กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต ปี 2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ต.ท่าโพธิ์
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 59,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.796,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 132 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ (Human capital) จะส่งผลต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยให้บรรลุ    “ประเทศไทย 4.0” ดังนั้น การพัฒนาคนไทยให้สอดรับกับนิยามของคนไทยในศตวรรษที่ 21 เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง    การพัฒนาคนไทยเพื่อให้ได้คนไทย 4.0 ที่มีสติปัญญาดี มีทักษะสูง มีสุขภาพแข็งแรงและมีจิตใจที่งดงาม ต้องเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิ  การตั้งครรภ์จนถึงการคลอด และเติบโตต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพจนอายุ 2 ปีบริบูรณ์ 1000 วันแรกของการดูแลอย่างเอาใจใส่และทุ่มเทของมารดา ครอบครัวและชุมชน ตั้งแต่ในช่วงการตั้งครรภ์ (270 วัน) จนถึงอายุ 2 ขวบ (730 วัน) จะเป็นตัวกำหนดสำคัญตัวหนึ่งที่จะบอกถึงขีดความสามารถ สติปัญญา ศักยภาพและความสำเร็จของลูกในอนาคต         จากสถานการณ์ผลการดำเนินงานด้านอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเนียน ในปี 2562 พบว่า มีประเด็นที่เกี่ยวข้อง 10 ประเด็นที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสุขภาพเด็กในพื้นที่ ดังนี้ 1. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 86.84 (HDC 2562) 2. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 83.78 (HDC 2562) 3. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 8.33 (HDC 2562) 4. หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดไอโอดีนและรับประทานทุกวัน ร้อยละ 100 (HDC 2562) 5. เด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 1.89 (HDC 2562) 6. เด็กแรกคลอดกินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ร้อยละ 81.16 (HDC 2562) 7. การได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กในเด็ก ร้อยละ 56.37 (HDC 2562) 8. เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 99.21 พบพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 0.79 และพบเด็กสงสัยพัฒนาการล่าช้าจากการตรวจพัฒนาการครั้งแรก ร้อยละ 34.65 (HDC 2562) 9. เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 54.28 , เด็ก 0-2 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 54.86 , เด็ก 0-5 ปี มีภาวะเตี้ย ร้อยละ 16.67      มีภาวะอ้วน ร้อยละ 6.94 และมีภาวะผอม ร้อยละ 6.94 (HDC 2562) 10. เด็กอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 54.55 (HDC 2562) จากสถานการณ์ดังกล่าว พบว่า กระบวนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพียงฝ่ายเดียว ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้และไม่ยั่งยืน ดังนั้น เงื่อนไขสำคัญนำไปสู่ความสำเร็จ คือ การบูรณาการและการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญ         ดังนั้น 1000 วันแรกของชีวิต ที่เริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์และเด็กจนถึง 2 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญของกระบวนการพัฒนาการทางร่างกายและสมอง เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีกระบวนการสร้างเซลล์สมอง มีการเพิ่มเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด การได้รับโภชนาการที่เหมาะสม ร่วมกับความรัก ความอบอุ่น จากกระบวนการกิน กอด เล่น เล่า จำทำให้ทารกเจริญเติบโตและพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูง ทั้งนี้ เพื่อให้การดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และเด็กจนถึงอายุ 2 ปี บรรลุตามวัตถุประสงค์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเนียน จึงได้จัดทำโครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต ปี 2562 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพเด็กให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ มีสติปัญญาและศักยภาพที่ดีในช่วง 1000 วันแรกของชีวิต

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ไม่เกินร้อยละ 18 ร้อยละเด็กแรกเกิดมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 2,500 กรัมไม่เกินร้อยละ 7 ร้อยละของเด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80 ร้อยละของเด็ก 0-5 ปีสูงดีสมส่วน ร้อยละ 60

0.00
2 เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ครอบครัว ชุมชนและสังคมตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลและเอาใจใส่ต่อสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ , เด็ก 0-5 ปีและครอบครัว

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่า 60 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 60
ร้อยละของเด็ก 3 ปีมีฟันน้ำนมผุ ไม่เกินร้อยละ 60 ร้อยละของเด็ก 9 18 30 และ 42 เดือนได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการตามวัย ร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อบูรณาการงานและสร้างความร่วมมือจากครอบครัว ภาคีเครือข่ายและองค์กรต่างๆในการพัฒนาสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ , เด็กอายุ 0-5 ปีและครอบครัว

ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรม

0.00
4 เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานตามชุดสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์และเด็กอายุ 0-2 ปี

ร้อยละการจ่ายยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก ร้อยละ 100 ร้อยละการจ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กในเด็ก ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
30 ม.ค. 63 พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานพัฒนาเด็กและครอบครัว 0 0.00 -
30 ม.ค. 63 กิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ 0 0.00 -
30 ม.ค. 63 กิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพในกลุ่มเด็กปฐมวัย 0 0.00 -
30 ม.ค. 63 กิจกรรมสร้างกระแสสังคมและประชาสัมพันธ์การสร้างความตระหนักต่อการดูแลสุขภาพเด็กและครอบครัว 0 0.00 -
  1. ประชุม/ปรึกษาเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน เพื่อกำหนดแนวทางและกิจกรรม   2. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเด็กและครอบครัวระดับตำบล โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นประธาน กำนันเป็นรองประธาน ตัวแทนผู้ใหญ่บ้าน , ผอ.รร. , ตัวแทนพระสงฆ์ , ตัวแทนอิหม่าม ,ประธานอสม.บุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ      และผอ.รพ.สต.โคกเนียนเป็นเลขานุการ   3. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเด็กและครอบครัวระดับหมู่บ้าน ตามจำนวนหมู่บ้านที่รับผิดชอบ   4. จัดทำโครงการเพื่อเสนอพิจารณาอนุมัติ   5. ประชุมชี้แจงกิจกรรมโครงการมหัศจรรย์ 1000 วันกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องมนการดูแลสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 0-2 ปี
      6. ให้คำปรึกษาและโภชนศึกษาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงทางโภชนาการหรือ BMI ต่ำ (ภาพชุดอาหารทดแทน กราฟโภชนาการน้ำหนักตามเกณฑ์)   7. รณรงค์/ประชาสัมพันธ์การฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ในชุมชน   8. รณรงค์คัดกรองภาวะโภชนาการเชิงรุกในพื้นที่รับผิดชอบทุกหมู่บ้าน   9. จัดกิจกรรมประกวดหมู่บ้านเด็กสูงดีสมส่วนดีเด่น , แม่ดีเด่นและหนูน้อยสุขภาพดีรอบด้าน   10. สรุปผลและประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. น้ำหนักเด็กแรกคลอดมากกว่า 2,500 กรัม   2. เด็กสูงดีสมส่วนเพิ่มขึ้น   3. เด็กวัยสองขวบฟันน้ำนมผุลดลง   4. พัฒนาการสมวัยของเด็กวัยสองขวบ พร้อมเข้าสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2563 10:50 น.