กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลูกรัก วัคซีนตามเกณฑ์ ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L4148-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ
วันที่อนุมัติ 20 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 7,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซาซีย๊ะ มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.457,101.133place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ครอบครัวเป็นหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุดของมนุษย์ การดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวเป็น สิ่งสำคัญ เพราะจะนำไปสู่การพัฒนาสังคม ชุมชนและประเทศชาติ การดูแลสุขภาพเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิ การฝากครรภ์ การเลี้ยงดูที่ถูกต้อง จะทำให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพและสุขภาพดีเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ได้กำหนดให้เด็กอายุ 0 - 5 ปี ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 เนื่องจากเด็กเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาของชาติ หากเด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ ไม่ป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เด็กจะเป็นกำลังของชาติที่ดีได้แต่หากเกิดโรคต่าง ๆขึ้นแล้วจะทำให้เกิดความสูญเสียทั้งต่อเศรษฐกิจและสังคม ชุมชน ครอบครัว เป็นอนาคตของชาติต่อไป การได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ 0 - 5 ปี เป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบทุกชนิด เพราะโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กจำนวนมากต้องป่วยหรือพิการ และทำให้ถึงตายได้ สาเหตุเหล่านี้มาจากหลายๆปัจจัย พื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร การคมมานาคมไม่สะดวก ครอบครัว มีฐานะยากจน ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กยังขาดความตระหนักและยังหลงเชื่อในทางผิดๆไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการนำบุตรหลานมารับการบริการฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค บ้างก็กลัวฉีดวัคซีนแล้วบุตรหลานจะพิการต่างๆนานา กระทบต่อการงาน ฉนั้นสถานีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะจึงมีความพยายามที่จะรณรงค์และส่งเสริมให้เด็ก 0- 5 ปี ได้รับการฉีดวัคซีนขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้ต่อไป  ซึ่งในงบปีประมาณ 2562 ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะอยู่ที่ร้อยละ 89.44 จึงจำเป็นที่จะต้องมีการรณรงค์ต่อไป เพื่อให้การดำเนินงานบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคขั้นพื้นฐานในเด็ก 0- 5 ปี มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ จึงจัดทำโครงการ “ลูกรัก วัคซีนตามเกณฑ์ ปีงบประมาณ 2563” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะมีภูมิคุ้มกันโรค และมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและเป็นบันไดขั้นพื้นฐานที่จะนำสู่ความสำเร็จของการมีสุขภาพดีถ้วนหน้า เป็นอนาคตของชาติและเพื่อสร้างจิตสำนึกแก่บิดา มารดา และผู้ปกครอง ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในบุตรอันเป็นที่รักที่กำลังเติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในเรื่องโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

 

0.00
2 เพื่อสร้างจิตสำนึก/ เจตคติที่ดี แก่บิดา มารดาและผู้ปกครองเด็กต่อการรับวัคซีน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ เกี่ยวกับโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน 0 0.00 -
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครองที่มีความใส่ใจนำบุตรมาฉีดวัคซีน กับผู้ปกครองที่ไม่นำบุตรมาฉีดวัคซีนตามนัด ดำเนินกิจกรมโดยผู้นำศาสนา และพยาบาลวิชาชีพ 0 0.00 -

กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน กลวิธีตามกลยุทธ์ 1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และ อสม. เรื่องอันตรายของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลกระทบร้ายแรงที่เกิดจากโรคติดต่อ เพื่อนำไปพูดคุย/ชักชวนคนในชุมชนให้นำบุตรมารับวัคซีน 2. ให้ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา มีส่วนร่วมในการประกาศติดตามเด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด 3. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ออกติดตามผู้ที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด ทุกสัปดาห์ 4. เด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด จะนำชื่อไปติดป้ายประชาสัมพันธ์ และให้ผู้นำศาสนาประกาศชื่อ ในวันศุกร์ เดือนละ 1 ครั้ง กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาองค์ความรู้แก่ผู้ปกครองของเด็กวัย 0-5 ปี กลวิธีตามกลยุทธ์ 1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกหมู่บ้านร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการให้ สุขศึกษาแก่ผู้ปกครองของเด็กวัย 0-5 ปี ที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลกระทบร้ายแรงที่เกิดจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน 2. อาสาสมัครสาธารณสุขติดตามเด็กในพื้นที่รับผิดชอบของตนให้มารับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ 3. อบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ป้องกัน ได้ด้วยวัคซีนตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์ทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิดความตระหนักและนำบุตรมารับวัคซีนตามนัดต่อไป 4. แจกสมุดคู่มือเรื่องโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนแก่หญิงตั้งครรภ์ไตรมาตร 4 เพื่อความหญิงตั้งครรภ์มีความเข้าใจ และนำสมุดคู่มือไปเผยแพร่ให้คนในครอบครัวและคนอื่นๆต่อไป 5. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครองที่มีความใส่ใจนำบุตรมาฉีดวัคซีน กับผู้ปกครองที่ไม่นำบุตรมาฉีดวัคซีนตามนัด ดำเนินกิจกรมโดยผู้นำศาสนา และพยาบาลวิชาชีพ 6. เพิ่มความหลากหลายของบริการสุขภาพในคลินิกเด็กดี โดยการบูรณาการกับงานด้านอื่นๆ เช่น โภชนาการ พัฒนาการ ตรวจฟัน /ทาฟลูออไรด์วานิช เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความประทับใจ และอยากพาบุตรมารับวัคซีนในครั้งต่อไป 7. จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ในชุมชนเกี่ยวกับวัคซีน เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กเกิดความตระหนักและสร้างแรงกระตุ้นให้คนในชุมชนนำบุตรมารับวัคซีนตามเกณฑ์ กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาระบบบริการ กลวิธีตามกลยุทธ์ 1. ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการในคลินิกเด็กดี ทุก 3 เดือน โดยนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงการให้บริการ เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้ปกครอง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงในการมารับวัคซีนตามนัด 2. ปรับปรุงระบบการให้สุขศึกษา โดยผู้ที่ให้บริการ ต้องให้สุขศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นรายบุคคล ในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ วัคซีนที่ฉีดใช้ป้องกันโรคอะไร จะต้องฉีดกี่เข็ม เข็มนี้เป็นเข็มที่เท่าไร และที่สำคัญคืออาการข้างเคียงของวัคซีนที่ฉีดตลอดจนคำแนะนำในการบรรเทาอาการดังกล่าว เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้เตรียมรับมือกับอาการหลังการฉีดวัคซีนของลูกได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในเรื่องโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
  2. บิดา มารดาและผู้ปกครองเด็ก มีจิตสำนึก/ เจตคติที่ดีต่อการรับวัคซีน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2563 11:07 น.