กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดเหานักเรียนหญิงโรงเรียนบ้านในปง
รหัสโครงการ 63-L1520-01-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านในปง
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มกราคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 9,042.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัช ใสเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ม.ค. 2563 31 ก.ค. 2563 9,042.00
รวมงบประมาณ 9,042.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 64 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากในเด็กนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา โดยพบว่ามีนักเรียนติดเหาประมาณ 80-90 %การดูแลความสะอาดร่างกายในเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดบริเวณศีรษะทั้งนี้ เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีก เป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศีรษะ และดูดเลือดเป็นอาหารโดยอาศัยบนศีรษะที่ไม่สะอาด เหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียนก่อนประถมและประถมศึกษา ซึ่งอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 4-14 ปี เหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจ ของสังคมรวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วย โดยมากนักเรียนที่เป็นเหามักเป็นผู้ที่มีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง ประกอบกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง เหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายด้วยการดูแลรักษาความสะอาดของศีรษะอย่างสม่ำเสมอแต่เนื่องจากเหาสามารถติดต่อได้ง่ายทั้งระหว่างนักเรียนด้วยกันและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัวการแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในโรงเรียนคือต้องกำจัดเหาและปฏิบัติตนเองอย่างถูกต้องจริงจังเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ จากผลการดำเนินงานตรวจสุขภาพนักเรียนในปี 2562 พบว่านักเรียนเป็นเหา 64 คน จากนักเรียนหญิงทั้งหมด71 คน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง จึงเห็นความสำคัญที่ต้องกำจัดเหาในโรงเรียน และให้สุขศึกษาแก่นักเรียนเพื่อสุขอนามัยที่แข็งแรง จึงได้จัดทำโครงการกำจัดเหาในโรงเรียน ขึ้นเพื่อรณรงค์กำจัดในโรคเหาในนักเรียน โดยมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและศีรษะ ที่จะช่วยป้องกันโรคเหาและลดการแพร่ระบาดของโรคเหาต่อไปในโรงเรียนบ้านในปง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดเหานักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา

ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายนักเรียนหญิงได้รับการกำจัดเหา

0.00
2 เพื่อตัดต่อการระบาดของการเป็นเหาในนักเรียนหญิง

ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายนักเรียนหญิงปลอดเหา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 64 9,042.00 1 9,042.00
17 ม.ค. 63 - 31 ก.ค. 63 กิจกรรมการกำจัดเหาในโรงเรียนบ้านในปง 64 9,042.00 9,042.00

ขั้นเตรียมการ
    1. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อรับทราบนโยบายวัตถุประสงค์ของโครงการ     ๒. จัดทำแผนกำหนดวันปฏิบัติงาน     3. จัดการประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนหญิงโรงเรียนบ้านในปงทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ     4. เตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ในการกำจัดเหาด้วยยากำจัดเหาเป็นจำนวน 1 ครั้งต่อวัน จำนวน 2 ครั้ง     5. ประสานกับโรงเรียนบ้านในปง เพื่อเตรียมการและวางแผนการดำเนินงานการกำจัดเหาแก่นักเรียนหญิงโรงเรียนบ้านในปง     6. ดำเนินการกำจัดเหาแก่นักเรียนหญิงโรงเรียนบ้านในปงตามวัน และเวลาที่นัดหมาย     7. ให้สุขศึกษาการกำจัดเหาด้วยวิธีต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการแนะนำวิธีการกำจัดเหาในการแจ้งให้ผู้ปกครองดูแลเมื่อนักเรียนหญิงกลับบ้านและปฏิบัติการใช้ยากำจัดเหาต่างๆ 8. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน 9. ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กำจัดเหานักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาโรงเรียนบ้านในปง
  2. เพื่อตัดต่อการระบาดของการเป็นเหาในนักเรียนหญิงโรงเรียนบ้านในปง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2563 14:51 น.