กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากตามกลุ่มวัย
รหัสโครงการ 2563/L7161/1/
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเบตง
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 มกราคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 149,080.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปัทมพันธ์ อนันตาพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.803,101.009place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากจัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสุขภาพพึงประสงค์ ที่ส่งผลกระทบต่อการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะปากคือประตูสู่สุขภาพ ปัญหาสุขภาพช่องปากจะส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย ดังนั้นเราจำเป็นต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้สมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันแนวคิดการดูแลช่องปาก จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีตั้งแต่แรกเริ่มและคงสภาพที่ดีไว้ โดยให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค และการสร้างความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากจนส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง ซึ่งดีกว่าการรักษาเพราะกระทำในสภาพปกติ การดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรค
    กลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลเบตง ดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ของประเทศด้านสาธารณสุข วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของสำนักทันตสาธารณสุข คือเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย มุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีทุกช่วงวัยของชีวิต สร้างความตระหนักเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบงานให้ได้มาตรฐานและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์องค์กร ทั้งนี้ ได้แบ่งการพัฒนาเป็นกลุ่มวัย ดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงวัยสูงอายุ จากข้อมูลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8พ.ศ.2560 เมื่อเปรียบเทียบผลสำรวจ พ.ศ.2555 พบว่าสภาวะสุขภาพช่องปากมีแนวโน้มแย่ลงกว่าเดิม โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กปฐมวัย พบเด็กอายุ 3 ปี ที่มีฟันผุเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51.7 ใน พ.ศ.2555 เป็นร้อยละ 52.9 ในพ.ศ. 2560 ส่วนกลุ่มเด็กอายุ 12 ปียังคงมีความชุกโรคฟันผุใกล้เคียงเดิม คือร้อยละ 52.3 ในพ.ศ. 2555 เป็นร้อยละ 52.0 ในพ.ศ. 2560 ยิ่งไปกว่านั้นในเด็กเล็กและเด็กโต ยังมีฟันที่เพิ่งเริ่มผุทั้งในฟันน้ำนมและฟันถาวรถึงร้อยละ 20-30 นอกจากนี้ในกรณีที่ฟันกรามถาวรยังไม่ผุ แต่มีหลุมร่องฟันลึก ก็สามารถป้องกันด้วยการเคลือบหลุมร่องฟัน หากสามารถดูแลเด็กกลุ่มนี้ได้ดี จะสามารถสร้างอุปนิสัยในการดูแลด้วยตนเองในระยะยาว ป้องกันมิให้โรคฟันผุที่อาจเกิดขึ้นลุกลามต่อไปจนจนทำให้เกิดความยุ่งยากในการรักษาและสูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากเพื่อเก็บรักษาฟัน นอกจากนี้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ซึ่งจัดเป็นประชากรกลุ่มที่มีความอ่อนไหว (vulnerable)ต่อโรคในช่องปาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก ทั้งโรคปริทันต์ และโรคฟันผุมากขึ้น ในประชากรไทยพบหญิงตั้งครรภ์มีฟันผุประมาณร้อยละ80 เหงือกอักเสบร้อยละ90 และโรคปริทันต์อักเสบประมาณร้อยละ 20 โดยครึ่งหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากไม่ได้รับการรักษาทางทันตกรรม โดยโรคในช่องปากยังส่งผลต่อคุณภาพการตั้งครรภ์อาทิ ทารกคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักทารกแรกคลอดต่ำภาวะครรภ์เป็นพิษและเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และเมื่อทารกคลอดออกมามารดาที่มีฟันผุลุกลามในช่องปากสามารถส่งผ่านเชื้อก่อโรคฟันผุทางน้ำลาย ส่งผลให้ทารกมีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า จึงมีความจำเป็นต้องส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์เข้าถึงบริการทันตกรรมอย่างครอบคลุมมากขึ้น     ดังนั้นกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเบตง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากตามกลุ่มวัยประจำปี 2563  เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและโรคปริทันต์ โดยส่งเสริมให้ประชาชนชาวเบตงในทุกกลุ่มอายุมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีอันเป็นรากฐานของการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงในอนาคต เป้าหมาย : ประชาชนทุกกลุ่มวัยในเขตในเทศบาลเมืองเบตง ดังนี้     กิจกรรมที่ 1 : หญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 (3-6 เดือน) จำนวน 200 คน
    กิจกรรมที่ 2 : ผู้ปกครองและเด็กเล็ก (0 – 4 ปี) จำนวน 500 คน     กิจกรรมที่ 3 : เด็กปฐมวัย อายุ 2 – 5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนอนุบาล (10 แห่ง) จำนวน 500 คน     กิจกรรมที่ 4 : ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ และโรคปริทันต์ จำนวน 1,500 คน     กิจกรรมที่ 5 : ผู้ปกครองที่มีบุตรในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝึกทักษะการแปรงฟันถูกวิธี

ร้อยละ 70 ของหญิงตั้งครรภ์ ได้รับการฝึกปฏิบัติการแปรงฟัน ถูกวิธี

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กเล็กได้ฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน ตั้งแต่แรกคลอด – 4 ปี

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองมีความรู้และได้รับการฝึกปฏิบัติที่  ถูกต้องในการดูแลฟันบุตรหลาน

0.00
3 เพื่อให้บริการรักษาโดยการอุดฟันในเด็กเล็ก (SMART TC) ตั้งแต่ฟันน้ำนมเริ่มผุ

ร้อยละ 20 ของเด็กปฐมวัยได้รับการอุดฟัน

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจ และเข้าถึงข้อมูลในการดูแลทันตสุขภาพ ทำให้สามารถดูแลป้องกันโรคในช่องปากได้ด้วยตนเอง

ร้อยละ 80 ของประชาชนผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการได้รับข้อมูลการดูแลทันตสุขภาพ

0.00
5 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองผ่านการประเมินความรู้หลังการอบรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการและนำเสนอขออนุมัติโครงการ
  2. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและชี้แจงผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามโครงการ
  3. ดำเนินการกิจกรรมในประชาชนทุกกลุ่มวัย ดังนี้ 3.1 ฝึกทักษะการแปรงฟันถูกวิธีและให้ความรู้แก่หญิงมีครรภ์ ในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องเหมาะสม 3.2 ฝึกทักษะและให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กเล็ก (0-4 ปี) ในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน ให้มีฟันดี...สุขภาพดี 3.3 ให้บริการรักษาโดยการอุดฟันในเด็กเล็ก (SMART TC) ตั้งแต่ฟันน้ำนมเริ่มผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในเขตเทศบาลเมืองเบตง 3.4 รณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและเข้าถึงข้อมูลในการดูแลทันตสุขภาพ เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ด้วยตนเอง จากกการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทันตสุขศึกษา 3.5 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองในการดูแลลูกรักฟันดี...สุขภาพดี โดยเน้นในกลุ่มผู้ปกครองที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคฟันผุ ซึ่งมีแนวโน้มจะทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุสูงด้วยเช่นกัน
  4. ติดตามและประเมินผลการดำเนินกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนทุกกลุ่มวัย มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง เหมาะสม
  2. ผู้ปกครองเกิดความตระหนักในการวางรากฐานและใส่ใจในการดูแลสุขภาพบุตรหลาน ให้มีฟันดีตั้งแต่ปฐมวัย
  3. อัตราการเด็กโรคฟันผุ/โรคปริทันต์ลดลง
  4. เจ้าหน้าที่และหน่วยงานผู้เกี่ยวข้องมีการพัฒนาการทำงานในรูปแบบเครือข่ายได้ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2563 09:31 น.