กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลปะแต ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L4149-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลปะแต
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2563
งบประมาณ 128,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักปลัด เทศบาลตำบลปะแต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.344,101.139place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา   จังหวัดยะลา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วย ในปี 2561 จำนวน 4,759 คน คิดอัตราป่วยเป็น 1062.48 ต่อประชากรแสนคน อำเภอยะหา มีอัตราป่วย ปี 2561 จำนวน 586 คน คิดเป็นอัตราป่วย 291.06 ต่อประชากรแสนคน ในส่วนของตำบลปะแต มีอัตราป่วย ปี 2561 จำนวน 47 ราย คิดอัตราป่วยเป็น 788.59 ต่อประชากรแสนคน และอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน สิงหาคม – ธันวาคม ของทุกปี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน ท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปะแต มีบทบาทและหน้าที่สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ ข้อ 10 (5) การระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียในตำบลปะแต มีมาอย่างต่อเนื่อง การควบคุมโรคเป็นไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากขาดอุปกรณ์และเครื่องมือใน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดการระบาดโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี

50.00
2 เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 100 สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเวลา

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 128,700.00 0 0.00
17 ก.พ. 63 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทีมควบคุมโรคและทีมเฝ้าระวังประจำตำบล เรื่องเทคนิคการพ่นสารเคมีและการควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน 30 9,100.00 -
1 มี.ค. 63 - 1 ก.ค. 63 ชุมชนร่วมดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 0 1,600.00 -
1 มี.ค. 63 - 1 ส.ค. 63 ติดตามและสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย เดือนละ 1 ครั้ง 0 0.00 -
17 พ.ค. 63 - 16 ส.ค. 63 พ่นสารเคมีจุดระบาดของไข้เลือดออกและพ่นก่อนเปิดเทอมในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มัสยิด สำนักสงฆ์ 0 118,000.00 -

ขั้นเตรียมการ
        1.สำรวจและรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำและเสนอโครงการ เตรียมวัสดุอุปกรณ์
        2.อสม/เจ้าหน้าที่ ประชุมชี้แจงเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
ขั้นดำเนินการ
      1 ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เทศบาลตำบล. โรงเรียน ชุมชน รพ.สต. และอื่น ๆ ร่วมกัน
      2 จัดซื้อเครื่องพ่นหมอกควัน ให้เพียงพอต่อการใช้งาน
      3 รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงลาย โดยวิธี
          - ทางกายภาพรณรงค์ให้ชุมชนร่วมดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
          - ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน โดย อาสาสมัครสาธารณสุข พร้อมพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย
          - ทางชีวภาพ สนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง เช่น ตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง
          - พ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวเต็มวัยในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่ง
          - จัดทีมอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับทีม SRRT ตำบลปะแต ออกพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัยในกรณีพบผู้ป่วยในพื้นที่ ภายใน 24 ชั่วโมง
ติดตามและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
  2. ดัชนีลูกน้ำเป็นไปตามมาตรฐาน
  3. เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2563 10:02 น.