กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. กลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 42,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสปีเนาะ กะโด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลกซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า ในปี 2552 ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 422 ล้านคน ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 1.5 ล้านคน นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรทั่วโลกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 8.5 หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้ว พบว่า ปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คนป่วยเป็นโรคเบาหวาน ส่วนในประเทศไทย จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราตายด้วยโรคเบาหวานต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมของประเทศในปี 2556 - 2561 เท่ากับ 14.93, 17.53 และ 17.83 ตามลำดับ เห็นได้ว่า อัตราการตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี และจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายในประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ครั้งที่ 3, 4 และ 5 (ปี 2547, 2552 และ 2557) พบว่า ความชุกของโรคเบาหวาน ของครั้งที่ 3 ร้อยละ 7 ใกล้เคียงกับครั้งที่ 4 ร้อยละ 6.9 ส่วนครั้งที่ 5 เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 8.8 (คิดเป็น 4.8 ล้านคน)นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2558 ยังพบว่าประเทศไทย  มีค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกในการรักษาพยาบาลโรคเบาหวานเฉลี่ย 1,172 บาทต่อราย ส่วนผู้ป่วยในค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลเฉลี่ย 10,217 บาทต่อราย รวมค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้น 3,984 ล้านบาทต่อปี หากคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน รวม 3 ล้านคนต่อปี มารับบริการที่สถานพยาบาล จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้นประมาณ 47,596 ล้านบาทต่อปี จากสถิติการเจ็บป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา พบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นกลุ่ม โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2560-2563 มีอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานร้อยละ 80.65 , 78.23 , 81.32 , และ 82.67 ต่อประชากร  1,000 คน ตามลำดับนอกจากนี้ จากการคัดกรองในชุมชนปี 2563 จำนวน 5,220 คน พบว่า กลุ่มเสี่ยงก่อนเกิดโรคเบาหวานจำนวน 175 คน คิดเป็นร้อยละ 3.35 ดังนั้นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกกลุ่ม จะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นๆในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้หลัก 3อ 2ส เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค 3อ 2ส    จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค 3อ 2ส กลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2563

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายที่เสี่ยงป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

 

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริม ป้องกันควบคุมโรคสำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมายตามมาตรฐานงานโรคเรื้อรัง 6 องค์ประกอบ

 

0.00
3 3.เพื่อติดตามประเมินผลประชากรกลุ่มเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 42,000.00 1 42,000.00
11 - 26 ก.ค. 63 1.กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ 50 42,000.00 42,000.00

1.ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอกเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ โครงการและมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์/กำหนดกิจกรรมดำเนินงาน     2.จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเตงนอกเพื่อ              เสนอขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ
3.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง                                        4.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ                                            5.สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส
  2. กลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้รับการเฝ้าระวัง ติดตามการเกิดโรคเบาหวาน
  3. กลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ ได้รับการส่งต่อ และรักษาอย่างถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2563 15:35 น.