กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงสูง ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L1521-1-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 17 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 14,362.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เงินบำรุงกองทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขกาพ สอ.ต.กะลาเส โดย นางเพ็ญศรี บัวขำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส
ละติจูด-ลองจิจูด 7.744,99.326place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2563 31 ก.ค. 2563 14,362.00
รวมงบประมาณ 14,362.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนและมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขเป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำไปสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม ในกลุ่มประชากรทีมีภาวะเสี่ยงสูงถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอาจพัฒนาเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทำให้เป็นภาระต่อเศรษฐกิจ สังคม และครอบครัว ที่ต้องทำหน้าที่ดูแลส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ก็คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดา มีภาวะความดันโลหิตสูงก็มักจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนที่บิดา มารดามีภาวะความดันโลหิตปกติส่วนในเรื่องปัจจัยแวดล้อม เช่น มีน้ำหนักตัวมาก สูบบุหรี่จัด ดื่มสุราจัด มีระดับไขมันในเลือดสูงและมีความเครียดก็มีผลทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงเช่นกันและโรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังอันตรายที่มักพบร่วมกันกับโรคความดันโลหิตสูง และมักจะค่อยสูงขึ้นและร่างกายก็ค่อยๆปรับตัวให้เข้ากับภาวะความดันโลหิตที่สูงขึ้น ส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการใดๆดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ค่อยทราบหากไม่ได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตหรือตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้ และส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อ หัวใจ ไต ตา และสมอง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิต
จากการตรวจคัดกรองโรคในประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส ในปีงบประมาณ ๒๕๖๒ จำนวน ๒,๓๖๘ ราย สามารถคัดกรองโรคเบาหวานครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ๙๙.๒๔ ของประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ตามลำดับ และคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงได้ครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ ๙๘.๗๑ ของประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ตามลำดับ พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง ที่มีค่าระดับความดันโลหิต ≥๑๓๐/๘๕คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐๓ และกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) >๑๐๐mg/dl คิดเป็นร้อยละ ๗.๗๗ ดังนั้นด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส จึงมุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ จึงได้เล็งเห็นผู้ที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีค่าผลเลือดและค่าระดับความดันโลหิตเกินเกณฑ์เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อได้มีการ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงสูง ปี ๒๕๖๓

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๒.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตลดลง

๑. กลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเลือกรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันได้ร้อยละ ๘๐ ๒. กลุ่มเสี่ยงสูงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อโรคความดันโลหิตสูงและมีผลตรวจวัดระดับ BP อยู่ในเกณฑ์ปกติ (≤๑๓๐/๘๕mmHg)ร้อยละ ๔๐ ๓. กลุ่มเสี่ยงสูงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อโรคเบาหวานและมีผลตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เกณฑ์ปกติ (≤ ๑๐๐mg %) ร้อยละ ๔๐

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 14,362.00 0 0.00
1 ม.ค. 63 - 31 ก.ค. 63 อบรมให้ความรู้,เยี่ยมบ้านเยี่ยมครัว 50 14,362.00 -

๑.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการแก่กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วน ตำบลกะลาเส ๒. ประสานวิทยากรและจัดเตรียมอุปกรณ์และเอกสารในการดำเนินการ ๓.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ -ตรวจสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้ว(DTX) -ทดสอบความรู้ก่อนอบรม -อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
-อบรมเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโรค -ทดสอบความรู้หลังอบรม ๔.ติดตามการตรวจวัดความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว (DTX) ซ้ำเป็นเวลา๓ เดือน
-ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดโดยการเจาะ (DTX) งดน้ำงดอาหาร เดือนละ ๑ ครั้ง โดยนัดกลุ่มเป้าหมายมาตรวจ DTX เดือนละ ๑ ครั้ง -ตรวจวัดระดับความดันโลหิต โดยนัดกลุ่มเป้าหมายมาวัดความดันโลหิตสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ๕.กิจกรรมเยี่ยมบ้านเยี่ยมครัวโดยการสุ่มตรวจระดับความหวานและความเค็มในอาหารที่กลุ่มเสี่ยงสูงรับประทาน (เฉพาะกลุ่มที่มีผลระดับค่าน้ำตาลและระดับความดันโลหิตในเลือดไม่ลดลง จากการติดตามตรวจระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตไปแล้ว ๑ เดือน) โดยใช้เครื่องมือตรวจระดับความหวานและความเค็มในอาหาร พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้คำแนะนำที่เหมาะส
๖.กิจกรรมประชุมสรุปผลการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -แจ้งผลการติดตามการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิต -แจ้งผลกิจกรรมเยี่ยมบ้านเยี่ยมครัว
-แบ่งกลุ่มย่อยสรุปปัญหาและอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -ร่วมอภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละกลุ่ม -สรุปผลการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ๗.สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) ลดลง ๒. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง ๓.ประชาชนหันมาใส่ใจสุขภาพตนเองมากขึ้นเกิดบุคคลต้นแบบ ในการขยายผลสู่เครือข่ายในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2563 15:41 น.