กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เตรียมความพร้อมของอสม. และประชาชนในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตำบลตันหยงโป ประจำปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงโป
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 กุมภาพันธ์ 2563 - 9 กุมภาพันธ์ 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 24 กุมภาพันธ์ 2563
งบประมาณ 19,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีสน รัษฎาปริวรรต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.589,99.936place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีส่งผลให้สภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปผู้หญิงเมื่อแต่งงานมีครอบครัวผลที่ตามมาคือ การตั้งครรภ์ แต่สภาพสังคมปัจจุบันผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้นไม่ว่าจะทำงานบ้านและทำงานนอกบ้านควบคู่กับการดูแลครอบครัวไปด้วยทำให้ขาดการดูแลเอาใจใส่ตัวเองบางครั้งลักษณะของงานที่ทำบางอย่างและการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ที่ไม่ถูกต้อง จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ด้วย ดังนั้นหญิงมีครรภ์ควรต้องรู้จักวิธีการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง การส่งเสริมเรื่องต่างๆ ได้แก่ การรับประทานอาหารการออกกำลังกายการดูแลสุขภาพอนามัยการเลือกใช้ยาการประเมินภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์และการปฏิบัติตนต่างๆ รวมไปถึงการเตรียมตัวเป็นคุณแม่การเตรียมตัวเลี้ยงลูกด้วยนมแม่การดูแลตัวเองหลังคลอด เป็นต้น การมีส่วนร่วมของชุมชนให้มีเครือข่ายที่เข้มแข็งได้แก่ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทุกเพศ ทุกวัย และทุกกลุ่มอายุ และอยู่ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุดเป็นอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมพัฒนาศักยภาพอย่างสม่ำเสมอสามารถให้ความรู้ด้านสุขภาพเบื้องต้นแก่เพื่อนบ้านได้ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงโป จึงได้จัดทำโครงการเตรียมความพร้อมของอสม. และประชาชนในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตำบลตันหยงโป ขึ้นเพื่ออบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์หรือสามีหรือญาติ ประชาชน และอสม. มีความรู้ ความเข้าใจมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์เพื่อให้เด็กที่อยู่ในครรภ์และที่จะเกิดมาในอนาคตได้รับการดูแลที่ถูกวิธีเพื่อให้มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีสร้างสายใยรักความผูกพันของครอบครัว และเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคตบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมายในชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้อง

 

0.00
2 2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมดูแลสุขภาพาของหญิงตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด

 

0.00
3 3. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 19,800.00 2 19,800.00
5 - 6 ก.ย. 63 ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 0.00 0.00
5 - 6 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ 70 19,800.00 19,800.00
  1. ขั้นเตรียม   1.1 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง   1.2 ประสานงานกับ อสม.และกลุ่มเป้าหมายและจัดเตรียมเอกสารการอบรมให้ความรู้
  2. ขั้นดำเนินการ   2.1. ขออนุมัติโครงการ   2.2. แต่งตั้งคณะทำงานและวางแผนดำเนินงาน   2.3. ประชาสัมพันธ์โครงการและติดต่อสถานที่รวมถึงจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการอบรม   2.4. ดำเนินโครงการโดยวิทยากรอบรมให้ความรู้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ กิจกรรมที่ 1 บทบาทของพ่อแม่ และการใช้สมุดสีชมพู กิจกรรมที่ 2 จัดโปสเตอร์ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์
    กิจกรรมที่ 3 การดูแลสุขภาพของแม่ขณะตั้งครรภ์ กิจกรรมที่ 4 การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจิตใจ กิจกรรมที่ 5 แนวทางการปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์ กิจกรรมที่ 6 อาการผิดปกติที่ต้องมาพบเจ้าหน้าที่
  3. ขั้นประเมินผล   3.1 ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้แบบประเมิน   3.2 ประเมินความรู้และทัศนคติของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนและหลังให้ความรู้
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. .หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพมีความรู้ความเข้าใจปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องมีความตระหนักในการดูแลตนเอง
  2. ทารกหลังคลอดมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม
  3. เด็กมีพัฒนาการสมวัย มีสุขภาพกายสมบูรณ์แข็งแรง และสุขภาพจิตดี
  4. อสม. มีศักยภาพและมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้มากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2563 14:38 น.