กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก หมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5293-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.หมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 11,990.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัจฉรา เต้งหลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 31 ม.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 11,990.00
รวมงบประมาณ 11,990.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น ในอดีตที่ผ่านมากลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๗๐ - ๗๕ เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ ๕ - ๑๔ ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน สำหรับสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกประเทศไทย ข้อมูลตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๒ มีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยทั้งหมด ๑๒๕,๒๓๕ ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ ๑๘๘.๘๙ ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเสียชีวิต ๑๓๑ ราย คิดเป็นอัตราการตายเท่ากับ ๐.๒๐ ต่อแสนประชากร และมีอัตราการป่วยตายร้อยละ ๐.๑๐ ต่อแสนประชากร ในภาคใต้พบผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกทั้งหมด ๑๖,๑๖๖ ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ ๑๗๑.๔๙ ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเสียชีวิต ๓๐ ราย คิดเป็นอัตราการตายเท่ากับ ๐.๓๒ ต่อแสนประชากร และมีอัตราการป่วยตายร้อยละ ๐.๑๙ ต่อแสนประชากร ในเขตสุขภาพที่ ๑๒ พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๙,๓๓๐ ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ ๑๘๘.๑๐ ต่อแสนประชากร และมีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 10 ราย คิดเป็นอัตราการตายเท่ากับ 0.20 ต่อแสนประชากร อัตราการป่วยตายร้อยละ 0.11 จัดอยู่ในเขตที่มีผู้ป่วย ลำดับที่ 6 ของประเทศไทย สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดสตูล พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 166 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 51.77 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 0 ราย มีรายงานการป่วยโรคไข้เลือดในอำเภอทุ่งหว้า จำนวน 27 ราย พบมากในตำบลป่าแก่บ่อหิน นาทอนและตำบลขอนคลาน อัตราป่วยเท่ากับ 188.63, 141.92 และ 113.34 ตามลำดับ ในตำบลทุ่งหว้าหมู่ที่พบผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกมากที่สุดในเขตพื้นที่ อบต.ทุ่งหว้า คือ หมู่ที่ 8 จำนวน 21 ราย ในหมู่ที่ 5 พบผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออก จำนวน 3 ราย และเป็นผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออกจำนวน 1 ราย และมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในปี 2563 มาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
ดังนั้น ประชาชนหมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ จึงจัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก หมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม ประจำปี ๒๕๖3 เพื่อร่วมกันดำเนินกิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือกออกในชุมชน ลดอัตราการป่วยและอัตราการตายของประชาชน ยุทธศาสตร์ของโครงการฯ เน้นให้ประชาชนตระหนักถึงการควบคุม กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทั้งที่บ้านและสถานที่ต่างๆภายในชุมชน และรู้ถึงอันตรายจากโรคไข้เลือดออก ซึ่งกิจกรรมที่ได้จัดขึ้น จะมีการจัดรณรงค์ร่วมกับชุมชน ให้ความรู้ถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก เพื่อความยั่งยืนในการมีส่วนร่วมการควบคุมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชน หมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและสามารถถ่ายทอดความรู้สู่คนในชุมชนได้

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ในเรื่องโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้แกนนำชุมชน หมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม เข้าร่วมในการทำกิจกรรมป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายสามารถประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก วิธีการป้องกัน ควบคุมโรคด้วยตนเอง และ สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำให้ลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดการเพิ่มของจำนวนประชากรยุงลายในชุมชนได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 11,990.00 0 0.00
12 มี.ค. 63 อบรมให้ความรู้ 70 11,990.00 -

วิธีดำเนินการ
- ร่างโครงการ/เสนอโครงการแก่อาจารย์พี่เลี้ยงเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
- เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
- รวบรวมหน่วยงาน/ทีมงาน กำหนดบทบาทหน้าที่ และเนื้อหาสาระการเรียนรู้ร่วมกัน
- ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการ
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
- ก่อนดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ต้องทำการออกสำรวจลูกน้ำยุงลายตามบ้านเรือน แล้วคำนวณหาค่า House Index (HI), จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย container Index (CI) และจำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำต่อบ้านเรือนที่สำรวจทั้งหมด Breteau Index (BI) เพื่อนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบหลังการดำเนินงานโครงการแล้ว - ดำเนินการให้สุขศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

รายละเอียดกิจกรรมภายในโครงการ
- ประชาชนร่วมกันเดินรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะที่มีน้ำขัง - มีทดสอบความรู้ในการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก - ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง “ไข้เลือดออก”
  หลังดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม
- ทำการออกสำรวจลูกน้ำยุงลายตามบ้านเรือนอีกครั้งแล้วคำนวณหาค่า House Index (HI), จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย container Index (CI) และจำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำต่อบ้านเรือนที่สำรวจทั้งหมด Breteau Index (BI) เพื่อนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินงานโครงการ ระยะสรุปผล - รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผล - ประเมินผลการดำเนินโครงการ
- สรุปผลการดำเนินงาน - รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ประชาชน หมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและสามารถถ่ายทอดความรู้สู่คนในชุมชนได้ 2.เพื่อให้แกนนำชุมชน หมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม เข้าร่วมในการทำกิจกรรมป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2563 11:18 น.