กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการว่ายน้ำเป็นเล่นน้ำปลอดภัย
รหัสโครงการ 63-L1467-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อน
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มกราคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2563
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.425,99.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) เสียชีวิตจากการจมน้ำ (คน)

การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปีซึ่งมากกว่าทุกสาเหตุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กอายุ 5 - 9 ปีเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่สุด และพบว่าเด็กชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเด็กหญิงประมาณ 2 เท่าตัว โดยในช่วงเดือนเมษายนเป็นช่วงที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด รองลงมาคือเดือนมีนาคมและเดือนพฤษภาคม และแหล่งน้ำที่มีเด็กเสียชีวิตจากการตกน้ำ/จมน้ำสูงสุด คือ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ (ร้อยละ 39.2) โดยสาเหตุส่วนใหญ่ของการเสียชีวิตคือขาดทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำและไม่รู้วิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง โดยจากสถานการณ์การเสียชีวิตจากการจมน้ำในประเทศไทยยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นตามลำดับ ซึ่งข้อมูลจากการเฝ้าระวังสถานการณ์เด็กจมน้ำปี 2562 ของกรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 23 เมษายน 2562 พบว่าเหตุเด็กจมน้ำ 49 เหตุการณ์ เสียชีวิตรวม 53 ราย โดยร้อยละ 41.5 อยู่ในวัยเรียน อายุ 5 – 9 ปี, และร้อยละ 35.8 อยู่ในช่วงอายุ 10 – 14 ปี โดยค่าเฉลี่ยข้อมูลพื้นที่การเสียชีวิตจากการจมน้ำพบว่า จังหวัดตรัง เป็นเขตพื้นที่เสี่ยงในระดับปานกลาง (พื้นที่สีเหลือง) โดยมีอัตราการเสียชีวิตต่อประชากรเด็กแสนคนเท่ากับ 5 – 7.4 คน ประกอบกับพื้นที่ตำบลบ่อน้ำร้อนติดริมแม่น้ำตรังและมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ/แหล่งเก็บกักน้ำที่ขุดสร้างขึ้นมาเป็นจำนวนมาก รวมทั้งภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีน้ำท่วมขังเมื่อเกิดภาวะฝนตกหนัก เป็นเหตุให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสเสียชีวิต หรือได้รับการบาดเจ็บ จากการเล่นน้ำหรือการเอาชีวิตรอดจากภาวะน้ำท่วมฉับพลันได้ ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจในการสร้างความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะพื้นฐานการว่ายน้ำที่ถูกต้อง รวมทั้งสามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นให้มีความปลอดภัยทางน้ำ จึงจะช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากการจมน้ำลงได้

0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการเอาชีวิตรอดในน้ำ

ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการเอาชีวิตรอดในน้ำ

70.00
2 เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้เมื่ออยู่ในสภาวะจมน้ำ

ร้อยละของผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ

0.00 0.00
3 เพื่อส่งเสริมการกำลังกาย โดยการว่ายน้ำป้องกันโรคภัยและห่างไกลยาเสพติด

ร้อยละของผู้รับการอบรมมีการส่งเสริมการกำลังกาย โดยการว่ายน้ำป้องกันโรคภัยและห่างไกลยาเสพติด

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

3.1 จัดการอบรมให้ความรู้ โดยสอนทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ การใช้อุปกรณ์ต่างๆในการช่วยเหลือ การช่วยฟื้นคืนชีพผู้ที่ตกน้ำจมน้ำ การส่งต่อผู้ที่จมน้ำไปยังโรงพยาบาลชุมชนอย่างถูกวิธี การจัดหาอุปกรณ์ในการช่วยเหลือไว้บริเวณสระน้ำที่มีความเสี่ยง 3.2 จัดกิจกรรมฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำและทักษะการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำ ตามหลักสูตรดังนี้           3.2.1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ เป็นการให้ความรู้และสอนให้เด็กรู้จัก - แหล่งน้ำเสี่ยงทั้งในบ้าน รอบบ้าน ละแวกบ้านและในชุมชน - สภาพแหล่งน้ำ เช่น น้ำลึก น้ำตื้น น้ำวน ปรากฏการณ์ Rip Current - วิธีการลงและขึ้นแหล่งน้ำด้วยความปลอดภัย - ทักษะความปลอดภัยในกิจกรรมทางน้ำ (การปฏิบัติตามระเบียบการใช้สระน้ำและกฎแห่งความปลอดภัยทั่วไป) - ความปลอดภัยในการเดินทางทางน้ำ           3.2.2 การเอาชีวิตรอดและพื้นฐานการว่ายน้ำ เป็นการสอนให้เด็กมีทักษะ - การเอาชีวิตรอดในน้ำ โดยการลอยตัวทั้งการลอยตัวแบบนอนคว่ำ การลอยตัวแบบนอนหงาย (แม่ชีลอยน้ำ ) และการลอยตัวแบบลำตัวตั้ง ( การลอยคอ การลอยตัวแบบลูกหมาตกน้ำ ) การทำท่าผีจีน  การใช้อุปกรณ์ช่วยในการเอาชีวิตรอด เช่น ขวดน้ำพลาสติก รองเท้าแตะฟองน้ำ การเคลื่อนที่ไปจับอุปกรณ์ลอยน้ำในน้ำลึก และการเลือกใช้เสื้อชูชีพ - พื้นฐานการว่ายน้ำ ได้แก่การสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ การหายใจในการว่ายน้ำ และการเตะเท้าคว่ำสลับกัน 3.2.3 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ เป็นการสอนให้เด็กรู้จักการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ การช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการโยนอุปกรณ์ เช่น ขวดน้ำดื่มพลาสติก ถังแกลลอน เสื้อชูชีพ และการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการยื่นอุปกรณ์ เช่น ท่อ PVC ไม้ไผ่ กิ่งไม้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีและช่วยฟื้นคืนชีพแก่ผู้ตกน้ำ จมน้ำ ก่อนนำส่งโรงพยาบาล 4. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน (แบบประเมินผลก่อนและหลังการอบรม) 5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการเอาชีวิตรอดในน้ำ
  2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้เมื่ออยู่ในสภาวะจมน้ำ
  3. เพื่อส่งเสริมการกำลังกาย โดยการว่ายน้ำป้องกันโรคภัยและห่างไกลยาเสพติด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2563 14:23 น.