กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 2563/L7161/2/
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ชุมชนเบตงฮูลู
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 มกราคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนิติมา ดามะอู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.803,101.009place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญของสาธารณสุขไทยตลอดระยะเวลาหลายปี เพราะเป็นโรคติดต่อที่สร้างความเจ็บป่วยในระดับรุนแรงจนอาจถึงแก่ชีวิต เป็นผลให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลพุ่งสูงขึ้น เกิดความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาอย่างต่อเนื่อง ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่า อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงเท่าที่ควร ยังคงเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศเรื่อยมา ชุมชนเบตงฮูลู ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ชุมชนเบตงฮูลู มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 395 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 1,434 คน พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 6 ราย ในปี พ.ศ.2560 – 2561 และในปี 2562 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 15 ราย (ข้อมูลจากรายงานสถานการ์ณโรคระบาดจาก รพ. เบตง ) จากผลการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายตามบ้านจำนวน 250 ครัวเรือน (HI,CI) พบลูกน้ำยุงลาย 52 ครัวเรือน จำนวนภาชนะที่สำรวจ 413 ชิ้น พบลูกน้ำยุงลายจำนวน 86 ชิ้น มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) คิดเป็นร้อยละ 13 และ 23 ตามลำดับซึ่งเกินค่ามาตรฐาน
โรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วย ในช่วงเดือน มีนาคม-กันยายน ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงระหว่างปิดภาคเรียนพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน อสม, เบตงฮูลู เล็งเห็นว่า การแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน เทศบาล โรงพยาบาลและหน่วยงานอี่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้โดยการให้ประชาชนร่วมมือกันทำความสะอาด ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน โดยนำมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5 ป 1 ข มาใช้ ได้แก่ 1.ปิด ปิดภาชนะกักเก็บน้ำ 2. เปลี่ยน เปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ถังเก็บน้ำสำหรับอาบ 3. ปล่อย ปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้ำในอ่างบัว หรือที่กักเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด 4. ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมไม่ให้มีน้ำขังในที่ต่าง ๆ 5. ปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ และในช่วงฤดูร้อนต่อช่วงฤดูฝน ต้องเพิ่ม 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยใช้กักเก็บน้ำก่อนมารองรับน้ำครั้งใหม่
ดังนั้น อสม. ชุมชนเบตงฮูลู จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2563 เพื่อเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนมิให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปในวงกว้าง ป้องกันไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรคและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันต่าง ๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรค และร่วมกับชุมชน บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เช่น จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก มีศักยภาพและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้

0.00
2 .เพื่อความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน/ศาสนสถาน ตามเป้าหมายดังนี้ 1 ในชุมชน/ศาสนสถานลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยแต่ละที่ไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย (CI=0) 2 ในชุมชนลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายไม่เกินร้อยละ 10 (ค่า HI ไม่เกิน 10)

 

0.00
3 เพื่อสร้างความร่วมมือในชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชุมชนร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์โรคมาจัดทำโครงการ   2.ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง และกำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการดำเดินการ   3.ทำโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง เพื่อขอสนับสนุนฯ   4.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ   5.ดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้     - รณรงค์ภายในชุมชนให้ตระหนักถึงการควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก     - อบรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน ประชาชน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้โรคไข้เลือดออกสาธิตและปฏิบัติการใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก     - อสม. และอสม.น้อย ออกสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และประเมินค่า HI,CI ในชุมชน โรงเรียน
มัสยิด ทุก 2 เดือน/ ทุกแห่ง     -ประสานเจ้าหน้าที่เทศบาลพ่นหมอกควันในโรงเรียน ก่อนเปิดเทอมและหลังปิดเทอม   6.สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชนลดลง
2.ประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก มีศักยภาพดูแลและป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดได้ 3.มีความร่วมมือของชุมชนในการแก้ปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ชุมชน วัด มัสยิด/สุเหร่า/ศาสนาสถาน สถานที่ราชการ ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2563 10:28 น.