กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชนบ้านทุ่งรี 3 ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L7257-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านทุ่งรี 3
วันที่อนุมัติ 3 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กุมภาพันธ์ 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,107.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวหัทยา หงษ์เหาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือเป็นภัยเงียบ เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ภาวะเครียด ขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารไม่ถูกสัดส่วน การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ เนื่องจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพ และการบริโภคอาหารที่เสียงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงของคนในชุมชน ประกอบกับวัฒนธรรมการบริโภคอาหารหวานจัด เค็มจัด และอาหารมันของคนในชุมชน เนื่องจากมีพื้นที่ติดทะเลอ่าวไทย การผลิตอาหาร ในช่วงงานเลี้ยงหรืองานเทศกาลต่างๆ โดยที่ชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาหารแกงกะทิเป็นหลัก ซึ่งมีความมัน และการบริโภคอาหารว่าง ชาวบ้านมักจะบริโภคอาหารประเภทที่มีรสหวานเป็นส่วนใหญ๋ และผู้ป่วยเบาหวานหลายรายที่อยู่ในภาวการณ์พึ่งพาอาศัยร่วมกับลูกหลานซึ่งลูกหลานจะต้องประกอบอาหารให้กับผู้ป่วย ในขณะเดียวกันการประกอบอาหารต่างไม่คำนึงถึงพลังงานที่จะได้รับ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพลังงานและไขมันในร่างกาย ส่งผลต่อการป่วยเป็นโรคของคนในชุมชน จากการดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ของชุมชนบ้านทุ่งรี 3 ซึ่งมีประชาชนในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 39 คน ในปี 2562 กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการคัดกรองปกติ จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 41.03 อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 53.84และได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการคัดกรองปกติ 17 คน คิดเป็นร้อยละ 43.59 อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 14 คน คิดเป็นร้อยละ 35.90 กลุ่มป่วย 8 คนคิดเป็นร้อยละ 20.51 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มต่อการเพิ่มขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารหวาน มัน เค็มและอาหารจานด่วนของคนในชุมชนบ้านทุ่งรี 3 ซึ่งเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีสถานที่จำหน่ายอาหารที่หาได้ง่าย ดังนั้น ชุมชนบ้านทุ่งรี 3 ได้จัดทำโครงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชนบ้านทุ่งรี 3 ประจำปี 2563 ขึ้น เพื่อตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพพร้อมสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สามารถลดหรือควบคุมค่าดัชนีมวลกายได้ดีกว่าเดิม เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลก่อน – หลังเข้าร่วมโครงการ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการเสริมสร้างสุขภาพของตนเองมากขึ้น ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
  3. กลุ่มเป้าหมายเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครอบครัวและประชาชนทั่วไป
0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินค่ามาตรฐาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจต่อการปฏิบัติตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  3. กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติมากกว่า ร้อยละ 20
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,107.00 4 28,107.00
3 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมประชุมคณะทำงาน เพื่อสร้างความเข้าใจให้แกนนำสุขภาพของชุมชน 0 750.00 750.00
3 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจคัดกรองสุขภาพ 0 15,620.00 15,620.00
3 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง 0 1,837.00 1,837.00
3 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง, สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 0 9,900.00 9,900.00
  1. ร่วมประชุมวางแผน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีดำเนินงานโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขอรับงบสนับสนุน
  3. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. จัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินโครงการ
  6. ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ (ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน,อบรมให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง)
  7. สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถเดินทางไปรับบริการที่สถานพยาบาล ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจากการลงพื้นที่ในการดำเนินโครงการร้อยละ 50
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปฏิบัติตัว เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน จากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ 50
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 15:00 น.