กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครกการ วัยรุ่น วัยใส รู้จักปฏิเสธต่อเพศตรงข้าม
รหัสโครงการ 63- L3068-10(1)-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 18,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรี สุวรรณฤกษ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซำซ๊ยะห์ ดือราแม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.858,101.158place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ม.ค. 2563 31 ม.ค. 2563 18,450.00
รวมงบประมาณ 18,450.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 124 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยาย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อลามกในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ ทางเพศของตนเอง เยาวชนจึงมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม และขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา จึงส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปัญหาแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไข จากข้อมูลที่ผ่านมาของรายงานจากยูนิเชฟ (UNICEF) เมื่อปี พ.ศ.2552 พบว่า แม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ของไทย มีจำนวนสูงถึง 150,000 คน ซึ่งเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และจากผลการสำรวจในครั้งนี้ก็พบว่า เยาวชนมีความรู้เรื่อง เพศศึกษา การคุมกำเนิด การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งยังมีการรับรู้เรื่องเพศไม่ถูกต้อง เช่นการนับระยะปลอดภัยหน้า7 หลัง7 เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เป็นต้น สำหรับอัตราการคลอดบุตรของแม่วัยรุ่น อายุต่ำกว่า 20 ปี วันละ 336 ราย เฉลี่ยปีละ 122,640 และพบว่ามีแม่วัยรุ่นอายุน้อยลงเรื่อยๆ จากการรายงานพบว่าปี 2559,2560,2561,2562 พบว่ามารดามีบุตรเมื่ออายุต่ำกว่า 20 ปี ในตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี คิดเป็นร้อยละ 2.86,12.5,2.38,4.35 ตามลำดับซึ่งพบว่ามีแนวโน้มสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เกณฑ์ที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 10       เนื่องจากวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีอายุน้อยลงมาก วัยรุ่นเหล่านี้จึงขาดวุฒิภาวะในการจัดการกับปัญหาชีวิตที่เกิดขึ้น วัยรุ่นบางคนไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ทำให้ไม่ได้ดูแลสุขภาพร่างกาย และไม่ได้รับอาหารเสริม บุตรของแม่วัยรุ่นมักประสบปัญหาสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักน้อย บางรายหาทางออก โดยวิธีการทำแท้ง ผลจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เด็กตกเลือด ติดเชื้อ รุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ บางรายก็ต้องออกจากโรงเรียน เนื่องจากอับอายส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่นในอนาคต กลุ่มงานอนามัยและเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวาจึงจัดทำโครงการให้ความรู้กับเยาวชนในโรงเรียน เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษา และพัฒนาการทางเพศของตนเอง โดยให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหาทางเพศ การแก้ไขและการป้องกันปัญหา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้วัยเจริญพันธ์รู้จักการปฏิเสธต่อเพศตรงข้าม

มารดามีบุตรเมื่ออายุต่ำกว่า 20 ปี ต่ำกว่าร้อยละ 10

0.00
2 เพื่อให้วัยเจริญพันธ์รู้จักวิธีการคุมกำเนิด

ร้อยละ 50  ของผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักวิธีการคุมกำเนิด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 248 18,450.00 2 18,450.00
4 ส.ค. 63 ประชุมชี้แจงเชิงปฏิบัติการเรื่องเพศศึกษาและป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งมีองค์ประกอบของความรู้ 124 17,200.00 17,200.00
1 - 30 ก.ย. 63 .ติดตามและนำส่งกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมเสี่ยง 124 1,250.00 1,250.00
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางตาวา
  2. ประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินการแก่เจ้าหน้าที่
  3. ประสานโรงเรียนวัดสถิตชลธาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีและประสานโรงเรียนบ้านปากบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ครูอนามัยโรงเรียน ผู้ปกครอง ผู้นำศาสนา อาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  4. ประชุมชี้แจงเชิงปฏิบัติการเรื่องเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งมีองค์ประกอบของความรู้ ดังนี้

- การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย - การปฏิบัติที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางเพศ - การป้องกันการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิด - การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น - ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น - ทักษะการปฏิเสธต่อเพศตรงข้าม - โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - การตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา 5. แต่งตั้งชมรมวัยรุ่น วัยใส รู้จักปฏิเสธต่อเพศตรงข้าม มีการติดตามชมรมอย่างต่อเนื่อง โดย อสม. จนท.และเครื่อข่ายผู้ปกครอง    หมู่ละ 1 ชมรม และมีการบันทึกกิจกรรมกลุ่ม
6.ติดตามและนำส่งกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเช่น เที่ยวกลางคืน คบเพื่อนต่างเพศ ครอบครัวแตกแยกเข้าคลินิกวับรุ่น รพ.สต.บางตาวาโดย อสม.บางตาวา 7. สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. วัยเจริญพันธ์รู้จักการปฏิเสธต่อเพศตรงข้าม
  2. วัยเจริญพันธ์รู้จักวิธีการคุมกำเนิด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2563 09:19 น.