กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ม.1
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1
วันที่อนุมัติ 7 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 กุมภาพันธ์ 2563 - 15 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดรุณี ประสพสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.115place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ก.พ. 2563 8 ก.ค. 2563 10,020.00
รวมงบประมาณ 10,020.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 26 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย นับว่าเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนานไม่ว่าจะเป็นปริมาณการผลิตขยะที่เพิ่มขึ้น สิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ขยะมูลฝอย ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยของคนในชุมชน ดังนั้นชุมชนจัดเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ผลิตของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่าขยะจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนจะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตราย เมื่อเปรียบเทียบกับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเกษตรกรรม แต่ถ้ามีปริมาณมากก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้ โดยขยะชุมชนที่เกิดขึ้นสามารถจำแนกตามองค์ประกอบได้ 4 ประเภท ได้แก่ ขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะทั่วไป โดยขยะแต่ละประเภทจะต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมโดยมีขั้นตอนวิธีดำเนินการ อันประกอบไปด้วย 1 ) การลดและการคัดแยก ณ แหล่งกำเนิด 2) การเก็บรวบรวม 3) การเก็บกัก 4) การขนส่ง 5) การแปรสภาพ 6) การกำจัดหรือทำลายด้วยวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ภายใต้หลักการ    3 Rs การลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reduce and Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycling) การผลิตพลังงาน (Energy Recovery) และการกำจัดขั้นตอนสุดท้าย (Final Disposal) และเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคต่างๆ     อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาขยะที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขอนามัยของคนในชุมชน จึงได้จัดโครงการ ลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อกระตุ้นให้คนในชุมชน ได้ตระหนักและรับรู้ถึงความจำเป็น ในการคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะและเป็นการลดปริมาณขยะที่มีประสิทธิภาพ และป้องกันปัญหาการเกิดมลพิษ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังส่งเสริมให้แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อไม่ให้ขยะดังกล่าวตกค้าง ทำให้ชุมชนสะอาด น่าอยู่ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะในครัวเรือนและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการนำกำจัดขยะมูลฝอย โดยใช้ หลักการ 3Rsคือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำและ นำกลับมาใช้ใหม่

1.ชุมชนมีจิตสำนึกในการใช้หลักการ 3Rs คือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอย สร้างความตระหนักให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง โดยสร้างจิตสำนึกแก่ประชาชนในความปลอดภัยด้านสุขภาพได้ถูกต้องและเหมาะสม

2.ลดพฤติกรรมเสี่ยงอันเนื่องมาจากการกำกัดขยะมูลฝอยและเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมในชุมชนน่าอยู่

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะมูลฝอยในระดับครัวเรือน

3.ครัวเรือนมีการควบคุมและลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะในครัวเรือน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
13 ก.พ. 63 - 15 ก.ค. 63 ฝึกอบรมให้ความรู้ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างเครือข่ายแยกขยะ ลดโรค 26 10,020.00 -
รวม 26 10,020.00 0 0.00

1.วางแผนการดำเนินงาน 2.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 3.ทำแผนลงพื้นที่ 4.ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ 5.จัดฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะและสุขภิบาลในครัวเรือน 6.เดินรณรงค์การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยของคนในชุมชน 7. ส่งเสริม และสร้างกระแสการรณรงค์กิจกรรมใช้หลักการ 3Rs คือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพและปริมาณมูลฝอย
8. สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชุมชนมีจิตสำนึกในการใช้หลักการ 3Rs คือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่
2.ลดพฤติกรรมเสี่ยงอันเนื่องมาจากการกำกัดขยะมูลฝอย 3.สิ่งแวดล้อมในชุมชนน่าอยู่
4.ครัวเรือนมีการควบคุมและลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะในครัวเรือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2563 10:32 น.