กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (รพ.สต.บ้านตลิ่งชัน)
รหัสโครงการ 63-L000-5-29
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 101,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมณฑา ทองตำลึง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 เม.ย. 2563 23 ก.ค. 2563 101,150.00
รวมงบประมาณ 101,150.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 8995 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖๒ จังหวัดพัทลุง พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 788 ราย เสียชีวิต จำนวน 1 ราย อัตราป่วย 150.11 ต่อประชากรแสนคน อัตราตาย 0.19 ต่อประชากรแสนคนอัตราป่วยตายร้อยละ 0.13 (ที่มา : กลุ่มปฏิบัติการควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา 24 ก.ย. 2562) ในอำเภอป่าพะยอม พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 28 รายและตำบลบ้านพร้าวพบอัตราป่วย ๑๒๘.๘๒ ต่อแสนประชากร การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน เทศบาล โรงพยาบาลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งขัน จึงได้จัดทำกิจกรรมโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2563 เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปในวงกว้าง ป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรคและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนสถาบัน ต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก สร้างความตระหนักให้กับประชาชนได้เห็นความสำคัญและสร้างมาตรการทางสังคมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และเพื่อลดอัตราป่วยและไม่พบอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก

ตัวชี้วัดความสำเร็จ - ร้อยละ 90 ของประชาชนมีความรู้เรื่องไข้เลือดออก

  • จำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ลดลง
  • ประชาชนมีความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์
  • เพื่อลดอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเหลือไม่เกิน ๘๑.๑ ต่อ
      ประชากรแสนคน
60.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 101,150.00 3 101,150.00
1 ธ.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมรณรงค์และให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก 100 14,800.00 14,800.00
1 ธ.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมประกวดบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย 0 3,750.00 3,750.00
1 ธ.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 จัดหาครุภัณฑ์/เคมีภัณฑ์ 0 82,600.00 82,600.00

๑. ขั้นเตรียมการ
  ๑.๑ ปรึกษาหารือ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการ
  ๑.๒ เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  ๑.๓ วางแผนการดำเนินการ
๒. ขั้นดำเนินการ   ๒.๑ กิจกรรมรณรงค์และให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก     ๒.๑.๒ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ป้ายประชาสัมพันธ์สารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย ฯลฯ
    ๒.๑.๒ ประชาสัมพันธ์รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว/เสียงตามสาย/หอกระจายข่าวเพื่อให้ประชนรับทราบ
    ๒.๑.๓ จัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ
    ๒.๑.๔ ประสานหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง/ชุมชน เพื่อดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก แก่ประชาชน "๕ป. ๑ข."   ๒.๒ กิจกรรมป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก     ๒.๒.๑ ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกและการรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก     ๒.๒.๒ ดำเนินการสอบสวนโรคภายใน ๒๔ ชั่วโมง หลังได้รับแจ้งผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและรายงานผลการสอบสวนโรค     ๒.๒.๓ ดำเนินการพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ ๒ ครั้ง ห่างกัน ๑ สัปดาห์ในบ้านและบริเวณรอบบ้านผู้ป่วย เพื่อป้องกัน           การระบาดของโรคไข้เลือดออก     ๒.๒.๔ กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย โดยวิธีทางกายภาพ ชีวภาพ และเคมี (แจกทรายอะเบท)     ๒.๒.๕ ให้ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ๓. ขั้นสรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนและองค์กรต่าง ๆในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ๒. ประชาชนเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญในการรณรงค์กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ๓. จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
๔. ประชาชนมีความรู้เรื่องไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2563 11:21 น.