กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผนึกกำลังเยาวชนรุ่นใหม่ ต้านภัยไข้เลือดออก หมู่ที่ 8 บ้านควนตำเสา ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5293-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.หมู่ที่ 8 บ้านควนตำเสา
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มกราคม 2020 - 30 กันยายน 2020
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2020
งบประมาณ 14,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุมาลี สมัยอยู่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ก.ย. 2020 14,950.00
รวมงบประมาณ 14,950.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยมาโดยตลอด เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จังหวัดสตูลยังเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ ที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จากรายงานเฝ้าระวังสถานการณ์ไข้เลือดออก ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 17 ธันวาคม 2562 มีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยทั้งหมด 125,235 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 188.89 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเสียชีวิต 131 ราย คิดเป็นอัตราการตายเท่ากับ 0.20 ต่อแสนประชากร และมีอัตราการป่วยตายร้อยละ 0.10 ต่อแสนประชากร ในภาคใต้พบผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกทั้งหมด 16,166 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 171.49 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเสียชีวิต 30 ราย คิดเป็นอัตราการตายเท่ากับ 0.32 ต่อแสนประชากร และมีอัตราการป่วยตายร้อยละ 0.19 ต่อแสนประชากร ในเขตสุขภาพที่ 12 พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 9,330 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 188.10 ต่อแสนประชากร และมีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 10 ราย คิดเป็นอัตราการตายเท่ากับ 0.20 ต่อแสนประชากร อัตราการป่วยตายร้อยละ 0.11 จัดอยู่ในเขตที่มีผู้ป่วย ลำดับที่ 6 ของประเทศไทย สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดสตูล พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 166 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 51.77 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 0 ราย มีรายงานการป่วยสงสัยด้วยโรคไข้เลือดในตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล จำนวน 61 ราย ซึ่งหมู่ที่พบมากที่สุดในเขตพื้นที่ อบต.ทุ่งหว้า คือ หมู่ที่ 8 จำนวน 21 รายและมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในปี 2563     ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้แก่เยาวชนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นในชุมชนพร้อมทั้งหาวิธีแก้ไขปัญหา ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้เยาวชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้น และชักนำให้ประชาชน องค์กร ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการ ดังนั้น ประชาชนหมู่ที่ 8 บ้านควนตำเสา ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ จึงจัดทำโครงการผนึกกำลังเยาวชนรุ่นใหม่ ต้านภัยไข้เลือดออก หมู่ที่ 8 บ้านควนตำเสา ประจำปี 2563 เพื่อร่วมกันดำเนินกิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือกออกในชุมชน ลดอัตราการป่วยและอัตราการตายของประชาชน ยุทธศาสตร์ของโครงการฯ เน้นให้ประชาชนตระหนักถึงการควบคุม กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทั้งที่บ้านและสถานที่ต่างๆภายในชุมชน และรู้ถึงอันตรายจากโรคไข้เลือดออก ซึ่งกิจกรรมที่ได้จัดขึ้น จะมีการจัดรณรงค์ร่วมกับชุมชน ให้ความรู้ถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก เพื่อความยั่งยืนในการมีส่วนร่วมการควบคุมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและสามารถถ่ายทอดความรู้สู่คนในชุมชนได้

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ในเรื่องโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้แกนนำเยาวชน หมู่ที่ ๘ ร่วมในการทำกิจกรรมป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายสามารถประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก วิธีการป้องกัน ควบคุมโรคด้วยตนเอง และ สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำให้ลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดการเพิ่มของจำนวนประชากรยุงลายในชุมชนได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 14,950.00 0 0.00
11 เม.ย. 63 อบรมให้ความรู้ 100 14,950.00 -

วิธีดำเนินการ
- ร่างโครงการ/เสนอโครงการ
- เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
- รวบรวมหน่วยงาน/ทีมงาน กำหนดบทบาทหน้าที่ และเนื้อหาสาระการเรียนรู้ร่วมกัน
- ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการ
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
- ก่อนดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ต้องทำการออกสำรวจลูกน้ำยุงลายตามบ้านเรือน แล้วคำนวณหาค่า House Index (HI), จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย container Index (CI) และจำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำต่อบ้านเรือนที่สำรวจทั้งหมด Breteau Index (BI) เพื่อนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบหลังการดำเนินงานโครงการแล้ว - ดำเนินการให้สุขศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก รายละเอียดกิจกรรมภายในโครงการ
- ประชาชนร่วมกันเดินรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะที่มีน้ำขัง - มีทดสอบความรู้ในการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก - ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง “ไข้เลือดออก”
  หลังดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม
- ทำการออกสำรวจลูกน้ำยุงลายตามบ้านเรือนอีกครั้งแล้วคำนวณหาค่า House Index (HI), จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย container Index (CI) และจำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำต่อบ้านเรือนที่สำรวจทั้งหมด Breteau Index (BI) เพื่อนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินงานโครงการ ระยะสรุปผล - รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผล - ประเมินผลการดำเนินโครงการ
- สรุปผลการดำเนินงาน - รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในหมู่ที่ 8 มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนได้ 2.ประชาชนในหมู่ที่ 8 สามารถประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก วิธีการป้องกัน และสามารถควบคุมโรคด้วยตนเองให้กับประชาชนในชุมชนได้ 3.ประชาชนในหมู่ที่ 8 สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และสามารถทำให้ลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดการเพิ่มของจำนวนประชากรยุงลายในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2020 13:31 น.