กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนสานใจ ห่วงใยผู้บริโภค ตำบลบาโร๊ะ
รหัสโครงการ 63-L4148-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ
วันที่อนุมัติ 20 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 23,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซาซีย๊ะ มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.457,101.133place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้ มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐาน จะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงสด อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ แต่จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค พบว่า การใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน จาการการศึกษาข้อมูลในพื้นที่ตำบลบาโร๊ะ พบว่า มีร้านขายของชำ จำนวน ๓๗ ร้าน, ร้านอาหาร จำนวน ๑๐ ร้าน และร้านจำหน่ายอาหารสด จำนวน ๔ ร้าน โดยบางร้านยังมีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ ผู้ประกอบการยังขาดความรู้ในเรื่องอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์บางประเภท ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะจึงได้จัดทำโครงการ “ชุมชนสานใจ ห่วงใยผู้บริโภค ตำบล  บาโร๊ะ” ทั้งนี้เพื่อสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยของชาวบ้านในชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้บริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร้านชำ ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายอาหารสด ในชุมชนและโรงเรียน

 

0.00
2 เพื่อสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพในชุมชน

 

0.00
3 เพื่อรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร รถเร่ ตลาดนัด ให้เป็นปัจจุบัน

 

0.00
4 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้า ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.พร้อมจัดทำทะเบียนร้านชำและทะเบียนแกนนำเครือข่ายด้านคุ้มครองผู้บริโภค 0 0.00 -
  1. ประชุมชี้แจงโครงการและมอบหมายหน้าที่แก่ผู้เกี่ยวข้อง
  2. อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.พร้อมจัดทำทะเบียนร้านชำและทะเบียนแกนนำเครือข่ายด้านคุ้มครองผู้บริโภค
  3. อสม. ลงพื้นที่สำรวจร้านขายของชำ พร้อมมอบป้ายประชาสัมพันธ์เรื่องยา และเครื่องสำอางอันตราย แก่ร้านชำ
  4. อบรมให้ความรู้แกนนำนักเรียน อย.น้อย
  5. อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้านจำหน่ายอาหารสด และร้านอาหาร ๖. ติดตามและประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร้านชำ ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายอาหารสด ในชุมชนและโรงเรียน
  2. สร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพในชุมชน
  3. รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านอาหาร รถเร่ ตลาดนัด เป็นปัจจุบัน
  4. ผู้ประกอบการร้านค้า ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2563 10:48 น.