กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L4152-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะ
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 กันยายน 2563 - 9 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 20,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอามีน มาโซ
พี่เลี้ยงโครงการ นางนุชรีย์ อับดุลคานาน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.5,101.389place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 ก.ย. 2563 9 ก.ย. 2563 20,150.00
รวมงบประมาณ 20,150.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ปัจจุบัน ข้อมูลอนามัยและเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะ ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ไม่ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า ๑๒ สัปดาห์ และคลอดที่บ้านผดุงครรภ์โบราณ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดปัญหาการป่วย และการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดได้ จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะ ของปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ ๘๘.๘๙ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๗๐) หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ครั้งแรกครรภ์น้อยกว่า ๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๘๕.๔๙(เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๘๐) มารดาคลอดที่บ้าน ร้อยละ ๑.๖๗ (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ ๕) ซึ่งยังมีบางตัวชี้วัดต่ำกว่าเกณฑ์
จากปัญหาดังกล่าวทำให้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะและกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะ ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลมารดาและทารก จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และทารก ได้รับความรู้เรื่องอนามัยแม่และเด็ก มีการพัฒนาให้เกิดกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในรูปแบบการขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับตำบล (DHS) ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ตระหนักและรีบมารับบริการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ทุกราย

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ก่อน๑๒ สัปดาห์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีองค์ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์คุณภาพและได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด๕ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลติดตามเยี่ยมหลังคลอดครบ3ครั้งตามเกณฑ์ และพัฒนาให้เกิดกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในรูปแบบการขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับตำบล

หญิงหลังคลอดได้รับการดูแล ๓ ครั้งตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 130 20,150.00 0 0.00
8 - 9 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 130 20,150.00 -

ระยะก่อนดำเนินงาน ๑. ประชุมคณะทำงานเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะเพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ ๒. เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
๓. ประสานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการฯ
ระยะดำเนินงาน
๑. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์คุณภาพ ๒. จัดนิทรรศการการเรียนรู้เรื่องภาวะซีดหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ ๓. จัดเวทีเสวนาหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์เรื่องภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ๔. จัดเวทีกำหนดข้อตกลงของชุมชนในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในรูปแบบระบบสุขภาพระดับตำบล   (DHS)
ระยะหลังดำเนินงาน
๑. ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ๒. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ ๑๕-๔๔ ปีและหญิงตั้งครรภ์มีความรู้เรื่องการตั้งครรภ์คุณภาพ ๒. หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์เพิ่มมากขึ้น ๓. เกิดกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในรูปแบบระบบสุขภาพระดับตำบล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2563 11:42 น.