กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชนคลองเปล 2 ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L7257-2-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านคลองเปล ๒
วันที่อนุมัติ 23 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กุมภาพันธ์ 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 44,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชญาธร อุไรรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ก.พ. 2563 30 ก.ย. 2563 44,000.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 44,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ รวมทั้งยังเป็นโรคที่เราเรียกว่า “ภัยเงียบ” ที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ตามมา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้มีการจัดการดูแลสุขภาพเชิงรุก โดยการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังสภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ สำหรับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พร้อมทั้งให้ดำเนินการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนในอวัยวะที่สำคัญของร่างกายหลายระบบ เช่น ตา ไต หัวใจ เท้า เป็นต้น จาก การดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ของชุมชนคลองเปล ๒ ซึ่งมีประชาชนในกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๔๐๐คนในปี ๒๕๖๒กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน ๒๒๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๒๕ ผลการคัดกรองปกติ จำนวน ๑๖๘คน คิดเป็นร้อยละ ๗๔.๖๖อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน๕๐คนคิดเป็นร้อยละ ๑๒.๕๐ กลุ่มสงสัยป่วย ๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๑๑ กลุ่มป่วย ๒๘คน คิดเป็น ๗และได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๒๕คน ผลการคัดกรองปกติ๑๖๐ คนคิดเป็นร้อยละ ๗๑.๑๑ อยู่ในกลุ่มเสี่ยง๕๕คน คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๔กลุ่มสงสัยป่วย ๑๐คนคิดเป็นร้อยละ ๔.๔ กลุ่มป่วย ๒๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๗ ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มต่อการเพิ่มขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารหวาน มัน เค็มและอาหารจานด่วนของคนในชุมชนคลองเปล ๒ซึ่งเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีสถานที่จำหน่ายอาหารที่หาได้ง่าย จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพ พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม ร้อยละ๖๕ไม่ออกกำลังกาย ร้อยละ ๕๕ มีการดื่มสุรา ร้อยละ ๓๐และสูบบุหรี่ ร้อยละ ๒๕ส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาการแกงถุง อาหารนอกบ้าน และมีงานเทศกาลต่างๆ มากกมาย ทำให้ไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย หรือดูแลตนเองไม่มีการคำนึงถึงพลังงานที่ควรได้รับ ส่งผลให้มีการสะสมไขมัน เกิดภาวะอ้วนลงพุงเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตามมา จากข้อมูลดังกล่าว ของชุมชนคลองเปล ๒ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา พบว่าจำนวนกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งนี้เป็นผลจากการคัดกรองได้ครอบคลุมมากขึ้นแต่ขณะเดียวกัน หากผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคจากผลการคัดกรองไม่ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้แนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น และเมื่อมีความเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนเกิดความเครียด ซึ่งจะสามารถนำไปสู่การเจ็บป่วยทางด้านจิตใจได้ในอนาคต และในกลุ่มที่ป่วยแล้วต้องมีการดำเนินการไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไปจึงได้จัดโครงการเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชนคลองเปล ๒ปี ๒๕๖๓ ซึ่งมีกิจกรรมหลักในการคัดกรองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและเพิ่มทักษะการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สำหรับกลุ่มประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปให้สามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และในกลุ่มที่เป็นโรคได้รับการดูแลและรักษาได้อย่างทันท่วงทีและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามและคัดกรองโรคเบาหวาน ร้อยละ ๙๐ จำนวน ๕๐คน
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามและคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๙๐ จำนวน ๕๐ คน
0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ไม่ให้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๙๐
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้กลับสู่ภาวะปกติมากกว่าร้อยละ ๒๐
  3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
0.00
3 เพื่อติดตามและสร้างแรงจูงในในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง

1.กลุ่มเสี่ยงทุกคนได้รับการดูแลและติดตาม ร้อยละ ๑๐๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ประชุมคณะทำงาน และอบรม อสม.ในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 38 4,100.00 2 4,100.00
2 มิ.ย. 63 ประชุมคณะทำงาน และอบรม อสม 20 500.00 500.00
11 มิ.ย. 63 อบรมฟื้นฟูความรู้ และเพิ่มสมรรถนะให้แก่ อสม 18 3,600.00 3,600.00
2 กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 38,900.00 4 38,900.00
1 - 30 มิ.ย. 63 จัดหาครุภัณฑ์และวัสดุในการดำเนินงาน 0 23,900.00 23,900.00
11 ก.ค. 63 กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการฯ 50 250.00 250.00
27 ก.ค. 63 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 50 11,000.00 11,000.00
15 ต.ค. 63 กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน ๓ ครั้ง 50 3,750.00 3,750.00
3 สรุปผลการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 1,000.00 2 1,000.00
15 ก.ย. 63 ประชุมคณะกรรมการในการสรุปผลดำเนินงาน 20 500.00 500.00
20 ก.ย. 63 จัดทำเอกสารส่ง สปสช. 0 500.00 500.00
  1. จัดประชุมเจ้าหน้าที่/อสม. เพื่อวางแผนการดำเนินงาน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย และรูปแบบวิธีการดำเนินงาน
  2. เสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุน
  3. แต่งตั้งคณะทำงานและจัดทำแผนปฏิบัติงานตามโครงการ
  4. ดำเนินการจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ในการติดตามและเฝ้าระวังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  5. ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรม
  6. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยงในชุมชนและติดตามอย่างต่อเนื่อง
  7. ลงพื้นที่ติดตามและเฝ้าระวังพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง จำนวน ๓ ครั้ง
  8. ประเมินผล และสรุปโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามและฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๙๐
  2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐
  3. ประชากรกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้องสม่ำเสมอ สามารถกลับสู่ภาวะปกติมากกว่าร้อยละ ๒๐ และกลุ่มเสี่ยงทุกคนได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 15:05 น.