กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ รู้ตน ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L1475-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านมาบบอน
วันที่อนุมัติ 8 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 38,430.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิตรา ด้วงชู
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 224 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรค (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง) ในปี 2561 สูงถึง 25,225 ล้านบาทต่อปี และเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 2,465 ล้านบาทต่อปี ประมาณการจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 10 ล้านคน จะสูญเสียค่ารักษาทั้งสิ้น 79,263 ล้านบาทต่อปี ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของประชากร ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรผลต่อความยากจนทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และสังคม ดังนั้น การสนับสนุนให้ประชาชนเห็นความสำคัญใส่ใจในการดูแลสุขภาพของตนเองและรู้ค่าตัวเลขระดับความดันโลหิตสูงของตนเอง จะทำให้เกิดความตระหนักในการป้องกันควบคุมและลดความรุนแรงของโรคได้ ทั้งนี้ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง นั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (1) การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็มจัด (2) ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 150 นาทีต่อสัปดาห์ (3) งดการสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา (4) ควรรับการตรวจวัดค่าระดับความดันโลหิตเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และ (5) การทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ (กรมควบคุมโรค, 2561) จากผลการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงประชาชนในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมาบบอน ปี 2562 พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 9.20 สงสัยป่วย 28 คน คิดเป็นร้อยละ 2.08 กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 3.90 และสงสัยป่วย 8 คน คิดเป็นร้อยละ 0.49 ดังนั้น ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขให้ได้ผลทั้งในเชิงป้องกันและแก้ไขปัญหา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จำเป็นต้องพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อ ค่านิยม และทักษะที่จำเป็นด้านสุขภาพ ตลอดจนการจัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ทั้งนี้หลักสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อก้าวสู่การมีสุขภาพดี คือ การดูแลและให้ความรู้ด้านโภชนาการอาหาร การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกชนิด ปริมาณ และถูกเวลา ควรเลือกบริโภคอาหารให้ครบ ๕ หมู่ มีความหลากหลายและพอเพียง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อควบคุมกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงไม่ให้เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง 3. เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย และเป็นแบบอย่างด้านสุขภาพในชุมชน
  1. ร้อยละ ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ไม่เป็นผู้ป่วยรายใหม่จากการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ปี2562 ต้องไม่เกิน 2.95
  2. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงด้วยความดันโลหิตสูง ต้องได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ภายใน3-6 เดือน และความดันโลหิตลดลง
  3. ร้อยละของกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านและได้รับขึ้นทะเบียนผู้ป่วยรายใหม่ (เป้าหมาย20 เปอร์เซ็นต์)
  4. ร้อยละ ของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จากผลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ปี2562 เป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ต้องไม่เกิน 1.25 เปอร์เซ็นต์
  5. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ต้องได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. คัดกรองประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้น และภาวะอ้วนลงพุงโดยอสม. เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง
    1. เขียนโครงการ และกำหนดแผนปฏิบัติงาน
    2. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
    4. อบบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
    5. ติดตามประเมินผลกลุ่มเสี่ยงหลังเข้าร่วมโครงการ ทุก 3 เดือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานความดันมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถควบคุม และดูแลตนเองไม่ให้ป่วยเป็นผู้ป่วยรายใหม่
    1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และควบคุมระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
    2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง และเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2563 13:10 น.