กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (คัดกรองและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยเบาหวานในตำบลควนกาหลง) (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลควนกาหลง
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 28 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 34,465.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอำพกา ยัญญะจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.953,100.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 499 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปํญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพอ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โโยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่ที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดคงวามพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีหลายสาเหตุปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง(CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม โรงพยาบาลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ได้นำเสนอนโยบายด้านสาธารณสุข จัดให้มีการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่อำเภอควนกาหลง ในปี 2562(ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์จ.สตูล HDC ปีงบประมาณ 2562) มีผู็ป่วยโรคเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 2593 รายน โรคเบาหวาน 1184 ราย เข้ารับบริการโรคคคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลควนกาหลง โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 861 ราย ควบคุมโรคได้ 578 ราย คิดเป็นร้อยละ 67.24 โรคเบาหวาน545 ราย ควบคุมโรคได้ 196 ราย คิดเป็นร้อยละ 36 จะเห็นได้ว่ามีการควยคุมโรคได้น้อย ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางตาร้อยละ 6.67 ทางเท้าร้อยละ 12.85 ทางไตร้อยละ16.61 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดหัวใจร้อยละ 2.15 หลอดเลือดสมองร้อยละ 1.70 ทางไต ร้อยละ 10.35 ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมน้ำตาลได้ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ร้อยละ 17.52 (ค่า HbA1Cครั้งสุดท้าย30% ดดยลงพื้นที่ รพ.สต. และเพิ่มจำนวนวันในการตรวจคัดกรองและจัดหาอุปกรณ์เสริมสนับสนุน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการคัดกรอง ดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวอย่างเหมาะสม จะทำให้ลดการเกิดภาวะแทกซ้อนที่รุนแรงลงได้ ทั้งนี้ในการคัดกรอง การค้นหาภาวะแทรกซ้อนเป็นไปตามนโยบาลและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น โรงพยาบาลควนกาหลง จึงได้จัดทำโครงการ"โครงการคัดกรองและป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานความในตำบลควนกาหลง" เพื่อค้นหาภาวะแทรกซ้อน การติดตามการดูแลรักษา และการส่งต่ออย่างมีประสิทธิภาพในผู้ป่วยภาวะแทรกซ้อนต่อไป โรงพยาบาลควนกาหลง ขึงขอรับเงินสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันในคลินิกโรคเรื้อรังจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อคัดกรองภาวะแทกซ้อนทางเท้า ตา ในผู้ป่วยเบาวาน 2.เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้า ตา ในผู้ป่วยเบาหวาน 3.เพื่อให้ผ้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการส่งต่ออย่างเหมาะสม 4. เพื่อลดอัตราผู้ป่วยเบาหวานโดนตัดเท้า

1.ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ร้อยละ 60 , ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางเท้า ร้อยละ 60
2.อัตราการกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา น้อยกว่าร้อยละ 5 , อัตราการกิดภาวะแทรกซ้อนทางเท้า น้อยกว่าร้อยละ 5
3.ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางตาได้รับการส่งต่อรักษาร้อยละ 100 4.ผู้ป่วยเบาวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางเท้า ได้รับการดูแลเท้า ตามระดับความรุนแรง ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ระยะเตรียมการ

- ประชุมทีม NCD คลินิกและเครือข่ายบริการสุขภาพ และทีมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - พัฒนาศักยภาพทีม ด้านความรู้และฝึกปฏิบัติการตรวจคัดกรองตาเบื้องต้น สอนตรวจเท้าอย่างละเอียด และการประเมิน CVD risk ที่ถูกต้อง - จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติ - ส่งหนังสือ/ประสานขอความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม ประสานหน่วยงานและทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ - เตรียมการนัดหมายผู้ป่วยเข้ารับบริการในแต่ละหน่วยบริการสุขภาพในเขต ตำบลควนกาหลง
- จัดทำแผ่นพับ/โปสเตอร์/โฟมบอร์ด ความรู้เรื่องตา การดูแลเท้าและการบริหารเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน การดูแลช่องปาก ไต และ CVD risk

2. ระยะดำเนินการ
- ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยโดยการการวัดระดับสายตาเบื้องต้นและการถ่ายภาพจอประสาทตาด้วยเครื่อง Fundus Camera ,การตรวจเท้าอย่างละเอียด พร้อมให้คำแนะนำการดูแลเท้าและการบริหารเท้า,การตรวจคัดกรอง CVD risk , การตรวจช่องปากและฟัน โดยทีมทันตกรรม โดยลงตรวจแบ่งตามพื้นที่รับผิดชอบได้แก่ รพ.สต.กระทูน,รพ.สต.ควนกาหลง,รพ.สต.เหนือคลอง และโรงพยาบาลควนกาหลง ในเดือนมกราคม 2563 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2563
- ผู้ป่วยเบาหวานทุกรายที่ผ่านการตรวจจอประสาทตาด้วยเครื่อง Fundus Camera  อ่านผลโดยจักษุแพทย์ ส่งต่อผู้ป่วยพบจักษุแพทย์กรณีที่ตรวจพบความผิดปกติหรือมีภาวะแทรกซ้อนทางตา เช่น เบาหวานขึ้นตา ,ต้อกระจก,ต้อหิน เป็นต้น โดยทีมจักษุแพทย์และเจ้าหน้าที่ ดำเนินการตรวจในเดือน กุมภาพันธ์ 2563 (จำนวน 1 วัน) - ผู้ป่วยเบาหวานที่พบภาวะแทรกซ้อนทางเท้าอยู่ในระดับเสี่ยงสูง จะได้รับการตรวจประเมินซ้ำและดูแลให้ได้รับการตรวจ Prodoscrope และตัดรองเท้า (ตัวแทนจากบริษัท) กรณีผ่านความเห็น ชอบจาก สปสช. - ส่งเสริมการขูด Callus ในรายที่มีหนังหนาเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า ในผู้ป่วยเบาหวานที่รับรักษาที่ รพสต.
- ให้ความรู้เรื่องโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การดูแลเท้า และการบริหารเท้าด้วยตนเอง การดูแลช่องปาก ไต และ CVD risk ในผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เครือข่ายอำเภอควนกาหลง - การติดตามอย่างต่อเนื่องในกลุ่มเสี่ยง ,กลุ่มป่วยที่มีความเสี่ยง CVD risk > 30 %และกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน

  1. การประเมินผลโครงการ

- บันทึกข้อมูล ผลการตรวจในเวชระเบียนและโปรแกรม HOS-xp - วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผล - สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ร้อยละ 80
2.ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางเท้า ร้อยละ 80
3.อัตราการภาวะแทรกซ้อนทางตา เท้า น้อยกว่าร้อยละ 5 4.ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางตาได้รับการส่งต่อเพื่อรักษษ ร้อยละ 100 5.ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางเท้า ได้รับการดูแลเท้าตามระดับความรุนแรง ร้อยละ 100

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2563 15:49 น.