กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยแพทย์แผนไทย
รหัสโครงการ 63-L7257-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคอหงส์
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปริชาติ แก้วห่อทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 30,800.00
รวมงบประมาณ 30,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประชากรประเทศไทยมีประชากรที่มีปัญหาปวดข้อเข่า ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง คือ ร้อยละ 43.9 ส่วนใหญ่อาการปวดข้อเข่ามีสาเหตุมาจากข้อเข่าเสื่อม ปัญหาปวดข้อเข่าทำให้เกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหว ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง เป็นอุปสรรคในการเข้าสังคม ทำให้สูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก และส่งผลต่อร่างกายจากการใช้ยาแก้ปวดหรือวิธีการจัดการอาการปวดที่ไม่เหมาะสม ความเจ็บปวดส่งผลให้ผู้ป่วย ต้องหาวิธีการที่จะจัดการกับอาการโดยการซื้อยากินเองถึงร้อยละ 3.9 ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ เช่น ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจมีอาการปวดท้องและเลือดออกได้ อาการปวดข้อเข่าสามารถที่จะบรรเทาได้โดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด เช่น การพอกยาสมุนไพร การบริหารแบบไทยด้วยท่าฤาษีดัดตน ที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของข้อเข่าได้
โรคข้อเข่าเสื่อม หมายถึง การที่กระดูกอ่อนของข้อมีการเสื่อมสภาพ ทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนักและมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงเข่าทำให้มีอาการปวด บวม แดง ร้อนที่เข่า ซึ่งเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงการเสื่อมโดยเฉพาะในกลุ่มวัย ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป ดังนั้นงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการดูแลสุขภาพข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย หรือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยแพทย์แผนไทย เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการดูแลตนเองของโรคข้อเข่าเสื่อม กายบริหารด้วยท่าฤาษีดัดตน การส่งเสริมการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อลดอาการปวดเข่า โดยการพอกเข่าสมุนไพร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการดูแลสุขภาพตนเองของโรคข้อเข่าเสื่อม

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 80 ( แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลัง )

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีอาการปวดเข่าลดน้อยลง

แบบวัดระดับความเจ็บปวด (pain score)

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีอาการปวดเข่าลดน้อยลง

แบบวัดระดับความเจ็บปวด (pain score)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 30,800.00 2 29,800.00
15 - 16 ก.ย. 63 อบรมกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่มี ภาวะข้อเข่าเสื่อม 50 29,800.00 29,800.00
30 ก.ย. 63 สรุปผลการดำเนินงานจัดทำเอกสารส่ง สปสช. 50 1,000.00 0.00

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้โรคข้อเข่าเสื่อม
1. ดำเนินการ คัดกรองและประเมินแบบระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford Knee Score) แก่กลุ่มเป้าหมายในคลินิกโรคเรื้อรัง
2. แจ้งกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมอบรม ตามวัน และเวลา ที่กำหนด
3. ประสานวิทยากรเพื่อให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย
ขั้นดำเนินการ
1. ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม โดยใช้แบบสอบถาม
2. บรรยายให้ความรู้โดยแพทย์แผนไทย เรื่อง
- โรคข้อเข่าเสื่อม และวิธีการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
3. สอนกายบริหารด้วยท่าฤาษีดัดตนเพื่อบรรเทาอาการปวด
4. สาธิตการทำยาพอกเข่าด้วยสมุนไพรในท้องถิ่นและพอกเข่าสมุนไพรบรรเทาปวด
5. ทดสอบความรู้หลังอบรม โดยใช้แบบสอบถาม
6. สรุปผลการอบรม
กิจกรรมที่ 2
1. แจ้งกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้ารับการฝึกปฏิบัติการดูแลตนเอง ตามวัน และเวลา ที่กำหนด โดยวิธีการ ประคบสมุนไพรและการพอกเข่า จำนวน 5 ครั้ง ติดต่อกัน
2. ติดตามและประเมินระดับความเจ็บปวดหลังการรักษา
3. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการและการดูแลสุขภาพตนเองของโรคข้อเข่าเสื่อม
  2. ผู้เข้าร่วมอบรมโรคเข่าเสื่อม มีอาการของโรคเข่าเสื่อมดีขึ้น
  3. มีการนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 14:48 น.