กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ประจำปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L1519-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 6
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพีรดา ปานแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.746,99.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 22 ม.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 9,450.00
รวมงบประมาณ 9,450.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ Non-Communicable diseases: NCDs ที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ไม่เพียงพอหรือร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง สำหรับองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 108 ล้านคน ในปี 2523 เป็น 422 ล้านคนในปี 2557 และพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง อีกทั้งยังพบว่าปี 2559 มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 1.5 ล้านคน และอีก 2.2 ล้านคนเสียชีวิตเนื่องจากน้ำตาล  ในเลือดสูง และจากข้อมูลสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยรายงานสถานการณ์โรคเบาหวานในภาคพื้นแปซิฟิก (Western Pacific) ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทย มีผู้ที่เป็นเบาหวานมากถึง 4.4 ล้านคน จัดเป็นอันดับ 4 รองจาก จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ซึ่งคาดการณ์ว่า ในปี 2583 ยอดผู้ป่วยโรคเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็น 642 ล้านคน โดยมียอดผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานเฉลี่ยปีละกว่า 8,000 คน และพบว่าคนรุ่นใหม่มีโอกาสเป็นเบาหวานสูงขึ้นจากพฤติกรรม การดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป ที่สำคัญคือมีคนไทยมากถึง 2 ล้านคนที่เป็นเบาหวานแต่ไม่ทราบและยังไม่เข้าถึง การรักษา และยังมีอีก 7.7 ล้านคนที่อยู่ในภาวะกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานหากประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่สนใจดูแลสุขภาพตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ทำให้การทำงานของระบบหัวใจ หลอดเลือด ตา ไตและเส้นประสาทบกพร่องและอาจเกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
จากข้อมูล Health Data Center (HDC) พบว่า ปี 2559-2561 อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานของจังหวัดตรัง      มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 4.68, 4.81 และ 5.04 ตามลำดับ และการควบคุมสภาวะโรคในผู้ป่วยโรคเบาหวาน      จากข้อมูล Health Data Center (HDC) กระทรวงสาธารณสุข ปี 2562 พบว่า ภาพรวมจังหวัดตรังมีผู้ป่วยเบาหวาน 25,768 คน ได้รับการตรวจ HbA1C ร้อยละ 61.42 จำแนกรายอำเภออยู่ระหว่าง ร้อยละ 41.97 – 89.11            โดยอำเภอที่มีความครอบคลุมการตรวจ สูงที่สุด คือ อำเภอห้วยยอด หาดสำราญ กันตัง ปะเหลียน นาโยง ย่านตาขาว    วังวิเศษ สิเกา รัษฎา และเมือง ตามลำดับ และผลงานการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ภาพรวมจังหวัดตรัง ร้อยละ 20.91 จำแนกรายอำเภออยู่ระหว่าง ร้อยละ 14.37 – 31.89 โดยอำเภอที่มีความครอบคลุมการตรวจ สูงที่สุด คือ          อำเภอนาโยง รองลงมาคือ อำเภอหาดสำราญ วังวิเศษ ย่านตาขาว ห้วยยอด กันตัง รัษฎา สิเกา เมือง และปะเหลียน (ข้อมูลถึงวันที่ 2 มิถุนายน 2562) จากการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ในปี 2558 ถึง 2562 พบว่ามีร้อยละ 2.71, 5.14, 3.46, 2.95, 2.99 ตามลำดับ ในประชากร 35 ปีขึ้นไป ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ข้อมูลจาก Health Data Center (HDC) กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับเครือข่ายสาธารณสุขและองค์กรเอกชน กระตุ้นและสนับสนุนการคัดกรองโรคเบาหวานในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในทุกช่วงวัย โดยการพัฒนาและจัดการความรู้ สนับสนุนให้เกิดการจัดสิ่งแวดล้อมทางกฎหมายและทางสังคม และเพิ่มปัจจัยเสริมด้านอาหารเพื่อสุขภาวะ และการเพิ่มกิจกรรมทางกาย ขยายแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพให้เหมาะสมตามกลุ่มวัย ตั้งแต่วัยเด็ก เยาวชน วัยทำงาน ผู้สูงวัย ตลอดจนประชากรกลุ่มเฉพาะ เช่น ผู้พิการ กลุ่มสถานะบุคคล เพื่อขับเคลื่อนให้ประชาชนเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพเกิดการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสุขภาวะ ขับเคลื่อนงานลงสู่พื้นที่เป้าหมาย
ดังนั้นผู้จัดทำจึงเห็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนไทย ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆโดยเฉพาะกลุ่มประชากรเพศหญิง ซึ่งมีปัจจัยมาจากพฤติกรรมการดำรงชีวิตและ มีปัจจัยด้านพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวเนื่องด้วย ซึ่งปัจจัยด้านพันธุกรรมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยากแต่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ ผู้จัดทำ        มีความประสงค์จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพประชาชนที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ให้มีจำนวนประชากรที่ลดลงโดย      การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยของการเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งผู้จัดทำมีความประสงค์ดำเนินการจัดกิจกรรมในกลุ่มประชาชนที่ผ่านการตรวจคัดกรองในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลวังวิเศษ ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง โดยเจาะจงกลุ่มประชาชนช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อลดอัตราการเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากเป็นกลุ่มประชาชนที่เสี่ยง ต่อการเป็นโรคเบาหวานในอนาคตมากที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น

มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น

30.00
2 เพื่อให้ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 40 คน ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวาน

ประชาชนได้รับการคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวาน

30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 9,450.00 0 0.00
22 ม.ค. 63 โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ประจำปีงบประมาณ 2563 30 9,450.00 -

๑. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ    ๒. จัดประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม
๓. ประชุมจี้แจง รายละเอียดโครงการ ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 4.ประชาสัมพันธ์ ให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 5.จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน              -การเจาะน้ำตาลหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง Fasting blood sugar (FBS) เจาะโดยไม่ต้องอดอาหารเพื่อวัดระดับ                    -อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน โดยใช้สื่อประกอบ                  6.ติดตามผลการดำเนินโครงการ    7. ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถรถลดระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ ที่ปกติ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2563 15:22 น.