กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาต้นแบบผู้สูงอายุชะลอสมองเสื่อม ลดการถอยสู่กลุ่มติดบ้านและติดเตียง
รหัสโครงการ 63-L000-2-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 14,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผศ.จิรพรรณ พีรวุฒิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) การที่ผู้สูงอายุช่วยเหลือตนเองได้หรือลดการพึ่งพาผู้อื่นในการดำเนินกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน เป็นตัวชี้วัดสำคัญของนโยบายด้านผู้สูงอายุ จากข้อมูลประชากรผู้สูงอายุ เขตอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง มีผู้สูงอายุจำนวน 4,872 คน โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 97 ยังสามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือช่วยเหลือผู้อื่น ชุมชนและสังคมได้ สอดคล้องกับพื้นที่หมู่ที่ 1 2 3 8 และ 9 ตำบลบ้านพร้าว โดย ร.พ.สต. มีการคัดกรอง ADL พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่ 1 คือช่วยเหลือตนเอง ชุมชน และสังคมได้ แต่จากการคัดกรองภาวะสมองเสื่อม พบว่าผู้สูงอายุบางส่วนมีสมรรถภาพทางสมองลดลง ถึงแม้จะพบจำนวนไม่มากแต่ปัญหาสมองเสื่อมมีความรุนแรง ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุโดยตรงที่ต้องพึ่งพาผู้ดูแล ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันอุบัติการณ์ของภาวะสมองเสื่อมสูงขึ้นในวัยสูงอายุ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลงเนื่องจากการดำเนินกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองลดลง ต้องพึ่งพาผู้ดูแล ขณะที่ผู้ดูแลมีหลายบทบาท จะทำให้เกิดความเครียดหรือเกิดการทารุณกรรมแก่ผู้สูงอายุได้ จากงานวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มที่สงสัยมีภาวะสมองเสื่อม มีเปอร์เซ็นต์การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันลดลงมากกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะสมองเสื่อม (นงนุช โอบะ, 2558) หากผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาสมองอย่างต่อเนื่องทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ สมองด้านความคิด ด้านอารมณ์ การสื่อสาร การเคลื่อนไหว ความเข้าใจ การได้ยิน การมองเห็น และด้านการจดจำ จะช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ประสาทได้และยังเพิ่มแขนงเซลล์ประสาทต่อไป ยังคงทำให้ผู้สูงอายุดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองอีกทั้งเป็นต้นแบบในการถ่ายทอดหรือบอกต่อแก่ผู้อื่นได้ เพื่อลดโอกาสในการถดถอยจากกลุ่มติดสังคมสู่การติดบ้านและติดเตียง จึงควรพัฒนาต้นแบบผู้สูงอายุเพื่อบอกต่อและเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นต่อไป รวมถึงสร้างเสริมทักษะชะลอความเสื่อมของสมองแก่สมาชิกผู้สูงอายุเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ครั้งนี้จึงมุ่งพัฒนาทักษะด้านการบริหารสมอง บริหารจิต บริหารกาย และกิจกรรมลดพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาสมองทั้ง 8 ด้าน ปัจจุบันสมาชิกศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ มีจำนวนกว่า 50 คน จากการคัดกรอง ADL และสมองเสื่อม พบว่า ADL อยู่ในกลุ่ม 1 ไม่มีภาวะสมองเสื่อม แต่มีแนวโน้มเกิดภาวะสมองเสื่อมเนื่องจากส่วนใหญ่มีความพร่องการทำหน้าที่ของสมองด้านการจดจำ การคิดคำนวณ การมองเห็น และมีการเคลื่อนไหวช้าลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ผู้สูงอายุ ร้อยละ 80 ได้รับการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมและความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวัน 2.ผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ได้รับความรู้และพัฒนาทักษะป้องกันสองเสื่อมในด้านการบริหารสมอง บริหารจิต บริหารกาย และลดพฤติกรรมเสี่ยง 3.ผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน ได้รับการพัฒนาเป็นต้นแบบป้องกันสมองเสื่อมในด้านการบริหารสมอง บริหารจิต บริหารกายและลดพฤติกรรมเสี่ยง

-คะแนนสมรรถภาพทางสมองและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของสมาชิกผู้สูงอายุ/ต้นแบบผู้สูงอายุด้านการบริหารสมอง บริหารจิต บริหารกายและลดพฤติกรรมเสี่ยง จำนวน  10 คน -ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สุงอายุจัดอยู่ในกลุ่มติดสังคม/สมรรถภาพทางสมองของผู้สูงอายุต้นแบบ ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม

50.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
??/??/???? โครงการพัฒนาต้นแบบผู้สูงอายุชะลอสมองเสื่อม ลดการถอยสู่กลุ่มติดบ้านและติดเตียง 0 14,650.00 -
รวม 0 14,650.00 0 0.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. จัดทำโครงการและเสนอขออนุมัติงบประมาณจากผู้บริหาร เทศบาลตำบลบ้านพร้าว 2. ประชุมปรึกษาภายในคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน 3. ดำเนินการตามโครงการ 1) ประเมินสมรรถภาพทางสมองและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของสมาชิกผู้สูงอายุ ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ทุกวันพุธ เวลา 8.00-11.00 น.จำนวน 8 ครั้ง (2 เดือน) 2) จัดกิจกรรมพัฒนาผู้สูงอายุต้นแบบ และเสริมสร้างทักษะชะสมองเสื่อมแก่สมาชิกผู้สูงอายุ ด้วยกิจกรรมย่อย 4 กิจกรรม ได้แก่ การบริหารสมอง บริหารจิต บริหารกาย และลดพฤติกรรมเสี่ยง ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ทุกวันพุธ เวลา 9.00-12.00 น.จำนวน 38 ครั้ง (10 เดือน) 3) รับประทานอาหารร่วมกันเวลา 12.00-13.00 น. ทุกวันพุธ ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 4) สรุปกิจกรรม การพัฒนาผู้สูงอายุต้นแบบและเสริมสร้างทักษะชะลอสมองเสื่อมแก่สมาชิกผู้สูงอายุ ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ในวันพุธ ครั้งที่ 1 เดือนพฤษภาคม 2563 และครั้งที่ 2 เดือนกันยายน 2563 4. สรุป/ รายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สุงอายุจัดอยู่ในกลุ่มติดสังคม/สมรรถภาพทางสมองของผู้สูงอายุต้นแบบ ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2563 11:06 น.