กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมแกนนำ อย.น้อยในโรงเรียน
รหัสโครงการ 63-L3013-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนศาสนูปถัมภ์ตำบลบานาอำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 23 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มิถุนายน 2563 - 30 มิถุนายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กรกฎาคม 2563
งบประมาณ 30,448.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.อาฮามัดกาแม แวมูซอ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 มิ.ย. 2563 30 มิ.ย. 2563 30,448.00
รวมงบประมาณ 30,448.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนและต้องบริโภคกันอยู่ทุกวันจะแน่ใจได้อย่างไรว่าอาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกวันนี้มีความสะอาดปลอดภัยหากผู้บริโภคปรุงอาหารด้วยตนเองก็มั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอดภัยในระดับหนึ่งแต่คนส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารนอกบ้านมารับประทานทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอดภัยเพียงพอทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า ในปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภคนำวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำมาประกอบอาหารหรือมีการเติมสารห้ามใช้ในอาหารบางอย่างลงไป เช่นบอแรกซ์โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์เป็นต้นรวมทั้งมีการปรุงอาหารอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่สะอาดเหมาะสมซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ดังนั้นหากผู้บริโภคขาดความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอในเรื่องความปลอดภัยของอาหารก็จะยิ่งทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อหรือเก้บรักษาอาหารได้ถูกต้องและไม่สามารถดูแลปกป้องตนเองจากพิษภัยของอาหารที่ไม่ปลอดภัยได้ ดังนั้นการให้ความรู้เบื่องต้นเรื่องความปลอดภัยของอาหารจึงควรทำตั้งแต่เนิ่นๆที่สุดคือในวัยเด้กที่สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วเพื่อที่จะปลูกฝังให้เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตลอดไปไม่ว่าเด็กจะเติบโตขึ้นเป็นเพียงผู้บริโภคหรือเป็นผู้ประกอบการผลิตอาหารเองด้วยในอนาคตก็ตามการตระหนักในความสำคัญของความปลอดภัยของอาหารความสะอาดรู้จักดูแลหยิบจับเก็บรักษาอาหารอย่างถูกต้องการรู้จักปกป้องตนเองรู้จักการเลือกสังเกตหรือทดสอบและรู้จักปฏิเสธอาหารอาหารที่ไม่ปลอดภัยจึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนตั้งแต่เด็กเพื่อให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ตลอดไปอย่างยั่งยืน โรงเรียนศาสนูปถัมภ์ได้เล็งเห็นความสำคัญของเด้กในวัยเรียนซึ่งมีความกระตือรือร้นและมีศักยภาพในตนเองสามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานได้เป็นอย่างดีจึงได้จัดตั้งให้มีชมรมอย.น้อยในโรงเรียนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดตั้งชมรม อย.น้อยในโรงเรียน

โรงเรียนศาสนูถัมภ์มีแกนนำ  อย.น้อยในโรงเรียน

0.00
2 เพื่อให้สมาชิกชมรม อย.น้อยศาสนูถัมภ์ตรวจวิเคราะห์อาหารที่มีสารเจือปนประเภทสารบอแรกซ์ สารฟอกขาวและจุลินทรีย์ต่างๆได้

แกนนำ อย.น้อยศาสนูถัมภ์ สามารถตรวจวิเคราะห์อาหารที่มีสารเจือปนประเภทสารบอแรกซ์และจุลินทรีย์ต่างๆได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
4 มิ.ย. 63 อบรมแกนนำอย.น้อยในโรงเรียน 200 27,685.00 27,685.00
5 - 30 มิ.ย. 63 กิจกรรมการตรวจสอบคุ้มครองผู้บริโภคภายในโรงเรียน 200 2,763.00 2,763.00
รวม 400 30,448.00 2 30,448.00
  1. จัดประชาสัมพันธ์ชมรม อย.น้อย ให้แก่นักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชนใกล้โรงเรียนได้ทราบ
  2. ประสานงานกับแกนนำทุกระดับชั้น
  3. ดำเนินการรับสมัครนักเรียนที่เข้าร่วมชมรม อย.น้อย
  4. ชี้แจงวัตถุประสงค์แก่นักเรียนที่เข้าร่วมชมรมและจัดประชุม
  5. จัดอบรมแกนนำ อย.น้อยศาสนูฯ
  6. ประสานงานกับหัวหน้ากลุ่มสาระทั้ง 8 กลุ่มสาระเพื่อขอความร่วมมือในการจัดกิจกรรม
  7. ชมรม อย.น้อย ทำกิจกรรมสุ่มตรวจสอบอาหารจากโรงอาหารของโรงเรียนถ้าตรวจพบสารพิษตกค้าง ให้ทางชมรมแจ้งเตือนนักเรียนในโรงเรียนทราบ
  8. จัดป้ายนิเทศเกี่ยวกับข่าวสารและสาระน่ารู้เกี่ยวกับอาหารและยา สาระน่ารู้เกี่ยวกับการบริโภค
  9. เผยแพร่สาระน่ารู้เกี่ยวกับอาหารและยา โดยการจัดให้มีการรายงานข่าวหรือสาระน่ารู้เกี่ยวกับอาหารและยาประจำวันพุธ ในช่วงเวลาคาบเรียนชุมนุม รายการเสียงตามสายทุกเดือน และหลังจากเข้าแถวหน้าเสาธง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนคูรผู้ปกครอง และชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย

2.สมาชิกของชมรมมีความตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียนและในชุมชน

3.สมาชิกของชมรมสามารถตรวจวิเคราะห์อาหารอย่างน้อยในเรื่องสารบอแรกซ์สารฟอกขาวฟอร์มาลินได้

4.นักเรียนครูผู้ปกครองและบุคลากรอื่นๆในโรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2563 11:28 น.