กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงภาวะอ้วนลงพุง หมู่ที่ 1 ต.ห้วยยอด
รหัสโครงการ 63-L1541-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลห้วยยอด ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลห้วยยอด
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 29 กุมภาพันธ์ 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มีนาคม 2563
งบประมาณ 3,025.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์ปิยวิทย์ เนกขพัฒน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.776,99.632place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2563 29 ก.พ. 2563 3,025.00
รวมงบประมาณ 3,025.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะอ้วนลงพุง

 

0.00
2 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับการรับรู้ความรุนแรงของภาวะอ้วนลงพุงก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

 

0.00
3 3. เพื่อเปรียบเทียบระดับการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอ้วนลงพุงก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

 

0.00
4 4. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันภาวะอ้วนลงพุงก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

 

0.00
5 5. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีเส้นรอบเอวและน้ำหนักตัวลดลง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 35 3,025.00 1 3,025.00
1 - 29 ก.พ. 63 อบรมให้ความรู้ 35 3,025.00 3,025.00

ระยะเตรียมการ 1. ติดต่อประสานงานกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยอด และผู้นำชุมชน หมู่ที่ 1 บ้านห้วยยอด ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 2. ศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มเป้าหมาย ในชุมชนหมู่ที่ 1 บ้านห้วยยอด ตำบลห้วยยอดอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 3. ลงพื้นที่ในชุมชนกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลสุขภาพทั่วไป 4. ลงพื้นที่ทำความรู้จักชุมชน ผู้นำชุมชน และพบปะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชี้แจงการจัดทำโครงการคร่าวๆ 5. เขียนโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงภาวะอ้วนลงพุง หมู่ที่ 1 ต.ห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง 6. เสนอโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงภาวะอ้วนลงพุง หมู่ที่ 1 ต.ห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ต่อองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยอดเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 7. เตรียมข้อมูล เอกสารเกี่ยวกับการอบรมเชิงปฏิบัติโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงภาวะอ้วนลงพุง เรื่องภาวะอ้วนลงพุง สาเหตุ โอกาสเสี่ยง ความรุนแรงของภาวะอ้วนลงพุง การบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม 8. เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงภาวะอ้วนลงพุง
8.1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 8.2. แบบประเมินความรู้เรื่องโรคอ้วนลงพุง ก่อน - หลัง เข้าร่วมโครงการ 8.3. แบบประเมินการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของภาวะอ้วนลงพุง
8.4. แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารและออกกำลังกาย ก่อน–หลังเข้าร่วมโครงการ 8.5. จัดทำสมุดบันทึกการบริโภคอาหารและออกกำลังกาย
8.6. ทำบัตรเชิญให้กับกลุ่มเป้าหมาย 8.7. จัดทำหนังสือเชิญวิทยากร 8.8. เครื่องชั่งน้ำหนัก 8.9. เครื่องวัดความดันโลหิต 8.10. สายวัดรอบเอว 9. เชิญวิทยากร 10. จัดทำสื่อให้ความรู้ 10.1. ภาพพลิก 10.2. เอกสารแผ่นพับ 10.3. บอร์ดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องภาวะอ้วนลงพุง การบริโภคอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม 10.4. ตัวอย่างอาหารที่แสดงปริมาณน้ำตาล น้ำมัน และเกลือ ที่ควรบริโภคในแต่ละวัน 11. ประชาสัมพันธ์โครงการ ระยะดำเนินการ 1. กิจกรรมการประเมินผลก่อนเข้าร่วมโครงการ 1.1 การบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 1.2 แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับภาวะอ้วนลงพุง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการต่อเกิดภาวะอ้วนลงพุง และการรับรู้ความรุนแรงของภาวะอ้วนลงพุง
1.3 แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา 2. กิจกรรมโครงการศึกษาผลการประยุกต์ทฤษฏีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงภาวะอ้วนลงพุงใช้ระยะเวลา 4 สัปดาห์ โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ 2.1. กิจกรรมการสร้างการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการต่อเกิดภาวะอ้วนลงพุง
2.1.1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมโครงการและตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพ ได้แก่
ชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง วัดรอบเอว และคำนวณดัชนีมวลกาย 2.1.2. พิธีเปิดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงภาวะอ้วนลงพุง หมู่ที่ 1
ต.ห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง 2.1.3. กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับอ้วนลงพุง เกณฑ์การประเมิน และปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง 2.1.4. ประเมินระหว่างการทำกิจกรรม โดยการสอบถามผู้เข้าร่วมกิจกรรมถึงพฤติกรรมเสี่ยงของตนเองที่ทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง
2.2. การสร้างการรับรู้ความรุนแรงของของภาวะอ้วนลงพุง 2.2.1. แบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่ม ให้กลุ่มเป้าหมายทั้งสองกลุ่มระดมความคิดในหัวข้อ “ ท่านคิดว่าอ้วนลงพุงมีผลกระทบอย่างไรบ้างต่อสุขภาพ ” 2.2.2. ให้ความรู้เกี่ยวกับ “ ผลเสียและความรุนแรงของภาวะอ้วนลงพุง ”
2.3. การสร้างพฤติกรรมการป้องกันภาวะอ้วนลงพุง (การสร้างการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันภาวะอ้วนลงพุง) 2.3.1. แจกสมุดบันทึกพฤติกรรมสุขภาพเพื่อบันทึกการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย 2.3.2. อธิบายข้อดีหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพโดยการควบคุมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม 2.3.3. ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่เหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะอ้วนลงพุง พร้อมแสดงปริมาณน้ำตาล น้ำมัน และเกลือ ที่ควรบริโภคในแต่ละวัน 2.3.4.  กิจกรรมการเลือกอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ปรับเปลี่ยนการบริโภคตามโซนสี โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่ม ให้กลุ่มเป้าหมายจำแนกอาหารตามโซนสี ได้แก่ อาหารเลือกกินให้มาก(โซนสีเขียว) อาหารเลือกกินแต่พอควร(โซนสีเหลือง) และอาหารเลือกกินน้อยที่สุด (โซนสีแดง) 2.3.5. สอนการออกกำลังกายแก่กลุ่มเป้าหมาย โดยการสาธิตการออกกำลังกาย แบบแอโรบิก การแกว่งแขนลดพุง และออกกำลังกายแบบสมาธิบำบัด SKT 3 และแนะนำการออกกำลังกายอื่นๆที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น การวิ่งเยาะๆ การเดินเร็ว เป็นต้น 2.3.6. ให้กลุ่มเป้าหมายมีการจดบันทึกเมนูอาหารที่บริโภคในแต่ละวัน และการออกกำลังกายในแต่ละสัปดาห์ โดยบันทึกจำนวนวันของการออกกำลังกายในแต่ละสัปดาห์ และระยะเวลาของการออกกำลังกายในแต่ละครั้ง
3. ประเมินหลังเข้าร่วมโครงการโดยใช้แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับภาวะอ้วนลงพุง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอ้วนลงพุง และการรับรู้ความรุนแรงของภาวะอ้วนลงพุง 4. ประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายหลังเข้าร่วมโครงการ โดยใช้ แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ระยะประเมินผล - ประเมินความรู้เรื่องภาวะอ้วนลงพุงก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการโดยใช้แบบสอบถามความรู้เรื่องภาวะอ้วนลงพุง - ประเมินการรับรู้โอกาสเสี่ยงของต่อเกิดภาวะอ้วนลงพุง โดยใช้แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงของต่อเกิดภาวะอ้วนลงพุงก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ - ประเมินการรับรู้ความรุนแรงของภาวะอ้วนลงพุง โดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรคอ้วนลงพุงก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ - ติดตามประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย หลังการเข้าร่วมโครงการ
จากการแบบบันทึกประจำวันการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ - เปรียบเทียบรอบเอวและน้ำหนักตัวก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับภาวะเสี่ยงอ้วนลงพุง
  2. กลุ่มเป้าหมายมีเส้นรอบเอวและน้ำหนักตัวลดลง
  3. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับภาวะอ้วนลงพุงและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันภาวะอ้วนลงพุง
  4. ลดการเกิดภาวะอ้วนลงพุงและโรคเรื้อรังต่างๆ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2563 11:29 น.