ ลดแม่ตาย ลดผู้ป่วยวัณโรค ลดผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง       4.3 เรื่อง 3 เพิ่ม คือ เพิ่มจำนวนเด็กพัฒนาการดี เพิ่มจำนวนผู้สูงวัยสุขภาพดี การใช้แพทย์แผนไทยและกัญชา ซึ่งมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ตำบลคูหาใต้ร่วมเป็นวิทยาการในการให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และอาสาสมัครประจำครอบครัว     5. ดำเนินการวัดความรู้หลังการอบรม ขั้นการประเมิน   1. สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ   2. สรุปปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานพร้อมเสนอแนะวิธีการแก้ไข

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและอาสาสมัครประจำครอบครัว สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้กับครอบครัวและประชาชนในพื้นที่ได้
  2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและอาสาสมัครประจำครอบครัว สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่เขตรับผิดชอบและปฏิบัติตามหลักการได้อย่างถูกต้อง
  3. ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2563 16:02 น.