กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร เครื่องสำอาง และพัฒนามาตรฐานร้านอาหาร แผงลอย
รหัสโครงการ 63-L1488-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสอม
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิกร นุ่นสง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสอม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.287,99.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอาหารไทย ตลอดจนการดำเนินการพัฒนาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลอาหารที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารสำหรับสถานที่ต่างๆ เช่น ตลาด ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารโรงอาหารในโรงเรียน เพื่อให้สถานที่ต่างๆได้มาตรฐานตามที่กำหนด อันจะทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น ในส่วนของการดำเนินงานในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารรัฐบาลมอบให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินโครงการอาหารปลอดภัย เพื่อดูแลมาตรฐานอาหารในประเทศไทย ให้ได้มาตรฐานสากล เนื่องจากอาหารที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ปัจจุบันยังมีการปนเปื้อนของสารต้องห้าม อันอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆมากมาย อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต ซึ่งปัจจุบันได้มีมาตรการต่างๆ เพื่อตรวจสอบมาตรฐานอาหารที่จำหน่ายในท้องตลาด เช่น การตรวจสารปนเปื้อนในอาหารสดที่วางจำหน่ายในตลาด การตรวจสอบการปนเปื้อนของอัลฟลาทอกซิน และน้ำมันทอดซ้ำ ของแผงจำหน่ายอาหารในหมู่บ้าน การตรวจสอบมาตรฐานร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร รวมถึงการสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในภาคประชาชน เป็นต้น ซึ่งมาตรการที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และมีการประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะ
ดังนั้น
      ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสอม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในงานด้านอาหาร และร้านขายชำ ดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านอาหารปลอดภัยของนโยบายกระทรวงสาธารณสุข และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และการสร้างภาคีเครือข่ายในการพัฒนางานด้านอาหารปลอดภัย ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และรักษาคุณภาพด้านอาหาร เครื่องสำอาง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้ สร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญ ด้านอาหารปลอดภัย และเครื่องสำอางแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลแหลมสอม

ร้อยละ  70  ของครัวเรือนในพื้นที่ตำบลแหลมสอมมีความตระหนักถึงความสำคัญความปลอดภัยด้านอาหาร และเครื่องสำอาง

70.00
2 ข้อที 2 เพื่อพัฒนาร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตามมาตรฐานสุขาภิบาล

ร้อยละ  50  ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาล

50.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อสร้างแกนนำปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

ร้อยละ  100 ของหมู่บ้านมีแกนนำงานคุ้มครองผู้บริโภค

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 15,250.00 0 0.00
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 1 จัดประชุมและอบรมเชิงปฏิบัติการ 60 15,250.00 -
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 2. การติดตามผลการดำเนินงานโครงการ 0 0.00 -
30 ก.ย. 63 3. การรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ 0 0.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)       (1) สำรวจข้อมูล แผงลอย ร้านอาหาร และร้านขายของชำ ในพื้นที่ตำบลแหลมสอม       (2) จัดทำโครงการ เสนอเพื่อพิจารณา       (3) จัดทำแผนการดำเนินงานตามโครงการ ในการออกติดตาม ตรวจสอบและพัฒนาร้านชำ ร้านอาหาร และแผงลอย       (4) ดำเนินการตามโครงการ         (4.1) จัดอบรมความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย และฝึกการใช้ชุดตรวจสอบผลิตภัณฑ์         (4.2) แกนนำร่วมกับ จนท.รพ.สต.ท่าพญาที่ผ่านการอบรมออกตรวจอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพและให้คำแนะนำ ในพื้น   หมู่บ้านที่รับผิดชอบ         (4.3) ตรวจแนะนำร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ปรับปรุงและพัฒนาด้านสุขาภิบาล ให้ได้ตามมาตรฐาน
  โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข       (5) สรุป/ประเมินผลการดำเนินงาน และนำเสนอผลการดำเนินงาน แนวทางการพัฒนา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ       (1) แกนนำด้านคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้ และสามารถถ่ายทอดความรู้ในการเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ       (2) ร้านชำ และร้านอาหารแผงลอยมีการพัฒนาตามมาตรฐานสุขาภิบาล       (3) ประชาชนในพื้นที่ได้รับความปลอดภัยและความมั่นใจในการบริโภคอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2563 14:12 น.