กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน
รหัสโครงการ 63-L4152-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกอตอตือร๊ะ
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กรกฎาคม 2563 - 26 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 33,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นา่งนุชรีย์ อับดุลคานาน
พี่เลี้ยงโครงการ นายอามีน มาโซ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.5,101.389place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 ก.ค. 2563 26 ก.ค. 2563 33,100.00
รวมงบประมาณ 33,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การวัดความดันโลหิต เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้ภายในเวลารวดเร็วโดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ การวัดอาจทำโดยสอดแขนจนสุดต้นแขนเข้าไปในเครื่องอัตโนมัติ หรือใช้ผ้าพันรอบแขนแล้วสูบลมให้ผ้าพองขึ้นจนเกิดแรงบีบที่แขน จากนั้นจึงค่อย ๆ ปล่อยลมออกและรอดูค่าความดันที่จะปรากฏคงที่ในเวลาต่อมา ภาวะความดันโลหิตสูง มักไม่มีอาการบ่งบอก ผู้ป่วยอาจไม่เคยรู้ตัวจนกระทั่งได้รับการตรวจความดันโลหิตเบื้องต้นเมื่อเข้ารับการรักษาหรือตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลการตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ นั้นสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง รวมถึงโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับตาได้ บุคคลทั่วไปควรตรวจความดันโลหิตเป็นประจำเมื่อมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น สามารถทำได้ง่าย ค่าความดันโลหิตที่วัดที่บ้านจะต่ำกว่าค่าที่วัดจากโรงพยาบาล จากการศึกษาพบว่าค่าความดันโลหิตที่วัดจากบ้าน มีความสัมพันธ์โรคแทรกซ้อน ซึ่งประโยชน์ของการวัดความดันโลหิตที่บ้าน คือการวัดความดันชนิดนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่ความดันสูงที่โรงพยาบาล แต่วัดที่บ้านพบว่า ปกติ เพื่อตรวจว่าความดันโลหิตสูงหรือไม่ ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตแตกต่างกันระหว่างที่บ้านและที่โรงพยาบาล จากการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ตำบลกอตอตือร๊ะ ปี 2562 พบว่าประชาชนอายุ35 ปีขึ้นไป จำนวน 2,335คน ได้รับการคัดกรอง 2,205คน คิดเป็นร้อยละ 95.43พบกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิต มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท) จำนวน 130คน จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 2,335คน คิดเป็นร้อยละ 5.56กลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน โดยวัดตอนตื่นนอนตอนเช้า 2 ครั้ง และก่อนเข้านอน 2 ครั้ง เอาค่าที่ได้มาเฉลี่ย หากยังเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท จะต้องส่งพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป เพราะหากปล่อยไว้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ จากปัญหาดังกล่าวทำให้ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกอตอตือร๊ะจัดทำโครงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และทักษะในการวัดความดันโลหิตได้อย่างถูกต้องตามแนวทางการวัดความดันโลหิต

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะในการวัดความดันโลหิตได้อย่างถูกต้อง ตามแนวทางการวัดความดันโลหิตร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการติดตามความดันโลหิตแล้วยังสูงได้รับการส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาได้ครบ ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบันทึกติดตามความก้าวหน้าของระดับความดันโลหิตได้อย่างถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบันทึกติดตามความก้าวหน้าของระดับความดันโลหิตได้อย่างถูกต้องร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 33,100.00 0 0.00
25 - 26 ก.ค. 63 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 100 33,100.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ 1)จัดทำเวทีประชาคมค้นหาปัญหาและความต้องการของกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง 2) จัดประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ
    3)จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 3) ประชาสัมพันธ์โครงการ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นดำเนินการ 1) จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมายเพื่อจัดอบรมให้ความรู้ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงด้วย การวัดความดันโลหิตที่บ้าน “ตรวจติดตามด้วยตนเอง รู้ทันควบคุมโรค” 2)ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่อสม.เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคความดันโลหิตสูง กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ /ฝึกทักษะแก่กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตและผู้ดูแลกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตให้สามารถวัดความดันโลหิตได้
  3. ขั้นประเมินผล 1) ประชุมติดตามและสรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการตามตัวชี้วัดที่วางไว้ 2) จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ 3) เสนอรายงานผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
    และประชาชนทั่วไปทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะในการวัดความดันโลหิตได้อย่างถูกต้องตามแนวทางการวัดความดันโลหิต
  2. กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการบันทึกติดตามความก้าวหน้าของระดับความดันโลหิตได้อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2563 10:25 น.