กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) งานควบคุมโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ปี 2563

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) งานควบคุมโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ปี 2563
รหัสโครงการ L5301-63-02-011
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลควนขัน
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮาซะนะห์ อยู่ดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขัน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.633,100.036place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ระบบการจัดการด้านสุขภาพ หมายถึง การที่ชุมชนมีกระบวนการร่วมกันคิด วิเคราะห์ถึงสภาพความเป็นอยู่และร่วมกันสร้างกิจกรรมการดำเนินงานด้านสุขภาพ หมู่บ้านที่จะมีระบบการจัดการสุขภาพที่สมบูรณ์และดำเนินไปสู่ความสำเร็จได้ นั้นมีหลายๆปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง การจะทำให้ประชาชนมีจิตสำนึกและแสดงบทบาทในการดูแลตนเองและพัฒนาสุขภาพของคนในครอบครัวและชุมชนนั้น สามารถทำได้ด้วยการสร้างกระบวนการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม ภายใต้การตัดสินใจและความต้องการของประชาชนและชุมชนตามศักยภาพท้องถิ่น โดยประชาชนและชุมชนมีอำนาจเต็มที่ คนในชุมชนรวมตัวกันร่วมคิด ร่วมกันทำ ร่วมใจกันบริหารจัดการคน ทุนและความรู้ของชุมชน เพื่อให้เกิดโครงการของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชนในชุมชน ที่เน้นการพัฒนาคนในชุมชนให้เข้าใจปัญหาของตนและชุมชน คิดเป็น มีทักษะ วางแผนในการแก้ปัญหาเองได้ มีอิสระในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ปัญหาชุมชนร่วมกัน โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เชื่อมประสานและกระตุ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และภาคีเครือข่ายสนับสนุนทรัพยากร เพื่อสื่อสารให้ประชาชนผู้สนใจหันมามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของชุมชน ด้วยการเป็นแกนนำประจำครอบครัว ผู้รับผิดชอบดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนตลอดจนสภาวะแวดล้อมเอื้อ อำนวยต่อการมีสุขภาพที่ดี ทั้งนี้ไม่เพียงแต่ใช้เทคนิคและกระบวนการสร้างความครอบคลุมประชากรจำนวนมาก ด้วยยุทศาสตร์ใช้ระบบผู้นำการเปลี่ยนแปลง (อสม.หรือเครือข่ายสร้างสุขภาพ) โดยที่ทุกส่วนก็ต้องร่วมมือร่วมใจที่จะสร้างชุมชนให้แข็งแรง ภายใต้ระบบการจัดการที่ดี เหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเอง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นตัวแทนของคนในคุ้มของหมู่บ้าน โดย 1 คน จะรับผิดชอบ 1-15 ครัวเรือน ซึ่งจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ รวมถึงมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนในชุมชนได้ ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะการจัดการระบบสุขภาพในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นกลวิธีหนึ่งที่จะทำให้ชุมชนได้เรียนรู้สุขภาพของคนในชุมชน เริ่มต้นจากการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยการปรับทัศนคติและบทบาทสร้างจิตสำนึก ศรัทธา ความรัก ความสามัคคี เสริมสร้างและพัฒนาผู้นำให้มีศักยภาพในการส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนสามารถจัดการสุขภาพด้วยตนเอง อย่างเป็นที่ยอมรับของสังคม ด้วยการสร้างความเป็นผู้นำที่มีผลงานสูง สร้างมาตรฐาน แนวปฏิบัติ และให้ความสำคัญต่อกระบวนการเสริมสร้างให้เกิดความเเข็งแรงของโครงสร้างชุมชน ที่เอื้อต่อการจัดการระบบ สุขภาพภาคประชาชน ผ่านตามกระบวนการการเรียนรู้ต่างๆ อย่างเป็นระบบตามโครงสร้างของชุมชน ทำให้เกิดเวทีประชาคมสุขภาพ ศูนย์การเรียนรู้ สังเคราะห์บทเรียนและเเลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสุขภาพชุมชนจากประสบการณ์จริง สร้างกิจกรรมให้เกิดความเคยชิน ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่ถูกต้อง เกิดการดูแลสุขภาพโดยโครงการของชุมชนด้วยชุมชน เพื่อชุมชนของตนเอง กลุ่มผู้นำการเปลี่ยนเเปลง มีความเข้าใจในความสำคัญ ในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตน มีบทบาทในการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของคนในครัวเรือน รวมทั้งเป็นต้นแบบการดูแลสุขภาพของครอบครัว ประสานระหว่างบุคคลในครอบครัวกับชุมชน ในการร่วมกิจกรรมของชุมชน และปฏิบัติต่อสภาวะแวดล้อมอย่างเหมาะสม ดังนั้นจากสถานการณ์ดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนขัน จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในงานควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ตำบลควนขัน ปี 2563 ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพ เพิ่มพูนความรู้ด้านสุขภาพ สามารถดำเนินกิจกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง คนในครอบครัวและในชุมชน เกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบบยั่งยืน ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ อสม. มีโอกาสเรียนรู้ด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย

 

0.00
2 2.เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขเพื่อให้ อสม. สามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

0.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้อสม. ที่ได้รับการพัฒนาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น คัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และสามารถดำเนินงานสุขภาพชุมชนในเขตพื้นที่ ได้อย่างเข้มแข็ง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,000.00 0 0.00
1 ม.ค. 63 - 30 เม.ย. 63 อบรมและสาธิตการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 0 31,800.00 -
1 ก.พ. 63 - 31 มี.ค. 63 ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรม 0 3,200.00 -
  1. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในปีที่ผ่านมา เพื่อวางแผนและกำหนดทิศทางการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ในงานควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ตำบลควนขัน ปี 2563 2.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและจัดทำแผนการดำเนินงาน 3.ประสานงานและติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.ประชาสัมพันธ์โครงการ 5.ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขัน และอาสาสมัครสาธารณสุขทุกหมู่บ้าน 6.เตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ 7.จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ในงานควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ตำบลควนขัน ปี 2563 8.สรุป วิเคราะห์ ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมุ่บ้าน มีโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทั้งในด้านการบริหารวิชาการ และการปฏิบัติเพื่อยกระดับการบริการประชาชน และมีหน้าที่ในการสร้างสุขภาพและบริการของชุมชนตนเอง เพื่อให้ประชาชนพึ่งตนเองได้อย่างมีรูปธรรม รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุข สามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในการศึกษ่าต่อเนื่องด้วยตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2563 11:32 น.